• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:cde5974b1ce60664d4a56bb380afae35' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n    ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ที่ศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งถือกำเนิดขึ้นมากว่า 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่ามวลรวมของดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n <img height=\"550\" width=\"328\" src=\"/files/u75434/1235.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในดาราจักรทางช้าง</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n       ดวงอาทิตย์อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกโดยห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกประมาณ 24000-26000 ปีแสง การโคจรรอบดาราจักร 1 รอบใช้เวลา 225-250 ล้านปี ด้วยความเร็วเฉลี่ยในการโคจร 251 กิโลเมตรต่อวินาที ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่นๆ บนฟ้า แต่เนื่องจากดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เราจึงสังเกตเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่\n</p>\n<p align=\"center\">\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n <img height=\"314\" width=\"414\" src=\"/files/u75434/planet_sun_04.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n <img height=\"353\" width=\"502\" src=\"/files/u75434/planet_sun_05_1.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่นๆ</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img height=\"324\" width=\"350\" src=\"/files/u75434/planet_sun_06.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>โครงสร้างของดวงอาทิตย์</strong><br />\n<strong> </strong>\n</p>\n<p>\n<strong>      </strong>  องค์ประกอบทั้งหมดของดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 71 เปอร์เซนต์(โดยน้ำหนัก) และ ฮีเลียม 27 เปอร์เซนต์ ดวงอาทิตย์มีโครงสร้างภายในที่แบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น โดยแต่ละชั้นนั้นอาจมีขอบเขตการแบ่งจากกันได้ไม่ชัดเจนนัก แกนกลางของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียสจะเป็นชั้นที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันโดยเปลี่ยนอะตอมของไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมด้วยอัตรา 4.4 ล้านตันต่อวินาที ซึ่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ดังกล่าวจะปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลในรูปของโฟตอนที่แผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาจากแกนกลางผ่านชั้นถัดมาของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อยคือชั้นเขตแผ่รังสีความร้อน <br />\nเขตแผ่รังสีความร้อน (radiative zone) จะมีอุณหภุมิประมาณ 5 ล้านองศาเซลเซียส โดยพลังงานจากแกนกลางของดวงอาทิตย์จะใช้เวลากว่า 1 ล้านปีในการเดินทางผ่านเขตแผ่รังสีความร้อนนี้ออกมายังส่วนนอกสุดของดวงอาทิตย์ ส่วนโครงสร้างชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์คือ เขตพาความร้อน (convective zone) ซึ่งชั้นนี้จะเริ่มตั้งแต่พื้นผิวที่มองเห็นของดวงอาทิตย์ลงไปจนความลึก 200000 กิโลเมตร พลังงานจะส่งผ่านชั้นนี้ออกไปยังพื้นผิวของดวงอาทิตย์โดยการพาความร้อน\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>ชั้นบรรยากาศ</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n      พื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏให้เราเห็นเรียกว่าชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) เป็นชั้นที่แสงสว่างถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ชั้นโฟโตสเฟียร์นี้อาจมีความหนาเป็นสิบถึงหลายร้อยกิโลเมตร โดยส่วนบนสุดจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าส่วนที่อยู่ลึกลงไปทำให้เมื่อเราถ่ายภาพดวงอาทิตย์จะเห็นบริเวณขอบของดวงอาทิตย์มีความสว่างน้อยกว่าส่วนที่อยู่บริเวณตรงกลาง บริเวณบางส่วนของชั้นโฟโตสเฟียร์นั้นอาจมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบริเวณรอบข้างซึ่งทำให้ปรากฏเป็นจุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspots) โดยจุดดำบนดวงอาทิตย์เหล่านี้ไม่ใช่ลักษณะที่มีอยู่อย่างถาวรมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดได้ สามารถเกิดขึ้นและสลายตัวได้ตลอดเวลา จุดเหล่านี้อาจจะมองเห็นเป็นจุดดำแต่แท้ที่จริงแล้วบริเวณเหล่านี้มันมีอุณหภูมิสูงถึง 4300-4800 องศาเซลเซียส (ซึ่งเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิประมาณ 5500 องศาเซลเซียส)\n</p>\n<p align=\"center\">\n   ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์อยู่ถัดจากชั้นโฟโตสเฟียร์ขึ้นไปคือชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) เป็นชั้นที่มีความหนา 2000 กิโลเมตร ที่บริเวณบนสุดของชั้นนี้จะมีอุณหภูมิประมาณ 20000 องศาเซลเซียส เหนือขึ้นไปจากชั้นโครโมสเฟียร์จะเป็นเขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) ซึ่งเป็นชั้นบางๆ มีความหนาประมาณ 200 กิโลเมตร ชั้นนี้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากชั้นบนสุดของชั้นโครโมสเฟียร์ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20000 องศาเซลเซียสไปเป็นอุณหภูมิกว่า 1 ล้านองศาเซลเซียสที่บริเวณบนสุดของชั้นนี้ซึ่งเชื่อมต่อกับชั้นโคโรนา (corona) ของดวงอาทิตย์\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img height=\"500\" width=\"500\" src=\"/files/u75434/452.jpg\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>ในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเราสามารถเห็นโคโรนาได้ด้วยตาเปล่า</strong>\n</p>\n<p align=\"center\">\n      ชั้นโคโรนาเป็นชั้นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาตรมากกว่าปริมาตรของดวงอาทิตย์เสียอีก โคโรนาจะขยายไปในอวกาศในรูปแบบของลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งเป็นอนุภาคความเร็วสูงที่ถูกปล่อยมาจากดวงอาทิตย์ทุกทิศทุกทางตลอดเวลา อุณหภูมิเฉลี่ยของโคโรนาและลมสุริยะคือประมาณ 1-2 ล้านองศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตามส่วนที่ร้อนที่สุดอาจมีอุณหภูมิถึง 8-20 ล้านองศาเซลเซียส\n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"/node/133365\"><img height=\"100\" width=\"200\" src=\"/files/u75434/25.jpg\" border=\"0\" /></a><br />\n \n</p>\n', created = 1719386397, expire = 1719472797, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:cde5974b1ce60664d4a56bb380afae35' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ดวงอาทิตย์

    ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ที่ศูนย์กลางของระบบสุริยะซึ่งถือกำเนิดขึ้นมากว่า 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่ามวลรวมของดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ

 

 

ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในดาราจักรทางช้าง

       ดวงอาทิตย์อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกโดยห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกประมาณ 24000-26000 ปีแสง การโคจรรอบดาราจักร 1 รอบใช้เวลา 225-250 ล้านปี ด้วยความเร็วเฉลี่ยในการโคจร 251 กิโลเมตรต่อวินาที ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่นๆ บนฟ้า แต่เนื่องจากดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด เราจึงสังเกตเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่

 

 

ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ

 

ขนาดของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่นๆ

โครงสร้างของดวงอาทิตย์
 

        องค์ประกอบทั้งหมดของดวงอาทิตย์นั้นประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 71 เปอร์เซนต์(โดยน้ำหนัก) และ ฮีเลียม 27 เปอร์เซนต์ ดวงอาทิตย์มีโครงสร้างภายในที่แบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น โดยแต่ละชั้นนั้นอาจมีขอบเขตการแบ่งจากกันได้ไม่ชัดเจนนัก แกนกลางของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียสจะเป็นชั้นที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันโดยเปลี่ยนอะตอมของไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมด้วยอัตรา 4.4 ล้านตันต่อวินาที ซึ่งปฏิกิริยานิวเคลียร์ดังกล่าวจะปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลในรูปของโฟตอนที่แผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาจากแกนกลางผ่านชั้นถัดมาของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อยคือชั้นเขตแผ่รังสีความร้อน
เขตแผ่รังสีความร้อน (radiative zone) จะมีอุณหภุมิประมาณ 5 ล้านองศาเซลเซียส โดยพลังงานจากแกนกลางของดวงอาทิตย์จะใช้เวลากว่า 1 ล้านปีในการเดินทางผ่านเขตแผ่รังสีความร้อนนี้ออกมายังส่วนนอกสุดของดวงอาทิตย์ ส่วนโครงสร้างชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์คือ เขตพาความร้อน (convective zone) ซึ่งชั้นนี้จะเริ่มตั้งแต่พื้นผิวที่มองเห็นของดวงอาทิตย์ลงไปจนความลึก 200000 กิโลเมตร พลังงานจะส่งผ่านชั้นนี้ออกไปยังพื้นผิวของดวงอาทิตย์โดยการพาความร้อน

ชั้นบรรยากาศ

      พื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏให้เราเห็นเรียกว่าชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) เป็นชั้นที่แสงสว่างถูกปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ชั้นโฟโตสเฟียร์นี้อาจมีความหนาเป็นสิบถึงหลายร้อยกิโลเมตร โดยส่วนบนสุดจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าส่วนที่อยู่ลึกลงไปทำให้เมื่อเราถ่ายภาพดวงอาทิตย์จะเห็นบริเวณขอบของดวงอาทิตย์มีความสว่างน้อยกว่าส่วนที่อยู่บริเวณตรงกลาง บริเวณบางส่วนของชั้นโฟโตสเฟียร์นั้นอาจมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบริเวณรอบข้างซึ่งทำให้ปรากฏเป็นจุดดำบนดวงอาทิตย์ (sunspots) โดยจุดดำบนดวงอาทิตย์เหล่านี้ไม่ใช่ลักษณะที่มีอยู่อย่างถาวรมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดได้ สามารถเกิดขึ้นและสลายตัวได้ตลอดเวลา จุดเหล่านี้อาจจะมองเห็นเป็นจุดดำแต่แท้ที่จริงแล้วบริเวณเหล่านี้มันมีอุณหภูมิสูงถึง 4300-4800 องศาเซลเซียส (ซึ่งเย็นกว่าบริเวณอื่นๆ ที่มีอุณหภูมิประมาณ 5500 องศาเซลเซียส)

   ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์อยู่ถัดจากชั้นโฟโตสเฟียร์ขึ้นไปคือชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) เป็นชั้นที่มีความหนา 2000 กิโลเมตร ที่บริเวณบนสุดของชั้นนี้จะมีอุณหภูมิประมาณ 20000 องศาเซลเซียส เหนือขึ้นไปจากชั้นโครโมสเฟียร์จะเป็นเขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) ซึ่งเป็นชั้นบางๆ มีความหนาประมาณ 200 กิโลเมตร ชั้นนี้จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากชั้นบนสุดของชั้นโครโมสเฟียร์ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20000 องศาเซลเซียสไปเป็นอุณหภูมิกว่า 1 ล้านองศาเซลเซียสที่บริเวณบนสุดของชั้นนี้ซึ่งเชื่อมต่อกับชั้นโคโรนา (corona) ของดวงอาทิตย์

ในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเราสามารถเห็นโคโรนาได้ด้วยตาเปล่า

      ชั้นโคโรนาเป็นชั้นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาตรมากกว่าปริมาตรของดวงอาทิตย์เสียอีก โคโรนาจะขยายไปในอวกาศในรูปแบบของลมสุริยะ (solar wind) ซึ่งเป็นอนุภาคความเร็วสูงที่ถูกปล่อยมาจากดวงอาทิตย์ทุกทิศทุกทางตลอดเวลา อุณหภูมิเฉลี่ยของโคโรนาและลมสุริยะคือประมาณ 1-2 ล้านองศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตามส่วนที่ร้อนที่สุดอาจมีอุณหภูมิถึง 8-20 ล้านองศาเซลเซียส


 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 477 คน กำลังออนไลน์