• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:83c3420fbe3516c541b81bfd0598bc23' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\nคำสมาส<br />\nการสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   โดยนำคำบาลี-สันสกฤต   ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน<br />\n ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้<br />\n ๑.เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น   คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส   ตัวอย่างคำสมาส<br />\n  บาลี+บาลี อัคคีภัย    วาตภัย    โจรภัย    อริยสัจ    ขัตติยมานะ    อัจฉริยบุคคล<br />\n  สันสกฤต+สันสกฤต แพทยศาสตร์    วีรบุรุษ    วีรสตรี    สังคมวิทยา   ศิลปกรรม<br />\n  บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี หัตถศึกษา    นาฎศิลป์    สัจธรรม    สามัญศึกษา\n</p>\n<p>\n ๒.คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด  เช่น<br />\n  วัฒน+ธรรม    =   วัฒนธรรม  สาร+คดี        =   สารคดี<br />\n  พิพิธ+ภัณฑ์   =   พิพิธภัณฑ์  กาฬ+ปักษ์    =   กาฬปักษ์<br />\n  ทิพย+เนตร    =   ทิพยเนตร  โลก+บาล     =   โลกบาล<br />\n  เสรี+ภาพ      =   เสรีภาพ  สังฆ+นายก  =   สังฆนายก\n</p>\n<p>\n ๓.คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน  เช่น<br />\n  ภูมิศาสตร์  อ่านว่า พู-มิ-สาด<br />\n  เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด<br />\n  เศรษฐการ  อ่านว่า เสด-ถะ-กาน<br />\n  รัฐมนตรี  อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี<br />\n  เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา\n</p>\n<p>\n ๔.คำที่นำมาสมาสกันแล้ว   ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง   ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า  เช่น<br />\n  ยุทธ (รบ)  +  ภูมิ (แผ่นดิน  สนาม) =   ยุทธภูมิ  (สนามรบ)<br />\n  หัตถ (มือ)  +  กรรม (การงาน) =   หัตถกรรม  (งานฝีมือ)<br />\n  คุรุ (ครู)   +   ศาสตร์ (วิชา) =   คุรุศาสตร์  (วิชาครู)<br />\n  สุนทร (งาม  ไพเราะ)  +  พจน์ (คำกล่าว)=   สุนทรพจน์  (คำกล่าวที่ไพเราะ)\n</p>\n<p>\nคำสนธิ<br />\nคำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต   มาเชื่อมต่อกัน<br />\nทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง\n</p>\n<p>\n<br />\n ๑. สระสนธิ   คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ  เช่น<br />\n  วิทย+อาลัย     =   วิทยาลัย  พุทธ+อานุภาพ  =   พุทธานุภาพ<br />\n  มหา+อรรณพ  =   มหรรณพ  นาค+อินทร์       =   นาคินทร์<br />\n  มัคค+อุเทศก์   =   มัคคุเทศก์  พุทธ+โอวาท     =   พุทโธวาท<br />\n  รังสี+โอภาส    =   รังสิโยภาส  ธนู+อาคม        =   ธันวาคม<br />\n๒. พยัญชนะสนธิ   เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ   ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย  เช่น<br />\n  รหสฺ + ฐาน     =   รโหฐาน  มนสฺ + ภาว   =   มโนภาว  (มโนภาพ)<br />\n  ทุสฺ + ชน        =   ทุรชน  นิสฺ + ภย       =   นิรภัย<br />\n๓. นฤคหิตสนธิ   ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต  กับคำอื่นๆ  เช่น<br />\n  สํ + อุทัย     =   สมุทัย  สํ + อาคม     =   สมาคม<br />\n  สํ + ขาร      =   สังขาร  สํ + คม         =   สังคม<br />\n  สํ + หาร     =   สังหาร  สํ + วร          =    สังวร\n</p>\n<p>\n<br />\nลักษณะของคำสมาส<br />\nคำสมาส  คือ  การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต     \n</p>\n<p>\n             ลักษณะของคำสมาสที่ปรากฏในภาษาไทยมี  ดังนี้<br />\n๑.คำที่เกิดจากคำบาลีหรือคำสันสกฤตล้วนๆ มาต่อกัน  เช่น  เทวบัญชา  ราชบุตร  ผลิตผล<br />\n๒.คำที่เกิดจากนามศัพท์หรืออัพยศัพท์ต่อกับนามศัพท์  เช่น  สมณพราหมณ์  อัศวมุข  ทุศีล  อธิการ<br />\n๓. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าในคำสมาสไม่ประวิชสรรชนีย์หรือไม่เป็นตัวการันต์  เช่น  กิจการ  วิวาหมงคล<br />\n๔.คำสมาสจะเรียงต้นศัพท์ไว้หลัง  ศัพท์ประกอบไว้หน้า  เมื่อแปลความหมายจะต้องแปลจากหลังไปหน้า<br />\n          เช่น  สภานายก  (นายกแห่งสภา )    ภูมิภาค  ( ส่วนของแผ่นดิน )<br />\n๕.คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย  คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า  ศัพท์ประกอบไว้หลัง  การเขียนคำสมาสเหล่านี้<br />\n        ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ  แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน  เช่น บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) บุตรและภรรยา<br />\n๖. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า  เช่น  กาลสมัย ( กาน- ละ - สะ -ไหม )<br />\n๗. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า  &quot; พระ &quot; ที่แผลงมาจาก  &quot; วร &quot; ประกอบข้างหน้า  จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส  พระอรหันต์<br />\n๘. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน  เช่น                                                                        <br />\n           - คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น  นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์  ประวัติศาสตร์<br />\n           -  คำที่ลงท้ายด้วยภัย  เช่น  อุทกภัย  วาตภัย   อัคคีภัย<br />\n           - คำที่ลงท้ายด้วยกรรม  เช่น  นิติกรรม  นวัตกรรม  กสิกรรม\n</p>\n', created = 1727402647, expire = 1727489047, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:83c3420fbe3516c541b81bfd0598bc23' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

คำสมาส-คำสนธิ

คำสมาส
การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   โดยนำคำบาลี-สันสกฤต   ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน
 ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
 ๑.เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเท่านั้น   คำที่มาจากภาษาอื่นๆ นำมาประสมกันไม่นับเป็นคำสมาส   ตัวอย่างคำสมาส
  บาลี+บาลี อัคคีภัย    วาตภัย    โจรภัย    อริยสัจ    ขัตติยมานะ    อัจฉริยบุคคล
  สันสกฤต+สันสกฤต แพทยศาสตร์    วีรบุรุษ    วีรสตรี    สังคมวิทยา   ศิลปกรรม
  บาลี+สันสกฤต, สันสกฤต+บาลี หัตถศึกษา    นาฎศิลป์    สัจธรรม    สามัญศึกษา

 ๒.คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด  เช่น
  วัฒน+ธรรม    =   วัฒนธรรม  สาร+คดี        =   สารคดี
  พิพิธ+ภัณฑ์   =   พิพิธภัณฑ์  กาฬ+ปักษ์    =   กาฬปักษ์
  ทิพย+เนตร    =   ทิพยเนตร  โลก+บาล     =   โลกบาล
  เสรี+ภาพ      =   เสรีภาพ  สังฆ+นายก  =   สังฆนายก

 ๓.คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน  เช่น
  ภูมิศาสตร์  อ่านว่า พู-มิ-สาด
  เกียรติประวัติ อ่านว่า เกียด-ติ-ประ-หวัด
  เศรษฐการ  อ่านว่า เสด-ถะ-กาน
  รัฐมนตรี  อ่านว่า รัด-ถะ-มน-ตรี
  เกตุมาลา อ่านว่า เก-ตุ-มา-ลา

 ๔.คำที่นำมาสมาสกันแล้ว   ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง   ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า  เช่น
  ยุทธ (รบ)  +  ภูมิ (แผ่นดิน  สนาม) =   ยุทธภูมิ  (สนามรบ)
  หัตถ (มือ)  +  กรรม (การงาน) =   หัตถกรรม  (งานฝีมือ)
  คุรุ (ครู)   +   ศาสตร์ (วิชา) =   คุรุศาสตร์  (วิชาครู)
  สุนทร (งาม  ไพเราะ)  +  พจน์ (คำกล่าว)=   สุนทรพจน์  (คำกล่าวที่ไพเราะ)

คำสนธิ
คำสนธิในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต   มาเชื่อมต่อกัน
ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง


 ๑. สระสนธิ   คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ  เช่น
  วิทย+อาลัย     =   วิทยาลัย  พุทธ+อานุภาพ  =   พุทธานุภาพ
  มหา+อรรณพ  =   มหรรณพ  นาค+อินทร์       =   นาคินทร์
  มัคค+อุเทศก์   =   มัคคุเทศก์  พุทธ+โอวาท     =   พุทโธวาท
  รังสี+โอภาส    =   รังสิโยภาส  ธนู+อาคม        =   ธันวาคม
๒. พยัญชนะสนธิ   เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ   ซึ่งไม่ค่อยมีใช้ในภาษาไทย  เช่น
  รหสฺ + ฐาน     =   รโหฐาน  มนสฺ + ภาว   =   มโนภาว  (มโนภาพ)
  ทุสฺ + ชน        =   ทุรชน  นิสฺ + ภย       =   นิรภัย
๓. นฤคหิตสนธิ   ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนฤคหิต  กับคำอื่นๆ  เช่น
  สํ + อุทัย     =   สมุทัย  สํ + อาคม     =   สมาคม
  สํ + ขาร      =   สังขาร  สํ + คม         =   สังคม
  สํ + หาร     =   สังหาร  สํ + วร          =    สังวร


ลักษณะของคำสมาส
คำสมาส  คือ  การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต     

             ลักษณะของคำสมาสที่ปรากฏในภาษาไทยมี  ดังนี้
๑.คำที่เกิดจากคำบาลีหรือคำสันสกฤตล้วนๆ มาต่อกัน  เช่น  เทวบัญชา  ราชบุตร  ผลิตผล
๒.คำที่เกิดจากนามศัพท์หรืออัพยศัพท์ต่อกับนามศัพท์  เช่น  สมณพราหมณ์  อัศวมุข  ทุศีล  อธิการ
๓. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าในคำสมาสไม่ประวิชสรรชนีย์หรือไม่เป็นตัวการันต์  เช่น  กิจการ  วิวาหมงคล
๔.คำสมาสจะเรียงต้นศัพท์ไว้หลัง  ศัพท์ประกอบไว้หน้า  เมื่อแปลความหมายจะต้องแปลจากหลังไปหน้า
          เช่น  สภานายก  (นายกแห่งสภา )    ภูมิภาค  ( ส่วนของแผ่นดิน )
๕.คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย  คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า  ศัพท์ประกอบไว้หลัง  การเขียนคำสมาสเหล่านี้
        ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ  แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน  เช่น บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) บุตรและภรรยา
๖. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า  เช่น  กาลสมัย ( กาน- ละ - สะ -ไหม )
๗. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า  " พระ " ที่แผลงมาจาก  " วร " ประกอบข้างหน้า  จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส  พระอรหันต์
๘. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน  เช่น                                                                       
           - คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น  นิติศาสตร์  อักษรศาสตร์  ประวัติศาสตร์
           -  คำที่ลงท้ายด้วยภัย  เช่น  อุทกภัย  วาตภัย   อัคคีภัย
           - คำที่ลงท้ายด้วยกรรม  เช่น  นิติกรรม  นวัตกรรม  กสิกรรม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 270 คน กำลังออนไลน์