• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:536f7357caaac99c8219e924769b98aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><div style=\"margin-top: 0px; margin-right: auto; margin-bottom: 0px; margin-left: auto; background-image: url(\'/sites/all/themes/tgv11/images/Page-BgTexture.jpg\'); background-attachment: scroll; background-position: 0% 0%; background-repeat: repeat repeat; padding: 0px\">\nศรีธนญชัยเป็นนิทานตลกขบขันที่ได้ชื่อมาจากตัวเอกเจ้าปัญญาแบบฉลาดแกมโกง \n<p>นิทาน เรื่องศรีธนญชัยแพร่หลายทั่วไปในดินแดนประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านใน ภูมิภาคอุษาคเนย์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่านิทานเรื่องนี้กำเนิดที่ไหน? หรือแพร่หลายกระจายจากดินแดนแห่งใด? </p>\n<p>เมื่อเอ่ยชื่อ “ศรีธนญชัย” คนไทยทั่วไปจะรู้ทันทีว่าหมายถึงคนมีปฏิภาณเป็นยอด มีไหวพริบเป็นเยี่ยม แต่มากด้วยเล่ห์เหลี่ยมเป็นร้อยเล่มเกวียนจนยากที่ใครจะรู้เท่าทัน ลักษณะดังกล่าวชวนให้นึกถึงพวก “ตลกหลวง” ที่ทำหน้าที่ถวายเรื่องราวและการกระทำที่สนุกสนามให้พระเจ้าแผ่นดินสมัย โบราณทรงมีอารมณ์สดชื่นรื่นรมย์ </p>\n<p>ในกฎมณเฑียรบาลสมัยต้นกรุง ศรีอยุธยา มีชื่อตำแหน่งที่น่าสงสัยว่าจะเป็น “ตลกหลวง” อยู่ด้วย ๒ ชื่อ คือ “นักเทศ” และ “ชันที” บางแห่งเขียนติดกันว่า “นักเทศขันที” แต่หมายถึงเจ้าหนักงาน ๒ คน </p>\n<p>ชื่อ “นักเทศ” ชี้ชัดว่าหมายถึงชาวต่างชาติ คือไม่ใช่พวกสยามและน่าจะมีลักษณะพิเศษอยู่ด้วย คือเป็นพวกกะเทย เรื่องนี้มีร่องรอยหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพวกที่ราชสำนักกรุง ศรีอยุธยาซื้อมาจากอินเดียและเปอร์เซีย ส่วน “ขันที” คงเป็นผู้ชายจีนที่ถูกตอนแล้ว ทั้งพวกนักเทศและขันทีล้วนเป็นผู้ชายชาวต่างชาติ คือ “แขก” กับ “เจ๊ก” ที่ถูกตอนหรือหรือถูกทำให้เป็นกะเทย แล้วถูกซื้อ-ขายเข้ามารับราชการอยู่ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และน่าเชื่อว่าจะอยู่ใกล้ชิดกับฝ่ายใน เพราะได้รับสิทธิพิเศษ </p>\n<p>น่า สงสัยว่าพวกนักเทศขันทีเหล่านี้แหละ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมหมายกำหนดการเข้าเฝ้าและระเบียบการต่าง ๆ ในราชสำนักรวมทั้งถวายเรื่องราวอันรื่นรมย์ต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย </p>\n<p>บาง ทีพวกนักเทศหรือขันทีอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องศรีธนญชัยก็ได้ เพราะนิทานเรื่องนี้มีแพร่หลายทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งน่าจะมีเค้ามาจากต่างประเทศ </p>\n<p>นิทานเรื่องศรีธนญชัยสมัยแรกเป็นคำ บอกเล่าปากต่อปากสืบ ๆ กันต่อมา ไม่รู้ว่าเริ่มจากไหนและแพร่หลายไปอย่างไรบ้าง สมัยแรก ๆ นี้ยังไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีผู้เอานิทานเรื่องศรีธนญชัยไปแต่งเป็นร้อยกรอง หรือเป็นกาพย์ กลอนแบบต่าง ๆ ที่นิยมตามท้องถิ่นนั้นเพื่อขับลำเล่านิทาน หรืออ่านเป็นทำนองให้ชาวบ้านฟัง </p>\n<p>ในประเทศไทย ทางภาคกลางและภาคใต้เรียกชื่อตัวเองว่า ศรีธนญชัย ส่วนภาคเหนือและภาคอีสานไม่เรียกว่าศรีธนญชัย แต่เรียกชื่อตัวเอกว่า เชียงเมี่ยง </p>\n<p>อาจารย์กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) เคยทำวิจัยศึกษาเปรียบเทียบเรื่องศรีธนญชัยฉบับต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ แล้วเสนอข้อสรุปไว้ว่า  </p>\n<p>“อย่างไรก็ตาม แม้นิทานเรื่องนี้จะมีปรากฏอยู่โดยทั่วไปหลายสำนวน แต่ก็มีลักษณะที่ร่วมกันหลายประการ โดยเฉพาะในด้านโครงเรื่อง พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน คือเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของชาวคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ปฏิภาณเอาตัวรอดหรือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไปได้โดยลำดับ นับตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็กจนสิ้นอายุขัย นอกจากนั้นยังพบว่าในด้านแนวความคิดของผู้แต่งนั้นก็มีลักษณะที่คล้ายคลึง กันคือ เน้นในด้านความมีปฏิภาณไหวพริบต้องการแสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล และค่านิยมของสังคม ตลอดจนความคิดเรื่องการ “เสียหน้า” เหล่านี้เป็นสาระที่น่าสนใจและซ่อนไว้ในเนื้อหาที่แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขันทั้ง สิ้น โดยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า นิทานศรีธนญชัยมิได้มีคุณค่าในด้านให้ความบันเทิงอย่างเดียวดังที่เคยเข้าใจ กันมาแต่ก่อน แต่ยังมีคุณค่าในด้านแนวความคิดต่าง ๆ อีกด้วย </p>\n<p>ส่วน ลักษณะที่แตกต่างกันนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันเป็นส่วนน้อย เช่น การเรียงลำดับเหตุการณ์และในรายละเอียดของเนื้อหา เช่น การเรียงลำดับเหตุการณ์และในรายละเอียดของเนื้อหา ลักษณะการเล่าเรื่องของนิทานนี้มี ๒ แบบ คือ ตัวเอกอยู่กับพ่อแม่ มีชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้จนกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ทำให้ดูเสมือนเป็นคนโหดร้าย เจ้าคิด เจ้าแค้น อาฆาต พยาบาท มีบุคลิกเชิงก้าวร้าว และใช้ปฏิภาณเชิงลบ (ทำลาย) อีกแบบหนึ่งคือ ตัวเองได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดินชุบเลี้ยงให้เป็นราชบุตรบุญธรรม ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด พฤติกรรมต่าง ๆ จึงไม่รุนแรงเหมือนแบบแรก ลักษณะพฤติกรรมของตัวเอกในแนวนี้จึงเป็นเรื่องของการใช้ปฏิภาณและนิสัยที่ ติดตัวมาแต่กำเนิด </p>\n<p>อนึ่ง เรื่องศรีธนญชัยที่มีปรากฏในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่ามีปรากฏในประเทศกัมพูชา เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากการศึกษาพบว่าเรื่องธนัญชัยของกัมพูชาและเวียดนามคล้ายเรื่องศรีธนญชัย สำนวนของภาคกลาง ส่วนเรื่องเชียงเมี่ยงของลาวนั้นเหมือนเรื่องเชียงเมี่ยงของไทยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ส่วนประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ พบว่ามีเนื้อหาคล้ายศรีธนญชัยของไทยบางตอนเท่านั้น กล่าวคือ เรื่องอาบูนาวัส (Abu Nawas) ของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเชีย และสิงคโปร์นั้น จะมีเรื่องราวเพียงตอนเดียวเท่านั้นที่เหมือนของไทย ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้นพบว่ามีเนื้อหาคล้ายของไทยอยู่ ๒ ตอน </p>\n<p>จาก การศึกษาเปรียบเทียบนิทานศรีธนญชัยฉบับต่าง ๆ ในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้นั้นพบว่ามีไม่มากตอนนักและไม่มีความซับซ้อนมาก เท่าเรื่องศรีธนญชัยที่มีปรากฏอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ลักษณะของตัวละครที่มีปรากฏในประเทศดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะที่สามารถพบเห็น ได้ทั่วไป เพราะเป็นลักษณะประจำของนิทานที่มีตัวเอกเจ้าปัญญาหรือฉลาดแกมโกง (Trickster tale) ซึ่งต้องแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อค่านิยม ของสังคมระดับต่าง ๆ</p>\n<p>แม้นิทานเรื่องนี้จะมีปรากฏเล่าสู่กันฟังหลาย สำนวนก็ตามด้านโครงเรื่อง แนวความคิด และตัวละครจะมีลักษณะที่คล้ายกันมาก ทั้งนี้คงเพราะนิทานเรื่องนี้มีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน ส่วนความแตกต่างในชื่อตัวละคร การเรียงลำดับเหตุการณ์ และรายละเอียดปลีกย่อยในเนื้อหาในแต่ละสำนวนนั้นมีปรากฏบ้างก็คงเนื่องมาจาก ความแตกต่างกันในด้านสภาพสังคม วัฒนธรรม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนค่านิยมของแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง&quot;</p>\n<p>นิทาน เรื่องศรีธนญชัยจงใจกำหนดบุคลิกของกษัตริย์ให้เป็นตัวตลก ต้องยอมจำนนต่อสติปัญญาเล่ห์เหลี่ยมของศรีธนญชัยเสมอ ลักษณะอย่างนี้มีอยู่ในนิทานพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยหลายเรื่อง ต่อมาก็นำไปแต่งเป็นบทละครนอก เช่น ท้าวสามลในเรื่องสังข์ทอง เป็นต้น เหตุที่ประเพณีพื้นบ้านพื้นเมืองกำหนดให้บุคลิกของกษัตริย์ในนิทานและในตัว ละครเป็นตัวตลกอย่างนั้น ดูเหมือนจะเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางสังคมและวัฒนธรรมเพราะตามปกติคน ทั่วไปไม่มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินและไม่มีสิทธิล่วงเกินพระเจ้า แผ่นดินได้ ต่อมาเมื่อเล่านิทานหรือดูละครเท่านั้น สามัญชนจึงจะมีโอกาสละเมิดกฎเกณฑ์อันศักดิ์สิทธิ์ได้ </p>\n<p>คัดลอกมาบาง ส่วนจาก บทความเรื่อง “ศรีปราชญ์อยู่ที่ไหน ศรีธนญชัยอยู่ที่นั้น” ของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑    <span style=\"color: #e0e0e0\">        </span>\n</p></div>\n', created = 1718603641, expire = 1718690041, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:536f7357caaac99c8219e924769b98aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

เรื่องราวเกี่ยวกับศรีธนญชัย

ศรีธนญชัยเป็นนิทานตลกขบขันที่ได้ชื่อมาจากตัวเอกเจ้าปัญญาแบบฉลาดแกมโกง 

นิทาน เรื่องศรีธนญชัยแพร่หลายทั่วไปในดินแดนประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านใน ภูมิภาคอุษาคเนย์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่านิทานเรื่องนี้กำเนิดที่ไหน? หรือแพร่หลายกระจายจากดินแดนแห่งใด? 

เมื่อเอ่ยชื่อ “ศรีธนญชัย” คนไทยทั่วไปจะรู้ทันทีว่าหมายถึงคนมีปฏิภาณเป็นยอด มีไหวพริบเป็นเยี่ยม แต่มากด้วยเล่ห์เหลี่ยมเป็นร้อยเล่มเกวียนจนยากที่ใครจะรู้เท่าทัน ลักษณะดังกล่าวชวนให้นึกถึงพวก “ตลกหลวง” ที่ทำหน้าที่ถวายเรื่องราวและการกระทำที่สนุกสนามให้พระเจ้าแผ่นดินสมัย โบราณทรงมีอารมณ์สดชื่นรื่นรมย์ 

ในกฎมณเฑียรบาลสมัยต้นกรุง ศรีอยุธยา มีชื่อตำแหน่งที่น่าสงสัยว่าจะเป็น “ตลกหลวง” อยู่ด้วย ๒ ชื่อ คือ “นักเทศ” และ “ชันที” บางแห่งเขียนติดกันว่า “นักเทศขันที” แต่หมายถึงเจ้าหนักงาน ๒ คน 

ชื่อ “นักเทศ” ชี้ชัดว่าหมายถึงชาวต่างชาติ คือไม่ใช่พวกสยามและน่าจะมีลักษณะพิเศษอยู่ด้วย คือเป็นพวกกะเทย เรื่องนี้มีร่องรอยหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพวกที่ราชสำนักกรุง ศรีอยุธยาซื้อมาจากอินเดียและเปอร์เซีย ส่วน “ขันที” คงเป็นผู้ชายจีนที่ถูกตอนแล้ว ทั้งพวกนักเทศและขันทีล้วนเป็นผู้ชายชาวต่างชาติ คือ “แขก” กับ “เจ๊ก” ที่ถูกตอนหรือหรือถูกทำให้เป็นกะเทย แล้วถูกซื้อ-ขายเข้ามารับราชการอยู่ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และน่าเชื่อว่าจะอยู่ใกล้ชิดกับฝ่ายใน เพราะได้รับสิทธิพิเศษ 

น่า สงสัยว่าพวกนักเทศขันทีเหล่านี้แหละ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมหมายกำหนดการเข้าเฝ้าและระเบียบการต่าง ๆ ในราชสำนักรวมทั้งถวายเรื่องราวอันรื่นรมย์ต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย 

บาง ทีพวกนักเทศหรือขันทีอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องศรีธนญชัยก็ได้ เพราะนิทานเรื่องนี้มีแพร่หลายทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งน่าจะมีเค้ามาจากต่างประเทศ 

นิทานเรื่องศรีธนญชัยสมัยแรกเป็นคำ บอกเล่าปากต่อปากสืบ ๆ กันต่อมา ไม่รู้ว่าเริ่มจากไหนและแพร่หลายไปอย่างไรบ้าง สมัยแรก ๆ นี้ยังไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีผู้เอานิทานเรื่องศรีธนญชัยไปแต่งเป็นร้อยกรอง หรือเป็นกาพย์ กลอนแบบต่าง ๆ ที่นิยมตามท้องถิ่นนั้นเพื่อขับลำเล่านิทาน หรืออ่านเป็นทำนองให้ชาวบ้านฟัง 

ในประเทศไทย ทางภาคกลางและภาคใต้เรียกชื่อตัวเองว่า ศรีธนญชัย ส่วนภาคเหนือและภาคอีสานไม่เรียกว่าศรีธนญชัย แต่เรียกชื่อตัวเอกว่า เชียงเมี่ยง 

อาจารย์กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) เคยทำวิจัยศึกษาเปรียบเทียบเรื่องศรีธนญชัยฉบับต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ แล้วเสนอข้อสรุปไว้ว่า  

“อย่างไรก็ตาม แม้นิทานเรื่องนี้จะมีปรากฏอยู่โดยทั่วไปหลายสำนวน แต่ก็มีลักษณะที่ร่วมกันหลายประการ โดยเฉพาะในด้านโครงเรื่อง พบว่ามีลักษณะที่เหมือนกัน คือเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของชาวคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ปฏิภาณเอาตัวรอดหรือ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไปได้โดยลำดับ นับตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็กจนสิ้นอายุขัย นอกจากนั้นยังพบว่าในด้านแนวความคิดของผู้แต่งนั้นก็มีลักษณะที่คล้ายคลึง กันคือ เน้นในด้านความมีปฏิภาณไหวพริบต้องการแสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล และค่านิยมของสังคม ตลอดจนความคิดเรื่องการ “เสียหน้า” เหล่านี้เป็นสาระที่น่าสนใจและซ่อนไว้ในเนื้อหาที่แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขันทั้ง สิ้น โดยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า นิทานศรีธนญชัยมิได้มีคุณค่าในด้านให้ความบันเทิงอย่างเดียวดังที่เคยเข้าใจ กันมาแต่ก่อน แต่ยังมีคุณค่าในด้านแนวความคิดต่าง ๆ อีกด้วย 

ส่วน ลักษณะที่แตกต่างกันนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันเป็นส่วนน้อย เช่น การเรียงลำดับเหตุการณ์และในรายละเอียดของเนื้อหา เช่น การเรียงลำดับเหตุการณ์และในรายละเอียดของเนื้อหา ลักษณะการเล่าเรื่องของนิทานนี้มี ๒ แบบ คือ ตัวเอกอยู่กับพ่อแม่ มีชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้จนกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ทำให้ดูเสมือนเป็นคนโหดร้าย เจ้าคิด เจ้าแค้น อาฆาต พยาบาท มีบุคลิกเชิงก้าวร้าว และใช้ปฏิภาณเชิงลบ (ทำลาย) อีกแบบหนึ่งคือ ตัวเองได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าแผ่นดินชุบเลี้ยงให้เป็นราชบุตรบุญธรรม ไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด พฤติกรรมต่าง ๆ จึงไม่รุนแรงเหมือนแบบแรก ลักษณะพฤติกรรมของตัวเอกในแนวนี้จึงเป็นเรื่องของการใช้ปฏิภาณและนิสัยที่ ติดตัวมาแต่กำเนิด 

อนึ่ง เรื่องศรีธนญชัยที่มีปรากฏในแถบประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่ามีปรากฏในประเทศกัมพูชา เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ จากการศึกษาพบว่าเรื่องธนัญชัยของกัมพูชาและเวียดนามคล้ายเรื่องศรีธนญชัย สำนวนของภาคกลาง ส่วนเรื่องเชียงเมี่ยงของลาวนั้นเหมือนเรื่องเชียงเมี่ยงของไทยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ส่วนประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ พบว่ามีเนื้อหาคล้ายศรีธนญชัยของไทยบางตอนเท่านั้น กล่าวคือ เรื่องอาบูนาวัส (Abu Nawas) ของประเทศอินโดนีเซีย มาเลเชีย และสิงคโปร์นั้น จะมีเรื่องราวเพียงตอนเดียวเท่านั้นที่เหมือนของไทย ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้นพบว่ามีเนื้อหาคล้ายของไทยอยู่ ๒ ตอน 

จาก การศึกษาเปรียบเทียบนิทานศรีธนญชัยฉบับต่าง ๆ ในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้นั้นพบว่ามีไม่มากตอนนักและไม่มีความซับซ้อนมาก เท่าเรื่องศรีธนญชัยที่มีปรากฏอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ลักษณะของตัวละครที่มีปรากฏในประเทศดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะที่สามารถพบเห็น ได้ทั่วไป เพราะเป็นลักษณะประจำของนิทานที่มีตัวเอกเจ้าปัญญาหรือฉลาดแกมโกง (Trickster tale) ซึ่งต้องแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อค่านิยม ของสังคมระดับต่าง ๆ

แม้นิทานเรื่องนี้จะมีปรากฏเล่าสู่กันฟังหลาย สำนวนก็ตามด้านโครงเรื่อง แนวความคิด และตัวละครจะมีลักษณะที่คล้ายกันมาก ทั้งนี้คงเพราะนิทานเรื่องนี้มีจุดกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน ส่วนความแตกต่างในชื่อตัวละคร การเรียงลำดับเหตุการณ์ และรายละเอียดปลีกย่อยในเนื้อหาในแต่ละสำนวนนั้นมีปรากฏบ้างก็คงเนื่องมาจาก ความแตกต่างกันในด้านสภาพสังคม วัฒนธรรม ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนค่านิยมของแต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นนั่นเอง"

นิทาน เรื่องศรีธนญชัยจงใจกำหนดบุคลิกของกษัตริย์ให้เป็นตัวตลก ต้องยอมจำนนต่อสติปัญญาเล่ห์เหลี่ยมของศรีธนญชัยเสมอ ลักษณะอย่างนี้มีอยู่ในนิทานพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยหลายเรื่อง ต่อมาก็นำไปแต่งเป็นบทละครนอก เช่น ท้าวสามลในเรื่องสังข์ทอง เป็นต้น เหตุที่ประเพณีพื้นบ้านพื้นเมืองกำหนดให้บุคลิกของกษัตริย์ในนิทานและในตัว ละครเป็นตัวตลกอย่างนั้น ดูเหมือนจะเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางสังคมและวัฒนธรรมเพราะตามปกติคน ทั่วไปไม่มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินและไม่มีสิทธิล่วงเกินพระเจ้า แผ่นดินได้ ต่อมาเมื่อเล่านิทานหรือดูละครเท่านั้น สามัญชนจึงจะมีโอกาสละเมิดกฎเกณฑ์อันศักดิ์สิทธิ์ได้ 

คัดลอกมาบาง ส่วนจาก บทความเรื่อง “ศรีปราชญ์อยู่ที่ไหน ศรีธนญชัยอยู่ที่นั้น” ของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑            

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 784 คน กำลังออนไลน์