เล็บครุฑ (Polyscias),Polyscias sp.

 
ภาพจาก:alangcity.blogspot.com 
 
 
 
ชื่อสามัญ Polyscias
ชื่อวิทยาศาสตร์  Polyscias sp.
ตระกูล  ARALIACEAE
ชนิดเล็บครุฑที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล
1. เล็บครุฝอย Ming Aralia
2. เล็บครุฑทอง เล็บครุฑใบเฟิร์น Fern Leaf Aralia
3. เล็บครุฑบริพัตร White Aralia
4. เล็บครุฑใบกุหลาบ Variegated Rose Leaf Panax
ลักษณะทั่วไป 
เล็บครุฑเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีผิวเปลือกสีเขียวหรือสีน้ำ
ตาล ลำต้นเป็นข้อเล็ก ๆ ผิวเปลือกเรียบหรือมีจุดเล็ก ๆ ประอยู่ทั่วต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยติดอยู่ที่ก้านใบประมาณ 5-7
ใบ ขอบใบเป็นหยัก ใบมีสีเขียวเมื่อขยี้ใบดูจะมีกลิ่นฉุน ลักษณะของใบและขนาด ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์
 
 
การเป็นมงคล 
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเล็บครุฑไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครองและป้องกันภัยเพราะ ครุฑ หรือ คุตติ คือ
การคุ้มครองรักษาให้เกดความสงบสุขและปลอดภัย นอกจากนี้ลักษษระของใบเล็บครุฑ ยังมีลักษณะคล้ายเล็บของพญา
ครุฑ ซึ่งโบราณเชื่อว่าสามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายจากศัตรูภายนอกได้
 
 
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเล็บครุฑไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร
 
 
 การปลูก
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก 
หรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 2 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของราก
แน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน
ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก
การดูแลรักษา
แสง:ต้องการแสงแดดปานกลาง หรือรำไร 
น้ำ:ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7วัน/ครั้ง
ดิน:ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย 
ปุ๋ย:ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์:การตอนกิ่ง การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ 
โรค:ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสมควร
ศัตรู:เพลี้ยต่าง ๆ 
อาการ:กัดกินใบเป็นรอย เป็นรู และกัดดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนยอด ทำให้ยอดหักเหี่ยวแห้งในที่สุด 
การป้องกัน:รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก
การกำจัด:ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลา
รูปภาพของ ssspoonsak

เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดได้ทำการคัดลอกมาแล้วไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนด้วย ดูรูปแบบการทำเอกสารอ้างอิงได้ที่

http://www.thaigoodview.com/node/99177

มิฉะนั้นทางเว็บ thaigoodview.com จำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งหมดออก

ขอขอบคุณ

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

ผู้ดูแลเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว

 


ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่าคัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ ไม่ถูกปิดเสียก่อน
ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1199 คน กำลังออนไลน์