ฮีตที่ ๒ บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน

 

 

           บุญเดือนยี่(เดือนสอง)หรือบุญคูณลานบุญคูณลานเป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จแล้วและกองไว้ในลานข้าวกำหนดทำในเดือนยี่จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้เหตุที่มีการทำบุญนี้เนื่องจากผู้ใดที่ทำนาได้ข้าวมากๆ ก่อนหาบหรือขนข้าวมาใส่ยุ้งฉางก็อยากทำบุญกุศล เพื่อเป็นสิริมงคลให้เพิ่มความมั่งมีศรีสุขแก่ตนและครอบครัวสืบไปที่สำหรับตีหรือนวดข้าว เรียกว่าลานการเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่า คูนลาน หรือที่ เรียกกันว่าคูนข้าวชาวนาที่ทำนาได้ผลดีอยากได้กุศลให้ทานรักษาศีล เป็นต้นก็จัดเอาลานนข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่าบุญคูนลานกำหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึงเรียกว่า บุญเดือนยี่

 

ที่มา http://www.esanclick.com/news.php?No=17391

 

" ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิงให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้
อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า
ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง
จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก
อย่าเอาใจออกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย "

 

หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลานนิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวนอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียมเก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ดังคำโบราณว่า ....เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์ องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าวเตรียมเข้าป่าหาไม้เฮ็ดหลัว เฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อนอย่าได้หลงลืมถิ่นฮีตของเก่าเฮาเดอ...นิมนต์พระสวดมนต์เย็นเพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือกแล้วทำพิธีสู่ขวัญข้าวนอกจากนี้ชาวบ้านเตรียมเก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้านคนอีสานเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญแก่ไร่นาข้าวและต้นข้าวเพราะเป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนอีสานอยู่ในท้องไร่ท้องนาอาชีพหลักก็เป็นอาชีพด้านการเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนาในอดีตคนอีสานมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวถึง 9 ครั้งได้แก่

      เมื่อข้าวเป็นน้ำนม

      เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า

      เมื่อเก็บเกี่ยว

      เมื่อจักตอกมัดข้าว

      เมื่อมัดฟ่อน

      เมื่อกองอยู่ในลาน

      เมื่อทำลอมข้าว

      เมื่อเก็บข้าวเข้าเล้า

แต่ด้วยเหตุอันใดไม่ทราบจึงทำให้ประเพณีดังกล่าวสูญหายไปแทบไม่หลงเหลือให้เห็นอีกแต่ก็คงยังมีอยู่บางหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์ให้เป็นประเพณีของชุมชนอยู่แต่ก็ดูไม่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์อย่างแต่ก่อนมีตำนานเกี่ยวกับการทำบุญคูณลานว่าในสมัยพุทธศาสนาของพระมหากัสสัปปะมีชายสองพี่น้องทำนาอยู่ด้วยกันจนเมื่อถึงเวลาที่จะต้องทำบุญครั้งแรกคือเมื่อข้าวเป็นน้ำนมน้องชายก็มาชวนผู้เป็นพี่ทำข้าวมธุปายาสถวายแด่พระภิกษุสงฆ์แต่พี่ชายปฏิเสธและเห็นว่าน้องไม่รู้จักอดออมเอาแต่จะทำบุญจึงแบ่งนากันทำคนละผืนผู้เป็นน้องทำบุญข้าวครบตามประเพณีทั้ง 9 ครั้งและมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาเต็มเปี่ยมในพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดมจึงสำเร็จอรหันต์เป็นอัญญาโกณฑัญญะ
ส่วนผู้เป็นพี่ชายก็ทำบุญข้าวแต่ทำเพียงครั้งเดียวจึงเกิดเป็นสุภัททปริภาชกสำเร็จเป็นองค์สุดท้ายเมื่อชาวอีสานทราบถึงอานิสงส์นี้จึงพากันทำบุญกันตามความเชื่อ
รายละเอียดขั้นตอนของพิธีกรรมจะเป็นที่ตกลงกันของสมาชิกในหมู่บ้านโดยจะใช้บริเวณลานวัดเป็นที่ประกอบพิธีซึ่งชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกแบ่งจากส่วนของตนมากองรวมกันไว้ที่ลานที่จัดเอาไว้เมื่อถึงเวลาประกอบพิธีก็จะนิมนต์พระมาสวด และก็ทำพิธีพราหมณ์ สู่ขวัญลานข้าว กองข้าวที่ลานเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีน้ำใจชอบทำบุญทำกุศล และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตในปีนั้นๆ อีกด้วยคือถ้ากองข้าวที่ลานรวมกันกองใหญ่ก็จะหมายถึงความศรัทธาและมีน้ำจิตน้ำใจของผู้คนในหมู่บ้านนั้นและก็แสดงว่าฝนฟ้าในปีนั้นตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ดีผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงมากพอที่จะให้ชาวบ้านแบ่งปันมาทำบุญ

 

บุญคูนข้าวหรือบุญคูนลาน

 

 

ที่มา http://youtu.be/8DepYDow-kY

 

   

 

สร้างโดย: 
อชิรญาและนรินทร์โชติ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 348 คน กำลังออนไลน์