ดาวยูเรนัส

    ดาวยูเรนัส(หรือที่คนไทยเรียกดาวมฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ถูกค้นพบโดยเซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล (Sir William Herschel) ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1781 ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ.1977 นักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวไคเปอร์ แอร์บอร์น (Kuiper Airborne Observatory) ได้ค้นพบว่าดาวยูเรนัสมีวงแหวนในระหว่างการศึกษาดาวยูเรนัส โดยพบว่าดาวยูเรนัสหายไปเป็นจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งพวกเขาได้สรุปว่าดาวยูเรนัสน่าจะมีวงแหวนล้อมรอบอยู่ โดยวงแหวนดังกล่าวได้บดบังแสงจากดาวยูเรนัสไว้ ทำให้มองไม่เห็นดาวยูเรนัสเป็นบางช่วงเวลา

 

เซอร์วิลเลียม เฮอร์เซล

 

ภาพถ่ายดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล

วงแหวนดาวยูเรนัส

ในปีค.ศ.1986 เมื่อยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 โคจรผ่านดาวยูเรนัสได้ถ่ายภาพดาวยูเรนัสพร้อมวงแหวนและดาวบริวารส่งกลับมายังโลกเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามวงแหวนของดาวยูเรนัสมีความมืดมากเมื่อเทียบกับวงแหวนของดาวเสาร์ เราจึงสังเกตุเห็นวงแหวนของดาวยูเรนัสได้ยาก โดยวงแหวนที่สว่างที่สุดคือวงแหวน ε

วงโคจร

ดาวยูเรนัสใช้เวลา 84 ปี(ของโลก) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวยูเรนัสมีการโคจรรอบตัวเองในทิศทางที่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงอื่นๆ (ยกเว้นดาวศุกร์) โดยมีแกนการโคจรรอบตัวเองทำมุม 98 องศากับระนาบการโคจร ส่งผลให้ขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวยูเรนัสหันเข้าหาดวงอาทิตย์ต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 21 ปี เช่น เมื่อขั้วเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นเวลา 21 ปี ขั้วใต้จะไม่ถูกแสงอาทิตย์เลย

วงโคจรของดาวยูเรนัส

ถึงแม้ว่าดาวยูเรนัสจะหันขั้ว(เหนือหรือใต้)เข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้บริเวณขั้วได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร แต่ก็ปรากฏว่าอุณหภูมิบริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าสูงกว่าบริเวณขั้ว ซึ่งยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด

โครงสร้างของดาวยูเรนัส

แกนกลางของดาวยูเรนัสประกอบด้วยหินและน้ำแข็งมีรัศมีประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของรัศมีของดาว มีน้ำหนักประมาณ 0.55 เท่าของโลก ส่วนแมนเทิลที่ล้อมรอบแกนกลางอยู่มีน้ำหนักประมาณ 13.4 เท่าของโลกประกอบไปด้วยน้ำ มีเทน และ แอมโมเนียแข็ง ส่วนรอบนอกสุดของดาวยูเรนัสประกอบไปด้วยแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม ซึ่งมีมวลประมาณ 0.5 เท่าของโลก

โครงสร้างของดาวยูเรนัส

โครงสร้างภายในดาวยูเรนัสที่เป็นของเหลว นั่นหมายถึงว่าดาวยูเรนัสไม่มีพื้นผิวที่เป็นของแข็ง ชั้นบรรยากาศที่เป็นแก๊สจะแทรกซ้อนอยู่กับพื้นผิวที่เป็นของเหลว ดังนั้นบริเวณที่กำหนดให้เป็นพื้นผิวของดาวยูเรนัสจึงนิยามให้เป็นบริเวณที่มีความดันบรรยากาศเป็น 1 บาร์(หรือ 100kPa)

องค์ประกอบของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนมีความแตกต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี โดยพบว่าดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนประกอบด้วยน้ำแข็งเป็นหลัก จึงอาจเรียกดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนว่าเป็นดาวน้ำแข็งยักษ์ (ice gaints)

ชั้นบรรยากาศ

        ชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 82.5 เปอร์เซนต์ ฮีเลียม 15.2 เปอร์เซนต์ มีเทน 2.3 เปอร์เซนต์ โดยกลุ่มแก๊สมีเทนนี่เองที่ดูดกลืนแสงสีแดงจากดาวอาทิตย์ทำให้เรามองเห็นดาวยูเรนัสมีสีฟ้า ข้อมูลจากยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 พบว่ากลุ่มหมอกแอมโมเนียและน้ำมีการเคลื่อนที่ไปรอบๆดาว ซึ่งเป็นผลมาจากลมที่พัดและการโคจรรอบตัวเองของดาวยูเรนัส นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการคายพลังงานจากดาวยูเรนัสและการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้สภาพอากาศบนดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก

 

ยานสำรวจวอยเอเจอร์ 2 โคจรผ่านดาวยูเรนัสในปีค.ศ.1986


 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 814 คน กำลังออนไลน์