ดาวศุกร์

          ดาวศุกร์เป็นดาวดวงที่สองในระบบสุริยะและเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุดในเรื่องของขนาด มวล และความหนาแน่น บางคนจึงเรียกดาวศุกร์ว่าดาวฝาแฝดหรือดาวน้องสาวของโลก แต่ดาวศุกร์ก็มีความแตกต่างจากโลกอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นสูงและเต็มไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กลุ่มเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟุริก และอุณหภูมิที่ร้อนจัดถึง 464 องศาเซลเซียสซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ

 

เมื่อเราสังเกตดูท้องฟ้า ดาวศุกร์จะเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุด(ถ้าไม่นับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์) เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกเราจึงเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงหัวค่ำและช่วงก่อนรุ่งสางเท่านั้นคือมีระยะห่างเชิงมุม (มองจากโลก) ไม่เกิน 47.8 องศา เราเรียกดาวศุกร์เมื่อปรากฏในช่วงหัวค่ำว่า ดาวประจำเมือง(evening star) ส่วนเมื่อปรากฏในช่วงก่อนรุ่งสางเราเรียกว่า ดาวประกายพรึก (morning star)

 

 การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีคาบเวลาการหมุนรอบตัวเอง(243 วันของโลก)นานกว่าคาบเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์(225 วันของโลก) การหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์ทุกๆ 1/8 รอบ ดาวศุกร์จะโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ประมาณ 1/7 รอบ การหมุนเช่นนี้ทำให้ 1 วัน(ของดาวศุกร์) มีค่าประมาณ 117 วัน(ของโลก) นั่นหมายถึงว่า 1 วันของดาวศุกร์มีค่าน้อยกว่าเวลาการหมุนรอบตัวเองของดาวศุกร์เสียอีก โดยระยะเวลา 1 ปี(ของดาวศุกร์) มีค่าเท่ากับประมาณ 1.9 วัน(ของดาวศุกร์)

 

วงโคจร
      วงโคจรของดาวศุกร์มีความรีน้อยมาก(คือใกล้เคียงวงกลม) คือมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด(perihelion) 107.5 ล้านกิโลเมตร และจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด(aphelion) 108.9 ล้านกิโลเมตร ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีฤดูกาลเช่นเดียวกับดาวพุธด้วยเหตุที่ว่าระนาบการโคจรกับระนาบของเส้นผ่านศูนย์กลางดาวศุกร์เกือบเป็นระนาบเดียวกัน

 

โครงสร้างของดาวศุกร์
            ดาวศุกร์เป็นดาวที่มีขนาดและมวลที่ใกล้เคียงกับโลกมากนักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าโครงสร้างของดาวศุกร์มีความคล้ายคลึงกับโลก โดยแกนชั้นใน (inner core) ประกอบไปด้วยโลหะแข็ง(เหล็กและนิกเกิล) ส่วนแกนชั้นนอก (outer core) เป็นโลหะเหลวที่เป็นเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแกนชั้นใน แต่ไม่ปรากฏว่าไม่สามารถวัดสนามแม่เหล็กของดาวศุกร์ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าดาวศุกร์มีการหมุนรอบตัวเองที่ช้ามากเมื่อเทียบกับโลกจึงไม่สามารถทำให้โลหะเหลวในแกนชั้นนอกเเกิดการหมุนเวียน(circulation)ได้ จึงไม่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ในส่วนของชั้นแมนเทิลจะเป็นหินและชั้นเปลือกจะประกอบด้วยซิลิเกตเป็นหลัก พื้นผิวของดาวศุกร์จะมีความแห้งแล้งและร้อนกว่าดาวเคราะห์อื่นๆในระบบสุริยะ

 

การดักจับความร้อนของแก๊สในชั้นบรรยากาศเปรียบเทียบระหว่างโลกกับดาวศุกร์
 
ชั้นบรรยากาศ

ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์มีความหนาแน่นมาก โดยมีความดนบรรยากาศมากกว่า 90 เท่าเมื่อเทียบกับโลก ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์เป็นหลักถึง 96.5 เปอร์เซนต์ ซึ่งชั้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นี้ปกคลุมตั้งแต่พื้นผิวของดาวศุกร์สูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร เหนือจากนั้นยังมีชั้นของกลุ่มเมฆที่ประกอบไปด้วยกรดซัลฟุริก แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังดาวศุกร์ส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซนต์จะถูกสะท้อนโดยกลุ่มเมฆกลับไปสู่อวกาศ ส่วนรังสีความร้อนที่ปลดปล่อยจากพื้นผิวดาวศุกร์จะถูกดูดกลืนด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนไปสู่อวกาศได้ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกขึ้นบนดาวศุกร์อย่างรุนแรง อุณหภูมิบนดาวศุกร์ที่เส้นผ่านศูนย์กลางและที่ขั้วโลกจะไม่แตกต่างกันมากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 464 องศาเซลเซียสไม่ว่าจะเป็นช่วงกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 721 คน กำลังออนไลน์