ประเภทของข้อมูลและการจัดการเกี่ยวกับข้อมูล

ประเภทของข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. ค่าคงที่ (Constant) เป็นข้อมูลคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร
    เวลา วันที่ ข้อมูลทางตรรกศาสตร์ หรือข้อความที่แสดงความผิดพลาดต่าง ๆ
    ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. สูตรในการคำนวณ (Formula) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณต่าง ๆ เพื่อหา
    ผลลัพธ์จากการคำนวณนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสูตรหรือฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ สูตรการคำนวณที่ผู้ใช้เขียนหรือกำหนดขึ้นเอง

ชนิดของข้อมูล
     ข้อมูลที่ใช้ในการป้อนลงเซลล์แต่ละเซลล์ นอกจากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ แล้ว
ยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ หลายชนิด ได้แก่

  1. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Number) เป็นตัวเลขตั้งแต่ 0-9, +, -, (,), /, $, %, E, e โดย
    ค่าตัวเลขที่ป้อนนี้สามารถนำไปทำการคำนวณ หรือแสดงเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งก็ได้
  2. ข้อความ (Text) เป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือตัวอักขระต่าง ๆ ได้แก่ a-z, A-Z, ก-ฮ
    และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบกันเป็นคำ วลี ประโยค หรือเป็น
    ข้อความ ไม่สามารถนำข้อความที่ป้อนนี้ไปทำการคำนวณใด ๆ ได้
  3. วันที่ (Date) เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวเลขผสมตัวอักษร เป็นข้อมูลที่ป้อนเพื่อใช้
    แสดงวันที่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ 1/5/99, 25-Jan-99< 02/12, 05/99
    เป็นต้น
  4. เวลา (Time) เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวเลขผสมตัวอักษร เป็นข้อมูลที่ป้อนเพื่อใช้
    แสดงเวลาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ 2:14:00 AM, 12:55, 19:27:44,
    3:19 PM เป็นต้น
  5. สูตรในการคำนวณ (Formula) เป็นข้อมูลที่นำเอาค่าของเซลล์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเลข
    มาทำการคำนวณ แล้วสั่งให้แสดงผลลัพธ์จากการคำนวณนั้นออกมา
  6. ฟังก์ชั่น (Function) เป็นข้อมูลที่เป็นรูปแบบเฉพาะของการสั่งให้ทำงาน หรือการคำนวณอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการหาผลรวม (SUM) หรือค่าเฉลี่ย (AVERAGE) เป็นต้น
  7. ค่าทางตรรกศาสตร์ (Logical Value) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากฟังก์ชั่นการทำงานบางฟังก์ชั่น โดยค่าทางตรรกศาสตร์นี้จะไม่อยู่ด้วยกัน 2 ค่า คือ ค่าที่เป็นจริง (True) และค่าที่เป็นเท็จ (False)
  8. ค่าแสดงความผิดพลาดต่าง ๆ (Error Value) ถ้าหากเป็นการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานเกี่ยวกับสูตรหรือฟังก์ชั่นที่กำหนดแล้วอาจจะเกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากการ
    ใช้งาน โดยข้อผิดพลาดนี้จะมีรหัสที่ใช้อยู่ ข้อมูลที่ได้มาจากฟังก์ชั่นการทำงานบางฟังก์ชั่นได้แก่

  #DIV/0   Error นี้จะเกิดขึ้นเมื่อทำการหาร แล้วตัวหารมีค่าเป็น 0
#N/A Error นี้ย่อมาจาก Not Available ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการคำนวณหรือ เซลล์
ที่ไม่มีค่าหรือมีค่าที่ไม่ใช่ตัวเลขซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณได้
#NAME! Error นี้เกิดจากการอ้างชื่อของเซลล์ผิด หรือยังไม่ได้มีการกำหนดชื่อที่
อ้างอิง หรือการพิมพ์ของฟังก์ชั่นผิด
#NULL! Error นี้เกิดขึ้นจากการกำหนดขอบเขตของข้อมูลผิดพลาด โดยอาจจะใช้สัญลักษณ์ในการกำหนดผิด
#NUM! Error นี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบฟังก์ชันผิด หรือผลลัพธ์กับความกว้างของ เซลล์ ไม่เหมาะสมกัน
#REF! Error นี้เกิดขึ้นเนื่องจากกำหนดเงื่อนไขผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นชนิดหรือรูปแบบของฟังก์ชันที่ใช้งานก็ตาม
#VALUE! Error นี้เกิดขึ้นจากการกำหนดเงื่อนไขผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นชนิดหรือรูปแบบของฟังก์ชันที่ใช้งานก็ตาม

การจัดเกี่ยวกับข้อมูล

  • การป้อนข้อมูล
    1. เลื่อน Cell Pointer ไปที่เซลล์ที่ต้องการและพิมพ์ข้อมูล
    2. กด Enter หรือคลิกเมาส์หรือเลื่อน Active Cell ไปที่เซลล์อื่น
  • การเลือกข้อมูล
    1. ถ้าต้องการเลือกทั้งแถว ให้เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่หมายเลขกำกับแถว

    2. ถ้าต้องการทั้งคอลัมน์ ให้เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่อักษรกำกับคอลัมน์

    3. ถ้าต้องการขอบเขตของข้อมูลเพียงบางส่วน ให้ลากเมาส์ให้คลุมเฉพาะส่วนที่ต้องการ

  • การลบข้อมูล

     1. เลื่อน Active Cell ไปที่เซลล์ต้องการจะลบ
    2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear
    หน้าจอจะปรากฏคำสั่งย่อย และมีรายละเอียด ดังนี้

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับ ชื่อภาษาอังกฤษคำสั่งย่อย คำแปล
1 All ลบทั้งหมด
2 Formats ลบเฉพาะรูปแบบ
3 Contents Del ลบเนื้อหา
4 Comments ลบข้อคิดเห็น

3. เลือกคำสั่งย่อยที่ต้องการ

  • การแก้ไขข้อมูล
    กรณีที่ 1 การแก้ไขข้อมูลในระหว่างพิมพ์ ให้กดปุ่ม Backspace หรือ ปุ่ม Delete เพื่อลบหรือกดปุ่ม Esc เพื่อยกเลิกข้อมูล
    กรณีที่ 2 การแก้ไขข้อมูลลังจากพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจลบข้อมูลเก่าออกหรือพิมพ์ข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าก็ได้ แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีความยาวมากหรืออาจเป็นสูตรให้กดปุ่ม F2 และแก้ไขตามต้องการหรือเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Formula Bar

  • การย้ายข้อมูล
    วิธีที่ 1
    1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะย้ายและคลิกที่เมนู Edit
    2. เลือกคำสั่ง Cut
    3. เลื่อน Active Cell ไปที่เซลล์ที่ต้องการนำข้อมูล
      ไปไว้และคลิกที่เมนู Edit
    4. เลือกคำสั่ง Paste

    วิธีที่ 2

    1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะย้ายและเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่กรอบของ Active Cell รอจนตัวชี้เมาส์เปลี่ยนเป็นลูกศร
    2. กดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้และเลื่อนไปที่ตำแหน่ง
      ที่ต้องการจะย้ายข้อมูลไปและปล่อยเมาส์

    วิธีที่ 3

    1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะย้ายและคลิกที่ไอคอน Cut
    2. เลื่อน Active Cell ไปที่เซลล์ที่ต้องการนำข้อมูล
      ไปไว้และคลิกที่ไอคอน Paste

    วิธีที่ 4

    1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะย้ายและกดปุ่ม Ctrl + x
    2. เลื่อน Active Cell ไปที่เซลล์ที่ต้องการนำข้อมูล
      ไปไว้และกดปุ่ม Ctrl + v

  • การคัดลอกข้อมูล
    1. เลื่อนเมาส์ไปที่เซลล์หรือลากเมาส์ให้คลุมเซลล์ตันฉบับและคลิกที่ไอคอน Copy
    2. เลื่อนเมาส์ไปที่เซลล์ตำแหน่งที่ต้องการจะทำสำเนาและคลิกที่ไอคอน Paste
สร้างโดย: 
ครูชุลีกร พินธิระ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 475 คน กำลังออนไลน์