ส่งงานครั้งที่ 1 ด.ช.เรืองศักดิ์ ปฐมวงค์ ม.2.9 เลขที่ 28

ประวัติและความเป็นมาของหุ่นยนต์

 

หุ่นยนต์คือเครื่องจักรที่ถูกใช้ทำงานแทนมนุษย์
ในด้านความสะดวกสะบาย หรือด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยเรื่มแรกนั้น
มนุษย์มีนาฬิกาอยู่
2 ประเภท คือ นาฬิกาแดด เพื่อใช้บอกเวลาในตอนกลางวัน และนาฬิกาทราย
เพื่อบอกเวลาในตอนกลางคืน แต่ข้อเสียคือ นาฬิกาทั้ง  
2  ประเภทนั้น
ใช้บอกเวลาแค่ช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืนเท่านั้น ต่อมาจึงมาการประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ
(
Clepsydra) โดยนักฟิสิกส์ชาวกรีกเมื่อ 250 ปีก่อนคริสตกาล
โดนนาฬิกาน้ำจะใช้พลังงานการไหลของน้ำเป็นตัวผลักให้ระบบทำงาน
และนาฬิกาน้ำได้ถือเป็นเครื่องจักรเครื่องแรกที่ทำงานแทนมนุษย์

รูปแบบและการทำงานของนาฬิกาน้ำ

การทำงานของนาฬิกาน้ำ 

 

ต่อมามนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
จึงได้เกิดความคิดในการควบคุมเครื่องจักรโดยใช้กระแสไฟ้ก็เริ่มขึ้น
โดยการใช้คลื่นวิทยุในการควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่นิวยอร์ก
ซึ่งเป็นการแสดงผลงานทางด้านไฟฟ้าก็ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมา
ได้มีการประดิษฐ์หุ่นยนต์ตัวแรกที่ชื่อ
Alise the Tortoise ซึ่งสร้างจากมอร์เตอร์ไฟฟ้าแล้วนำมาประกอบเป็นเครื่องจักรและสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อทั้ง3 ล้อ ต่อมามีหุ่นยนต์ที่ชื่อ Shakey ได้ถูกสร้างขึ้นมาเช่นเดียวกัน
แต่
Shakey มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งจะมีสัญญานเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวอยู่ภายในตัว

หุ่นยนต์ Shakey 


Shakeys 

 

หลังจากที่หุ่นยนต์เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
หุ่นยนก็ไดเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์
โดยโรงงานอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวคิดการใช้หุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานมนุษย์เดิม
โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมตัวแรกมีชื่อว่า
Unimate
ถูกสร้างโดย Joe Engleburger ต่อมา Joe
ก็ได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งอุตสาหกรรม

โมเดล Unimate  


Unimate

 

หุ่นยนต์อาซิโม

อาซิโม (อังกฤษ: ASIMO) (ญี่ปุ่น: アシモ ashimo)
คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้าประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนีโดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
เทคโนโลยี
 i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสระเสรี
ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์
สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ
ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน
และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต

อาซิโม

บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนิยามของชื่อ ASIMO
ว่าย่อมาจาก Advanced Step in InnovativeMobility หมายถึง
นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย
 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ (アジモフ) นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด
แม้ว่าชื่อในภาษาญี่ปุ่นของอาซิโมและอสิมอฟจะสะกดใกล้เคียงกันมาก
นอกจากนี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า
 อะชิโมะ (ญี่ปุ่น:脚も ashimo ?)
ที่แปลว่า "มีขาด้วย"

ขาต้นแบบของอาซิโม

อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย
ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล
 ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น
พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี
 พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ
พีทู
 (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ
พีทรี
 (P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปีพ.ศ.
2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น

 

ชนิดและประเภทของหุ่นยนต์

 

การแบ่งประเภทตามการเคลื่อนที่ได้


หุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

 

หุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่กับที่
สามารถเคลื่อนไหวไปมาแต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หุ่นยนต์ในประเภทนี้ได้แก่
แขนกลของหุ่นยนต์ที่ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เช่นงานด้านอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์แขนกลของหุ่นยนต์ที่ใช้งานในด้านการแพทย์
 เช่นแขนกลที่ใช้ในการผ่าตัด
หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีลักษณะโครงสร้างที่ใหญ่โต เทอะทะและมีน้ำหนักมาก
ใช้พลังงานให้สามารถเคลื่อนไหวได้จากแหล่งจ่ายพลังงานภายนอก
และจะมีการกำหนดขอบเขตการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เอาไว้
ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อไหวไปมาได้ในเฉพาะที่ที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น

แขนกลผ่าตัด

หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้

หุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปมาได้อย่างอิสระ
หมายความถึงหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้อย่างอิสระ
หรือมีการเคลื่อนที่ไปมาในสถานที่ต่าง ๆ เช่น
หุ่นยนต์ที่ใช้ในการสำรวจดวงจันทร์ขององค์กรนาซ่า
หุ่นยนต์สำรวจใต้พิภพหรือหุ่นยนต์ที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้า
ซึ่งหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวได้นี้
ถูกออกแบบลักษณะของโครงสร้างให้มีขนาดเล็กและมีระบบเคลื่อนที่ไปมา
รวมทั้งมีแหล่งจ่ายพลังสำรองภายในร่างกายของตนเอง
แตกต่างจากหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้
ซึ่งจะต้องมีแหล่งจ่ายพลังงานอยุ่ภายนอก

แหล่งจ่ายพลังสำรองภายในร่างกายของหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย
และสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้นั้น
โดยปกติแล้วจะถูกออกแบบลักษณะของโครงสร้างให้มีขนาดเล็กรวมทั้งมีปริมาณน้ำหนักไม่มาก
เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของหุ่นยนต์หรืออุปสรรคในการเคลื่อนที่

หุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์

 

การแบ่งประเภทตามลักษณะรูปร่างภายนอก

 

โดยทั่วไปหุ่นยนต์ยังถูกจำแนกตามลักษณะรูปลักษณ์ภายนอก และมีคำศัพท์เฉพาะเรียกต่างๆกันไป
ได้แก่
 

1. 

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid Robot) เป็นลักษณหุ่นยนต์ที่เหมือนกับมนุษย์

2.แอนดรอยด์ (Android)
เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถแสดงออกเหมือนมนุษย์
แม้ว่ารากศัพท์ภาษากรีกของคำนี้หมายถึงเพศชาย
แต่การใช้ในบริบทภาษาอังกฤษมักไม่ได้มีความหมายเจาะจงว่าเป็นเพศใด

3.จีนอยด์ (Gynoid)
เป็นการเรียกหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เพศหญิง

4.แอ็คทรอยด์ (Actriod)
เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เช่น กระพริบตา หายใจ
เริ่มพัฒนาโดย มหาวิทยาลัยโอซาก้าและบริษัทโคโคโระ

5.ไซบอร์ก (Cyborg)
เป็นหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับสิ่งมีชีวิต หรือ ครื่งคนครึ่งหุ่น
เริ่มปรากฏครั้งแรกในเรื่องแต่งปี
1960

6.นาโนโรบอท (Nanorobot)
เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ 0.5-3 ไมครอน

รูปภาพของ swk38671

เนื้อหาดีมาก รูปสวย เยี่ยมคะWinkSmile

รูปภาพของ swk38705

ดีมาก

รูปภาพของ swk38687

ยาวๆๆ ไปหน่อย แต่ก็ OK !! Good Job Kaa.

รูปภาพของ swk38677

เนื้อหาเยอะมากก แจ๋ว ๆ -0-

รูปภาพของ swk38720

ว้าวว!!~ รูปเยอะมาก -0- สรุปดีมาก

ปล.กัญชพร[Bfc]โฆษณานิดนึง ><   

รูปภาพของ swk38664

รูปเยอะมากเลยยยย :))

รูปภาพของ swk 38656.

เนื้อหาดีนะมีส่วนประกอบของหุ่นด้วย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 871 คน กำลังออนไลน์