พืชรอบตัวเรา

รูปภาพของ Pilai123

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต  เพราะพืชต้องการน้ำ  อาหารและอากาศในการดำรงชีวิต  พืชมีการเจริญเติบโต  พืชสามารถแพร่พันธุ์เป็นพืชต้นใหม่ได้  และพืชยังมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 

ส่วนประกอบของพืช

พืชมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

1.  ราก

ราก  เป็นส่วนประกอบของพืชที่ผังอยู่ใต้ดิน  มีลักษณะแผ่ขยายออกไป  เพื่อช่วยยึดลำต้นให้ตั้งอยู่บนดินได้  และมีหน้าที่สำคัญคือ  ดูดน้ำและธาตุอาหารจากดินขึ้นมาเลี้ยงส่วนต่างๆ  ของพืช
นอกจากนี้รากของพืชบางชนิดยังทำหน้าที่อื่นอีกด้วย  เช่น  รากของต้นข้าวโพดจะช่วยพยุงลำต้นไม่ให้ล้มง่าย  รากของพืชบางชนิดเป็นรากที่สะสมอาหาร  รากของพืชบางชนิดช่วยในการหายใจ  เป็นต้น
2.  ลำต้น
ลำต้นเป็นส่วนประกอบของพืชที่ต่อจากราก  ส่วนมากเจริญเติบโตขึ้นมาเหนือดิน  เพื่อชูกิ่ง  ก้าน  ใบ  และดอกให้ได้รับแสงแดด 
ลำต้นมีหน้าที่สำคัญ  คือ  เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุที่รากดูดขึ้นมาจากดินไปสู่ส่วนต่างๆ  ของต้นพืช  นอกจากนี้ลำต้นของพืชบางชนิดมีหน้าที่พิเศษ  คือ  สะสมอาหาร  เช่น  มันผรั่ง  มันกลอย  เผือก  เป็นต้น
3.  ใบ
  
 

ใบเป็นส่วนประกอบของพืชที่งอกออกจากกิ่งก้านของพืช  ส่วนมากมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ  และมีสีเขียว
ใบพืชมีหน้าที่สำคัญ  คือ  หายใจ  คายน้ำ  และสร้างอาหาร
4.  ดอก
  

 
ดอกเป็นส่วนประกอบของพืชที่มีรูปร่าง  ขนาด  และสีสันแตกต่างกันออกไป 
ดอกมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์
ดอกมีส่วนประกอบที่สำคัญ  4  ส่วน  คือ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
กลีบเลี้ยง  เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด  มักมีสีเขียว  ห่อหุ้มดอกเมื่อยังไม่บาน
กลีบดอก  เป็นส่วนที่อยู่ถัดกลีบเลี้ยงเข้าไป  มักมีสีต่างๆ  บางชนิดมีกลิ่น  ล่อแมลงให้มาตอม  เพื่อช่วยในการผสมเกสร
เกสรตัวผู้  เป็นส่วนที่อยู่ถัดกลีบดอกเข้าไป  ประกอบด้วย  1. อับเรณู  ซึ่งมีละอองเรณูอยู่ภายใน  และ  2.ก้านเกสรตัวผู้หรือก้านชูอับเรณู
เกสรตัวเมีย  เป็นส่วนที่อยู่ในสุด  ประกอบด้วย  1. ยอดเกสรตัวเมีย  (มีลักษณะเป็นขน  หรือของเหลวเหนียวๆ  เพื่อให้ละอองเรณูติดง่าย)  2. ก้านเกสรตัวเมีย  และ  3. รังไข่  มีลักษณะเป็นกระเปาะ  ภายในมีออวุลซึ่งมีเซลล์ไข่ที่ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียอยู่ภายใน
ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง  4  ส่วน  เรียกว่า  ดอกสมบูรณ์  และดอกที่ไม่ครบ  4  ส่วน  เรียกว่า  ดอกไม่สมบูรณ์
5.  ผลและเมล็ด
ผลและเมล็ดเป็นส่วนประกอบที่เกิดขึ้นหลังจากดอกได้รับการผสมเกสรและเติบโตขึ้นกลายเป็นผล  ในผลจะมีเมล็ดอยู่  ผลจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ด
ภายในเมล็ดจะมีต้นอ่อนอยู่  ถ้าเรานำเมล็ดไปปลูก  เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นพืชต้นใหม่ได้  เมล็ดจึงทำหน้าที่ขยายพันธุ์
การเจริญเติบโตของพืช
พืชส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตเป็นขั้นตอนดังนี้
1.  รากงอกออกจากเมล็ด
2.  ลำต้นงอกออกมา
3.  ใบงอกออกมา
4.  มีผล  โดยมีเมล็ดอยู่ภายใน
ปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
1.  น้ำ 
พืชต้องการน้ำในการสร้างอาหาร  และน้ำยังช่วยละลายแร่ธาตุต่างๆ  ที่อยู่ในดิน  ถ้าพืชขาดน้ำ  พืชจะค่อยๆ  เหี่ยวและตายในที่สุด 
2.  แสงแดด  
พืชต้องการแสงแดดในการสร้างอาหาร  ซึ่งกระบวนการสร้างอาหารของพืชเรียกว่า  การสังเคราะห์ด้วยแสง  ถ้าพืชไม่ได้รับแสงแดด  พืชก็จะไม่สามารถสร้างอาหารได้
3.  ธาตุอาหาร
พืชต้องการแร่ธาตุต่างๆ  ในการเจริญเติบโต  ทำให้พืชแข็งแรง  ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชมีหลายชนิด  เช่น  ไนโตรเจน  โพเทสเซียม
4.  อากาศ
พืชต้องการก๊าซออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับคนและสัตว์  ถ้าขาดอากาศพืชก็จะตาย  นอกจากนี้พืชยังใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศสำหรับสร้างอาหารด้วย 
การตอบสนองของพืช
พืชจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสภาวะแวดล้อมต่างๆ  เช่น  แสง  ความชื้น  อุณหภูมิ  และแรงโน้มถ่วงของโลก  เช่น  ดอกทานตะวันจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์  ต้นไมยราบตอบสนองต่อการสัมผัสโดยการหุบใบ  เป็นต้น
 
การจัดกลุ่มของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ทั่วไป  ถ้าลองสังเกตให้ดีจะพบว่า  พืชมีสิ่งที่เหมือนกันและต่างกัน  การจัดกลุ่มของพืชจึงสามารถจัดโดยใช้สิ่งที่เหมือนกันของพืชเป็นเกฑณ์ได้  เช่น
*  พืชที่ขึ้นอยู่บนบก  เช่น
ต้นมะม่วง  กล้วย
*  พืชที่ขึ้นในน้ำ  เช่น
บัว  จอก
การจัดกลุ่มของพืชสามารถจัดได้หลายลักษณะ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดว่าจะจัดกลุ่มในแบบใด
ประโยชน์ของพืช
1.  ใช้เป็นอาหาร
2.  ใช้ทำยารักษาโรค
3.  ใช้ในการก่อสร้าง
4.  ใช้ทำสิ่งของ
5.  ใช้ห่อของ
6.  ใช้ประดับตกแต่ง
การดูแลพืช
การดูแลพืชเป็นขั้นตอนสำคัญในการปลูกพืชมากที่สุด  เพราะถ้าพืชได้รับการดูแลเป็นอย่างดี  จะทำให้พืชที่เราปลูกนั้นเจริญงอกงาม
การดูแลพืชมีขั้นตอนดังนี้
1.  รดน้ำ
พืชต้องการน้ำในการเจริญเติบโต  ถ้าพืชขาดน้ำพืชก็จะตายได้
2.  ใส่ปุ๋ย
พืชได้รับแร่ธาตุซึ่งเป็นอาหารจากดิน  แต่หากดินที่เราปลูกพืชขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีแร่ธาตุน้อย  เราจะต้องใส่ปุ๋ย  ปุ๋ยจะช่วยให้พืชเจริญเติบโต  แต่ควรใส่ในปริมาณที่พอเหมาะกับพืช
3.  กำจัดศัตรูพืช
ศัตรูพืชจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า  จึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดศัตรพืชอยู่เสมอ  
4.  การปรับปรุงดิน  อาจทำได้โดยการหมั่นพรวนดินเป็นระยะ  และถอนต้นพืชที่ไม่ต้องการออกจากดินที่ใช้ในการเพาะปลูก

สร้างโดย: 
นางพิไลพร กันไชยต๊ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 410 คน กำลังออนไลน์