หลังน้ำท่วม ทำอะไร อย่างไรดี?

รูปภาพของ sss28253
ที่มา : http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRU0KD9XN6THm2G8C3TC4lm3c7RBDbf3RVP2vMQu6I1GQnpVNyx
หากพูดถึงเรื่องที่เป็นประเด็นที่สุดของปีพ.ศ. 2554 คงนี้ไม่พ้นเรื่องน้ำท่วมก็ว่าได้ ในช่วง2-3เดือนที่ผ่านมา การเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้นับว่าก่อความเสียหายให้กับบ้านเรือน โรงงาน ไร่สวน รวมไปถึงกำลังกาย กำลังใจของคนไทยทั้งประเทศอีกด้วย อุทกภัยครั้งนี้ดูจะรุนแรงมากกว่าเมื่อครั้ง 16 ปีก่อน เพราะภัยน้ำในครั้งนี้เล่นงานคนไทยไปถึมากกว่า 64 จังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง ภาคอิสาน
เรียกได้ว่าอุทกภัยครั้งนี้รุนแรงยิ่งนัก เพราะได้สร้างความเสียหายให้บ้านเรือน นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง สวนผลไม้ที่สำคัญของประเทศ โรงงานผลิตเครื่องใช้ อุปโภคและบริโภค ทำเอาประชาชนต่างได้รับความเดือนร้อนกันอย่างทั่วถึงแม้น้ำจะยังไม่มาก็ตาม 
สถานการณ์ในช่วงนี้ก็ดูจะคลายลงน้ำในที่ต่างๆก็ค่อยๆลดลง และในบางที่ก็เร่งการระบายนี้กัน และเมื่อน้ำไปอะไรๆก็ดูเหมือนเป็นใจ อย่างที่คำเขาพูดกันว่า "ฟ้าหลังฝน ย่อมสดใสเสมอ"  ตอนนี้จากปัญหาน้ำท่วมจึงเปลี่ยนมาเป็นปัญหา แล้วหลังน้ำท่วมควรทำอย่างไร? ซึ่งวันนี้เราก็วิธีต่างๆที่สามารถแก้ไขปัญหาของใครหลายคนได้มาน้ำเสนอกัน
 
 

ปัญหาข้อที่ 1..
.
ความทุกข์ยากลำบากฉากแรกเพิ่งกำลังจะผ่านไปหลังน้ำลด แต่ความทุกข์ใหม่ กำลังเข้ามาแทนที่ เพราะสภาพของบ้านอันถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของเรามีสภาพที่น่าอึดอัด น่าอันตรายและเป็นรอยแผลที่หลายคน อยากจะเมินหน้าหนี
1.) อย่าซีเรียสว่า ทำไมน้ำถึงท่วม ราชการหรือรัฐบาลไปอยู่ที่ไหน เพื่อน ๆ ในถิ่นอื่นทำไมบ้านเขา น้ำไม่ท่วม ฯลฯ เพราะนั่นไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหา "บ้านหลังน้ำท่วม"
2.) ทำการตรวจสอบด้วยจิตอันบริสุทธิ์ว่า บ้านเราเกิดปัญหาใดเพิ่มขึ้นบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนน้ำท่วม เช่นรั้วเอียง ปาเก้ล่อน แมลงสาปหายไปไหน ค่าไฟเพิ่ม ฯลฯ แล ทำบันทึกไว้เป็นข้อๆให้อ่านง่ายจดจำง่าย
3.) ถามตนเองว่าสภาพการเงินเราเป็นอย่างไร มีเงินจะใช้สำหรับการซ่อมแซมเท่าไร
 
 
 
ที่มา : http://p1.s1sf.com/ns/0/wb/i/ui/212/1062437/f22_1318403992.jpg;r:width=580;static:p_s1sf_ns_0;file:dc111a.jpg 
 
 
ปัญหาข้อที่ 2...
น้ำไม่ท่วมบ้าน แต่ท่วมถนนซอยหน้าบ้าน ต้องทำอะไรไหม เรามักจะมองข้ามไปก็คือ "ท่อระบายน้ำ" ที่ถ่ายเทน้ำจากบ้านเรา ระบายออกสู่ท่อระบายน้ำของหลวง ในยามที่น้ำท่วมทางสาธารณะ แน่นอนน้ำจะต้องท่วม ท่อระบายน้ำของหลวงท่านด้วย น้ำในบ้านเราก็เลยไม่ระบายออก แถมในทางกลับกัน น้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะ อาจจะไหลกลับเข้าสู่บ้านเราได้ เมื่อมีการไหลกลับเช่นที่ว่า นอกจากจะพาเอาน้ำเข้ามาแล้ว ยังน่าจะพาเอาเศษดินโคลนต่าง ๆ เข้ามาด้วย เมื่อน้ำค่อยๆลดลง เศษดิน โคลน ก็จะกองติดอยู่ในท่อระบายน้ำบ้านเรา ท่อระบายน้ำบ้านเราที่เล็กอยู่แล้ว ก็จะเกิดอาการอุดตัน หรือมีพื้นที่ว่างเหลือน้อยกว่าปกติ แนวทางในการแก้ไขและข้อควรจะระวัง
1.) หากเป็นท่อระบายน้ำระบบมีฝาเปิดตลอดแนว ก็เปิดฝาแล้วตักไอ้เจ้าดินโคลนเศษขยะนั้นออก
2.) หากเป็นท่อระบบไม่มีฝาเปิดตลอด ก็เอาไม้ยาว ๆ ควานดู (แบบที่เขาขุดลอกท่อระบายน้ำของ กทม. นั่นแหละ)
3.) อย่าพยายามใช้น้ำฉีด เพราะจะเปลืองน้ำมากและยังคงทำความสะอาดท่อลำบาก แถมยังทำบาปกับคนอื่นเขา เพราะ เจ้าเศษโคลน ทั้ง      หลายจะระบายลงสู่ ท่อสาธารณะ ทำให้ท่อของหลวงท่าน อุดตันตื้นเขิน …อันเป็น สาเหตุ หนึ่ง ที่ทำให้น้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง  
เนื่องจากระบายน้ำไม่ได้
4.) มื่อทำการกวาดล้างเสร็จแล้ว ลองตรวจสอบอีกครั้งดูว่าระดับน้ำในท่อระบายน้ำเรานั้นไหลไปทางไหน
 
 
 

ปัญหาที่ 3...
รั้วคอนกรีตที่แข็งแรงของฉัน ต้องตรวจดูอะไรหลังน้ำลดไหม ? น้ำคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติ และธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าที่มนุษย์จะไปท้าทายแข็งขัน รั้วคอนกรีตของท่าน คงจะไม่สามารถฝืนกฎนี้ได้ ปัญหาที่อาจจะเกิดกับรั้วของท่านก็เป็นเรื่องจากยามน้ำท่วม ดินที่ฐานรั้วท่านอาจจะอ่อนตัวลง ความสามารถในการ รับน้ำหนัก อาจจะน้อยลง หรือระดับที่ดินในบ้านกับนอกบ้านท่านมีระดับแตกต่างกัน ยามเมื่อน้ำที่ท่วมลดลง อาจจะเกิดแรงดูด ทำให้รั้วของท่าน เอียงไปก็ได้ หรือในขณะที่น้ำท่วมรั้วของท่าน อาจต้องทำหน้าที่เป็น "เขื่อน" ที่ต้องรับน้ำหนักน้ำเป็นอย่างมาก ความสามารถในการรับน้ำหนักอาจ "คลาก" ความแข็งแรงลดลงไปได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจกรุณาตรวจสอบ และหาแนวทางแก้ไขดังนี้ 
1.) ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้ค้ำยันด้านที่เอียงออก เอาไว้ก่อน มีสตางค์
เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที 
2.) หากตรวจสอบแล้วปรากฎว่ารั้วของท่าน เอียงมากจนแนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง(C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที (โดยช่าง    
ก่อสร้างที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณก็ต้องค้ำยันไว้ อย่างแน่นหนามากๆ เพราะน้ำหนักรั้วที่แข็งแรงของท่านหนักมาก 
3.) หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำหนักรั้วอยู่ พอน้ำลดลง น้ำอาจพาดิน ใต้คานคอดินของท่าน ออก
ไปด้วย ก็จะเกิดรูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่าง ๆ เดิน - วิ่ง - มุด - เลื้อย เข้าไปในบ้าน ของท่านได้ หรือไม่ก็
ทำให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะไปเรื่อย ๆ ภายหลังก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไป ให้คงเดิม
 
 
ที่มา :  http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ49cStkHOsiG3v5VLRsZfIqoqTnzefEI_OpVvbBAPtApqBMOQQrw
 
 
 
ปัญหาที่ 4...
น้ำท่วมคราวนี้คร่าชีวิตต้นไม้ไปมากมาย ทั้งพืชทางเศรษฐกิจและพืชที่เราปลูกกันไว้ในบ้าน หากบ้านใดน้ำท่วมเป็นเวลานาน ต้นไม้ต้นหญ้าขนาดเล็ก จะต้องตายหมดแน่นอน แนวทางการแก้ไขก็คือ ต้องเริ่มต้นปลูกกันใหม่ แต่ต้นไม้บางต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่ จะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ 
1.) อย่าให้ปุ๋ยเด็ดขาด (ทั้งปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยธรรมชาติ หรือปุ๋ยนางงามจักรวาล) เพราะน้ำท่วมทำให้รากต้นไม้ อ่อนแอ เขาต้องการ เวลา
พักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย 
2.) ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 ซม. ถึง 1 เมตร ไว้ข้าง ๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการช่วย
อาการรากสำลักน้ำได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดน้ำเล็ก ๆ (คอยสูบน้ำออก แต่หากไม่มีกะตัง จะซื้อเครื่องสูบน้ำนี้ก็ต้องออกแรงขุดหลุม    
กว้างหน่อยแล้วใช้ขันหรือถังค่อย ๆ เอื้อมมือตักน้ำออก
3.) หากเห็นว่า รากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำต้นเอาไว้ กรุณาอย่าอัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้จะรีบ ๆ ตายทันที ให้ใช้วิธี
ดามหรือค้ำยันลำต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิม แล้วจึงเอาไม้ดามไม้ค้ำยันออก 
 
 
ที่มา :  http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/983/51983/images/flood3.JPG
 
 

ปัญหาที่ 5...
ปาเก้บ้านฉัน กลายเป็นปลาลอยน้ำ น่าปาทิ้งดีไหม ?
1.) ปาเก้เป็นไม้ซึ่งอยู่ได้ด้วยกาว ดังนั้น พื้นปาเก้จึงเป็น พื้นที่อ่อนแอกับอาการน้ำท่วมอย่างยิ่ง เพราะทั้งไม้ก็จะบวมขึ้นมา
กาวก็จะหลุดล่อน ดังนั้นเมื่อ น้ำท่วมพื้นปาเก้ก็ต้องมีปัญหาแน่นอน อย่าไปโทษช่างทำปาเก้หรืออย่าไป คิดอะไรมาก 
2.) หากน้ำท่วมสัก 5-7 วัน นอกจากปาเก้จะหลุดล่อนลอยน้ำ ปูดโปนขึ้นมาแล้ว ยังจะมีอาการ "บูดเน่า" ให้เกิดกลิ่นเหม็นและอาจเป็น
อันตรายน้อยๆหากต้องสูดดมอยู่ตลอด ทั้งวันทั้งคืน
3.) หากปาเก้เปียกน้ำสักเล็กน้อย ไม่ถึงกับหลุดล่อนปูดโปนไม่ต้องทำอะไรมาก เช็ดทำความสะอาด แล้วปล่อยทิ้งไว้เปิดหน้าต่างประตูให้
อากาศถ่ายเท ความชื้นออกไป ไม่กี่วันปาเก้ก็อาจเข้ารูปเดิมปกติได้ แต่มีข้อที่น่าคิดก็คือ อย่าเอาน้ำมันหรือแลคเกอร์ หรือแว็กซ์
ไปทาทับตอนที่ปาเก้ยังชื้นอยู่เพราะสารเหล่านั้น จะไปเคลือบผิวไม้ทำให้ความชื้นในเนื้อไม้(และเนื้อพื้นคอนกรีตใต้ปาเก้)ไม่ระเหยออก
4.) หากปาเก้มีอาการหนัก บิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด ผุกร่อน เหม็นเน่า…กรุณาอย่าเสียดาย กรุณาเลาะออกมา หากเลาะออกมาแล้ว ยังอยู่
ในสภาพดี ก็ผึ่งลมเอาไว้ให้แห้ง เผื่ออาจมีประโยชน์ในวันหลัง
5.) หากเลาะพื้นปาเก้ออกมีข้อคิดว่า หากจะปูอะไรทับแทนก็ต้องระวังเรื่องน้ำหนักของวัสดุที่จะปูแทนนั้น ว่าหนักมากไหม หากหนักมาก ก็
ต้องดูระบบโครงสร้างบ้านเรา ด้วยว่ามีความแข็งแรงไหม (ถามช่างผู้รู้ ให้ช่วยดูก็ได้) เพราะปาเก้นั้น เป็นไม้ น้ำหนักเบา
พื้นที่หนึ่งตารางเมตร อาจจะหนักเพียง 5 กิโลกรัม แต่พื้นหินอ่อนหรือแกรนิต น้ำหนักรวมปูนทราย ที่ใช้ปู หนึ่งตารางเมตรอาจหนักตั้ง        120 กิโลกรัม
6.) หากจะปูปาเก้เช่นเดิม (เพราะชอบความเป็นไม้ที่ให้ความนุ่มนวล) หรือปูวัสดุอื่นที่ใช้ "กาว" เป็นตัว ประสาน กรุณาอย่า ปูทับลงทันที      ต้องรอ ให้พื้นคอนกรีตแห้งก่อน 
 
 
ที่มา :  http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQihgvKSha4mfx3TTwVDzNeBqHd2ntggMjoGw3Ds5rcJEyubiza
 
 

ปัญหาที่ 6...
งูเงี้ยวเขี้ยวขอตะกวดแย้มังกรกิ้งกือ หนีน้ำมาอยู่เต็มบ้านเลย หากแม้ว่าบ้านของท่านไม่ใช่สวนสัตว์ หรือห้องทดลองชีวเคมี ขอให้เรียกบริษัทกำจัดแมลง หรือกรมประมง มาช่วยเถอะ!!!
 
 
 
ที่มา :  http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR6OFMEs7ZtpIzDIUSEYu5XA4_QUuOKbnODm-0O5mNVi2Vd_NGq0A
 
 

ปัญหาที่ 7...
 ปลั๊กไฟบ้าน น้ำท่วมไม่เป็นไร น้ำลดจะเป็นไรมั๊ย ? ถึงแม้ขณะที่น้ำท่วมนั้นท่านปิดวงจรไฟฟ้าทั้งบ้าน (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปิดคัทเอ๊าท์) น้ำท่วมก็คงไม่เป็นไรอยู่แล้ว เพราะไม่มีกระแส ไฟฟ้าเดิน แต่พอน้ำลดอยากจะเปิดไฟใช้คงหวั่นเกรงเหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไร
1.) ลองเปิดคัทเอ๊าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา (อย่าลืมต้องมีฟิวส์ที่คัทเอ๊าท์เสมอ) หากปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งยังชื้น หรือเปียกอยู่ คัทเอ๊าท์
จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ลองเปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน ให้ความชื้นระเหย ออกไปบ้าง แล้วดำเนินการใหม่ หากคัทเอ๊าท์ยังตัดไฟ
เหมือนเดิม กรุณาตาม ช่างไฟฟ้า ผู้รู้เรื่องมาแก้ไข
2.) ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุด และทดสอบกระแสไฟฟ้า ในปลั๊ก แต่ละอันว่ามี ไฟฟ้ามาปกติ หรือไม่ (อาจหาซื้ออุปกรณ์ตรวจกระแส
ไฟฟ้าขนาดเล็กจากห้างไฟฟ้าทั่วไป รูปร่างหน้าตาคล้ายไขควงมาเสียบทดสอบดูก็จะสะดวกดี) หากทุกจุดทำงานปกติก็ถือว่าสบายใจ
ได้ไปอีกระดับหนึ่ง หากมีปัญหาบางจุดก็อาจรอสักนิดให้ความชื้นระเหยออกเช่นข้อแรก
3.) ดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังคงเปิดคัทเอ๊าท์เอาไว้ แล้ววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าเคลื่อนไหวหรือไม่
หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่า ไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่หากมิเตอร์หมุนแสดงว่า ท่านยังปิดการใช้ไฟฟ้าในบ้านท่านไม่หมดหรือไฟฟ้า
ตามสาย ตามท่อ ตามจุด บางจุดในบ้านท่าน อาจจะรั่วได้ รีบตามช่างไฟมาดูแล 
 
 
 
 

ปัญหาที่ 8...
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า จมน้ำหมดเลย ทำไงดี ? สิ่งที่ท่านถามมาทั้งหมดข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นเครื่องจักรกลที่อย่างเราอย่างท่าน ไม่น่าประมา หรือรู้มากเข้าไปแก้ไข ซ่อมแซมเอง ขอความกรุณาอย่าเพิ่งใช้ หากโดนน้ำท่วมแล้ว น้ำเจ้ากรรมไหลเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว ถอดออกไปให้ช่างผู้รู้ เขาตรวจสอบดูก่อนดีกว่า กรุณาอย่าประมาท เอาไปตากแดด แล้วคิดว่าแห้งแล้ว เลยนำไปใช้ต่อ เพราะความชื้นบางส่วน อาจจะฝังอยู่ข้างใน พอเครื่องกลนั้นทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าอาจทำให้เกิดปัญหากับตัวบ้าน หรือเป็นอันตราย ถึงชีวิตได้ ยามจะใช้เครื่องกลเหล่านั้นน่ามีข้อคิด 3 ประการคือ
1. ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ ๆ เสมอ เกิดอะไรผิดปกติขึ้นมาต้องดับเครื่องปิดเครื่องทันที
2. ที่คัทเอ๊าท์ไฟฟ้าหลักของบ้าน จะต้องมีฟิวส์ที่มีคุณภาพติดตั้งอยู่เสมอ เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ต้องแน่ใจว่า วงจรไฟฟ้า จะถูกตัดออก
3. เมื่อไรไม่จำเป็นจริง ๆ แล้ว พอมีเวลาบ้าง และพอมีงบประมาณ กรุณานำไปให้ช่างผู้รู้ ตรวจสอบเสีย
ที่มา :  http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSHU1SwFNXTQCC7dBA0wmvN4hqN41hOdvb5aIork-fBQu9I7yQAmQ
 
 
ปัญหาที่ 9...
ฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ หลังน้ำท่วม ขอให้คิดเสมือนว่าเฟอร์นิเจอร์นั้นเป็นเครื่องใช้ เป็นพื้นบ้านและเป็นผนังบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือปนๆกันไป ดังนั้น การแก้ไข เฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม ก็คงจะคล้ายกับการแก้ปัญหา เรื่องประตูหน้าต่าง เครื่องไม้ เครื่องมือ พื้นบ้าน ฝ้าเพดานบ้าน และผนังบ้านปน ๆ กันไป สรุปข้อคิดและแนวทางการแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้
1. พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว
2. เฟอร์นิเจอร์ที่อมน้ำมาก ๆ เช่น โซฟานวมหรือนุ่น ที่นอนหากไม่จำเป็นอย่าเอากลับมาใช้อีกเลย เพราะตอนน้ำท่วม จะพาเชื้อโรค
และสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปอยู่ภายในไม่น้อย แม้ตากแดดแห้งแล้ว เชื้อโรคร้าย ก็อาจยังคงอยู่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในระยะยาวได้
3. เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built In Furniture) ขอให้แก้ปัญหาเหมือนผนังและประตู คือต้อง ตรวจสอบ ความแข็งแรง
ของโครงสร้าง สายไฟที่อาจจะฝังอยู่ในตู้ รูกุญแจและลูกบิด ทำการบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงของเดิม
4. ข้อควรจำก็คือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ ไม่ควรเอาไปตากแดดโดยตรงเพราะจะทำให้แตก เสียหายได้ อีกทั้งยามจะทาสีทับลงไป
ก็ขอให้มั่นใจว่า เขาแห้งแล้วจริงๆ ไม่เช่นนั้นสีจะลอกหมด ความชื้นจะฝังใน
 
 
 

ปัญหา สุดท้าย...
อยากยกบ้านทั้งบ้านให้สูงขึ้น ทำยังไง อย่างไร เท่าไร? หลายๆคนสนใจวิธีนี้ เพื่อรับมือกับน้องน้ำในปีหน้า การยกบ้านให้สูงขึ้น หมายถึงการยกตัวโครงสร้างทั้งหมดของบ้านให้มีระดับหนีน้ำท่วมบ้าน เป็นสิ่งที่น่าสนใจแต่ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง หากบ้านของคุณ ไม่ใช่บ้านไม้ และไม่ใช่บ้านที่มีน้ำหนักเบา เพราะหากเป็น บ้านที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างของบ้านจะยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวหากยกบ้านขึ้น ตัวบ้านเอียงหรือบิดเพียงนิดเดียวบ้านก็จะแตกร้าวเสียหายวิบัติได้ นอกจากนั้นบ้านปูนจะมีน้ำหนักมากทำให้ต้องมีเสาเข็มยาวๆ มารับน้ำหนักบ้านเสาเข็มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มปูนที่มีเหล็กเส้นผูกติดยึด ไว้กับตัวฐานราก เมื่อยกตัวบ้านขึ้น ก็เป็นเพียงการยกแต่ตัวบ้าน ไม่สามารถยกเสาเข็มขึ้นมาด้วยการต่อฐานรากกับเสาเข็มใหม่ จึงเป็นเรื่องยากในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องบ้านทรุดบ้านร้าวได้
นอกจากเรื่องโครงสร้างแล้ว เมื่อยกบ้านปัญหาพวกสายไฟ ท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ ก็จะเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องตามมา ที่จะต้องตัดออกทั้งหมดแล้วต่อใหม่เข้าไปเมื่อยกระดับบ้านเสร็จเรียบร้อย หากท่อเหล่านี้อยู่ใต้พื้นบ้านบริเวณกลางๆบ้าน ย่อมจะตัดออกจากกันตอนจะยกบ้าน ได้ยาก หากตัดไม่หมดแล้วยกขึ้น ก็อาจไปดึงโครงสร้าง ของบ้านส่วนอื่น ๆ เสียหายได้ การต้องการจะยกระดับบ้านทั้งหลังขึ้นมา (บ้านปูน) เป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาผู้รู้จริงและมีประสบการณ์เท่านั้น และส่วนผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็ต้องเป็นผู้รู้จริงด้วย มิเช่นนั้นท่านอาจจะเสียบ้านไปทั้งหลัง ส่วนราคาค่ายกบ้าน ก็แล้วแต่ระดับที่ยกขึ้น แล้วแต่ขนาดของตัวบ้าน แล้วแต่ลักษณะของตัวบ้าน โดยทั่วไป ราคาจะประมาณ 50% ถึง 400% ของราคาตัวบ้าน
ส่วนบ้านไม้นั้น หากใช้เทคนิคไทยเดิมของเรา ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องยากนัก
รูปภาพของ ssspoonsak

อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ sss28288

ว้าว เนื้อหาเยอะมากเลย

มีประโยชน์ดีจัง ^^ 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 470 คน กำลังออนไลน์