น้ำจะมา....ว่าแย่แล้ว แต่!! น้ำจะไป...ทำไมยิ่งแย่กว่า??!!

รูปภาพของ sss28288
 
จากสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศยาวนานมาหลายเดือน หลังจากที่ต้องเครียดมานานแล้วว่าน้องน้ำะจะมาเมื่อไหร่?
จะอยู่นานแค่ไหน? แล้วเราจะอยู่กับน้ำยังไง?.......???
แต่ตอนนี้น้ำเริ่มลดลงบ้างแล้วสิ่งที่ต้องมาคิดต่อไปสำหรับผู้ประสบภัย คือ........”จะทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านอย่างไร???!!”
แต่ในขั้นตอนนี้อยากแนะนำให้แบ่งออกเป็นอย่างคือ การทำความสะอาดและการซ่อมแซม
เพราะในส่วนของการทำความสะอาดนั้นควรจะเริ่มทำตั้งแต่น้ำเริ่มลดเลย เพราะไม่เช่นนั้นจะทำความสะอาดคราบต่างๆออกยาก แต่สำหรับการซ่อมแซมบ้านนั้นควรทำหลังจากน้ำแห้งสนิทแล้วจะดีกว่า
แต่ก่อนที่จะซ่อมแซมนั้นควรจะมีการตรวจเช็คก่อน เพราะเป็นโชคดีของหลายคนที่อพยพทันทำให้สามารถขนข้าวของต่างไปไว้ในที่ปลอดภัยได้ แต่หลายๆคนที่อพยพย้ายของไม่ทันทำให้ต้องออกจากบ้านตัวเปล่า อาจไม่ทันได้ตัดวงจรไฟฟ้าหรือเก็บของที่อาจมีอันตรายต่อตัวเองไว้ในที่ที่ควรได้ 
  ระบบไฟฟ้า
สิ่งแรกที่ควรตวจสออย่างระมัดระวังที่สุดคือ ระบบไฟฟ้า เพราะเป็นระบบที่มีอันตรายถึงชีวิตได้
แต่ต้องย้ำเตือนว่าควรทำหลังน้ำลดแล้ว เพราะถ้าหากเราเดินย่ำน้ำโดยที่ไม่รู้ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือเปล่า อาจจะทำให้เราบาดเจ็บสาหัสหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขั้นตอนการตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำแห้งแล้ว ตามคำแนะนำของ คุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถาปนิกอาวุโส และอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ มีดังนี้
1.ค้นหาจุดที่ยังเปียกน้ำ – ด้วยการเปิดคัทเอ้าท์ให้กระแสไฟฟ้าเข้ามาในระบบ ถ้าปลั๊กหรือจุดหนึ่งจุดใดที่เชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้ายังเปียกน้ำคัทเอ้าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาดทันที เมื่อคุณทราบว่าจุดใดเป็นปัญหาก็จัดการทำให้แห้งแล้วทิ้งไว้ประมาณหนึ่งวัน เปลี่ยนฟิวส์แล้วลองทำใหม่ ท้ายที่สุดแล้วยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็ให้เรียกช่างไฟมาซ่อมแซมให้จะปลอดภัยกว่าที่คุณจะเสี่ยงชีวิตเล่นกับไฟซะเอง
2.ตรวจสอบสภาพการใช้งานของปลั๊ก หรือสวิทช์ไฟ – ขั้นตอนถัดมาหลังจากตรวจสอบหาจุดเปียกน้ำผ่านไปแล้วให้ลองเปิดใช้งานไฟฟ้าที่ละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กด้วยไขควงทดสอบไฟ หากแต่ละจุดทำงานได้ปกติก็สบายใจได้ แต่ถ้ามีปัญหาต้องทำให้แต่ละจุดแห้งก่อน
3.ทดสอบเพื่อหาจุดที่ไฟฟ้ารั่ว – ระบบไฟฟ้าในบ้านแต่ละหลังจะมีความซับซ้อนต่างกันตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยและมีหลายจุดที่อาจจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยที่เรายังตรวจหาไม่พบ วิธีการง่ายๆ คือให้คุณหยุดใช้ไฟฟ้าทุกจุดโดยไม่ปิดคัทเอ้าท์แล้วเช็คดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าหมุนอยู่หรือไม่ หากมิเตอร์ไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้าไม่เป็นอย่างที่กล่าวมาก็เรียกช่างไฟมาดำเนินการให้ได้เลย
4.ปรับเปลี่ยนระบบเตรียมรับมือครั้งต่อไป – ไม่ได้อยากให้บ้านเราต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำๆ แต่เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปปัญหาอุทกภัยอาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กว่าน้ำท่วมปี 54 นี้ก็เป็นได้ ดังนั้น ถ้าบ้านไหนพอมีงบประมาณอยู่เพื่อเรื้อระบบไฟฟ้าเดิมออกทั้งหมดแล้วแยกส่วนระหว่าง ระบบไฟฟ้าชั้นบน ระบบไฟฟ้าชั้นล่าง ระบบเครื่องปรับอากาศให้เป็นอิสระจากกันก็จะเป็นแนวทางให้คุณปลอดภัยจากไฟฟ้าดูดในยามน้ำท่วม และบริหารจัดการง่ายอีกด้วย
  ระบบน้ำประปา 
ต่อมาเป็นระบบน้ำประปา ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะถึงน้ำจะท่วม แต่ชีวิตมนุษย์ก็ยังต้องใช้น้ำในชีวิตประจำวันอยู่ดี
1.อย่าใช้น้ำในบ่อเก็บน้ำใต้ดินทันที – บ่อเก็บน้ำใต้ดินนั้นจะถูกเจือปนด้วยน้ำสกปรกภายนอกอย่างแน่นอนซึ่งควรผ่านการล้างทำความสะอาดโดยระบายน้ำเดิมทิ้งให้หมดแบบไม่ต้องไปเสียดายน้ำ แล้วจึงปล่อยน้ำใหม่ลงเก็บไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่ง (ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดซ้ำ แนะนำเพิ่มเติมเพราะคลอรีนในน้ำประปาอาจจะเจือจางไปเกือบหมดแล้วกว่าน้ำจะมาถึงบ้าน)
2.ตรวจเช็คระบบปั๊มน้ำ – ในระหว่างน้ำท่วมขังอาจจะมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสร้างปัญหาให้กับปั๊มแรงดันน้ำของคุณและส่งผลให้ถังอัดความดันทำงานผิดปกติ ตรวจสอบการทำงานโดยการฟังเสียงในขณะที่เครื่องทำงานและดูแรงดันน้ำในท่อว่าแรงเหมือนเดินหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็หาเครื่องมือพื้นฐานมาแกะ แงะ ไข เพื่อเช็คสภาพภายในอุปกรณ์ได้
3.ลดความเสี่ยงการเกิดเพลิงไหม้ – ปั๊มน้ำที่จมน้ำหากไม่ใช่เป็นประเภทไดโว่ก็แน่ใจได้เลยว่าน้ำเข้ามอเตอร์แน่นอนซึ่งหากภายในยังมีความชื้นสะสมก็เสี่ยงที่จะเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ ทางที่ดียกไปให้ช่างซ่อมแซมให้ดีกว่าค่ะ
   เครื่องใช้ไฟฟ้า
 
ขึ้นชื่อว่าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นแสดงว่ามันไม่ค่อยจะถูกกับน้ำ เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ และอาจรวมไปถึงรถยนต์ซึ่งเป็นเครื่องจักกลที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าทำงานเช่นกัน เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้จมน้ำก็แน่ใจได้เลยว่าเสียหายแน่นอนและไม่ควรนำมาใช้โดยทันทีหลังน้ำลดเพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่ามันเสียหายแค่ไหน ซึ่งหากคุณนำมาใช้ก็เสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรได้ แต่ถ้าหากจะใช้งานทันทีจริงๆ ก็มีข้อเสนอแนะดังนี้
1.อย่าละสายตาในระหว่างที่ใช้งาน – เพราะถ้าเกิดเวลาฉุกเฉินจะได้รีบปิดเครื่อง ถอดปลั๊กได้ทันก่อนที่มันจะสร้างปัญหา
2.คัทเอ้าท์ทำงานถูกต้อง – ถ้ากรณีเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรกระแสไฟฟ้าต้องถูกตัดทันที ดังนั้นคุณต้องตรวจเช็คให้แน่ใจใช้ฟิวส์คุณภาพและทำงานได้ถูกต้อง
3.ซ่อมแซมทันทีเมื่อไม่ใช้งาน – อย่าพึ่งคิดว่าไม่ซ่อมตั้งแต่แรก ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเครื่องจะเกิดช๊อตขึ้นมาเมื่อไหร่
แต่ที่แนะนำจริงๆก็คือให้นำไปซ่อมก่อนในทันที แต่ก่อนจะซ่อมนั้นควรจะคำนวณให้ดีเสียก่อน เพราะถ้าค่าซ่อมนั้นไม่คุ้มกัน หรือเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานมานานแล้ว แนะนำให้ซื้อเครื่องใหม่เลยดีกว่าค่ะ และเมื่อได้มาแล้วแนะนำให้หาที่วางดีๆป้องกันสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นไม่ทันตั้งตัวอย่างครั้งนี้ค่ะ
   พื้นบ้าน
ส่วนการซ่อมแซมพื้นบ้านนั้นถ้าหากเป็นพื้นปูน(ที่ไม่มีการแตกหัก)หรือพื้นกระเบื้องที่อาจมีการหลุดล่อนบ้างคงไม่น่าเป็นปัญหาเท่ากับพื้นไม้ปาเก้และพื้นพรม เพราะแผ่นไม้ปาเก้หรือไม่แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้น และถ้าจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานานแผ่นไม้จะบวมน้ำกาวที่ติดไว้จะหลุดล่อน และกลิ่นที่เกิดขึ้นก็เป็นเพราะเชื้อราที่เกิดจากความชื้น มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้
- ระบายความชื้นในเนื้อไม้ – ปาเก้ที่เปียกน้ำเล็กน้อยและยังไม่หลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำความสะอาดแล้วระบายความชื้นแบบธรรมชาติด้วยการเปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไปและพื้นปาเก้จะแห้งไปเอง ข้อควรระวังคือถ้าปาเก้ยังมีความชื้นสะสมอย่าเอาสารเคลือบผิวหน้าไม้ไปทาทับเพราะสารเหล่านี้จะไปบล็อกความชื้นภายในเนื้อไม้ไม่ให้ระเหยออกมา
- ปาเก้เสียหายมาก – กรณีแผ่นปาเก้จมน้ำนานๆ จะเกิดการบิดตัว โก่งงอ สีเพี้ยน และหลุดล่อนซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะนำมาผึ่งลมให้แห้งแล้วนำกลับมาใช้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เลาะออกทั้งหมดไม่ต้องเสียดายเพราะค่าซ่อมแซมต่อตารางเมตรอาจสูงกว่าซื้อเปลี่ยนใหม่
- คำนึงถึงน้ำหนักเมื่อซ่อมแซมพื้นใหม่ – การซ่อมแซมพื้นบ้านใหม่โดยใช้วัสดุชนิดคงทนถาวรทนน้ำได้มาใช้ เช่น กระเบื้อง หินอ่อนหรือหินแกรนิต คำนึงถึงน้ำหนักโดยรวมที่โครงสร้างบ้านจะต้องแบกรับจึงแนะนำให้ปรึกษากับวิศวกรโครงสร้างก่อนลงมือเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย
- ซ่อมแซมเมื่อพื้นคอนกรีตแห้งสนิท – เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนพื้นปาเก้ใหม่หรือจะใช้วัสดุอื่นซึ่งใช้กาวเป็นตัวประสานแนะนำว่าอย่าปูทับพื้นคอนกรีตที่ยังมีความชื้นสะสมอยู่เพราะกาวจะติดไม่สนิทซึ่งหมายความว่าคุณอาจจะต้องลอกพื้นแล้วปูใหม่อีกครั้ง
  • ส่วนพื้นพรมนั้นต้องลอกออก โดยให้ใช้สายยางฉีดน้ำแรงๆเผื่อไล่สิ่งติดค้าง สิ่งสกปรกออกไป รีดน้ำที่ขังอยู่ในพรหมออกไป โดยใช้อุปกรณ์ที่กดรีดได้ หรือม้วนบีบ(อย่าบีบแรงเกิดไป เดี๋ยวเนื้อพรมจะรวน) แล้วใช้แชมพู(ควรเป็นชมพูเด็กอ่อนๆ)ทำความสะอาดแล้วล้างออกให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งแล้วจึงนำกลับมาปูใหม่ โดยพื้นคอนกรีตต้องแห้งก่อนเช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากมีราเกิดขึ้นนั้นแนะนำให้ลอกทิ้งเลยดีกว่า เพราะราที่ขึ้นอาจมีบางชนิดที่เมื่อสูดดมแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ 
   ผนังบ้าน
ผนังบ้านเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มองเห็นความเสียหายได้ง่าย การที่ผนังบ้านจมน้ำเป็นเวลานานนั้นจะมีความชื้นสะสมภายในซึ่งอาจจะไม่แสดงผลเสียหายชัดเจนในระยะเวลาสั้นหลังน้ำลด ดังนั้นการทำความเข้าใจว่าผนังแต่ละชนิดจะเสียหายอย่างไรก็จะช่วยให้คุณซ่อมแซมได้อย่างถูกวิธี
1.ผนังไม้ – ด้วยคุณสมบัติของเนื้อไม้มักจะไม่ผุกร่อนเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักจะผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลงตลอดเวลา เมื่อน้ำลดลงให้เช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกและปล่อยให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกมา เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดีแล้วจึงค่อยทาด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้และเพื่อความสวยงามในการอยู่อาศัยแนะนำว่าให้เริ่มทาจากภายในก่อนก็ได้ แล้วรอสัก 4-6 เดือนจึงค่อยทาผนังภายนอก
2.ผนังก่ออิฐฉาบปูน - เนื่องจากตัวประสานความแข็งแรงของผนังปูนมีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดีกว่าผนังไม้ การดำเนินการก็ทำเช่นเดียวกับผนังไม้แต่ให้ทิ้งระยะเวลานานกว่า สำหรับผนังปูนมักจะมีการฝังท่อน้ำ ท่อไฟฟ้า หรือใช้เป็นพื้นที่เดินสายไฟฟ้าภายในบ้านและถ้าจะให้ทำงานครั้งเดียวเสร็จไปเลยก็อาจจะรวมเอางานก่อนหน้ามาทำร่วมกันเลยก็ได้
3.ผนังยิบซั่มบอร์ด – ด้วยส่วนประกอบที่เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มขึ้นรูปแล้วหุ้มด้วยกระดาษอย่างดีแต่คงไม่สามารถต้านทานความชื้นของน้ำได้และคงหนีไม่พ้นที่จะเลาะเอาแผ่นที่เสียหายออกมาจากโครงเคร่าแล้วค่อยหาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็ใช้งานได้เหมือนเดิม สิ่งที่พึงระวังอีกเล็กน้อยคือความชื้นจากโครงเคร่าที่ทำจากไม้เท่านั้นที่ต้องรอให้แห้งสนิทก่อนจึงติดผนังแผ่นใหม่ลงไป
4.ผนังโลหะ/กระจก – มีสิ่งที่ต้องคำนึงเพียงเล็กน้อยเพราะตัวเนื้อของวัสดุเหล่านี้คงไม่มีความเสียหายเว้นเสียแต่บานกระจกอาจจะเกิดรอยร้าวจากแรงดันของน้ำซึ่งแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทันที และทำความสะอาดรอยต่อของผนังเพื่อยืดอายุวัสดุยาแนวไม่ให้เสื่อมสภาพเร็วเกินกำหนด
  สีทาบ้าน
การซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายในมักถูกจัดให้เป็นงานสุดท้ายในการซ่อมแซมบ้านหลังผ่านวิกฤตน้ำท่วม เพราะต้องรอเวลาให้ผนังแห้งสนิทก่อนลงสีใดๆ แม้จะเป็นสีประเภท “สีทนได้” ก็ไม่ควรวางใจมิฉะนั้นสีที่คุณทาทับไปจะเกิดการหลุดล่อนในที่สุด เมื่อแห้งแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อรา แล้วจึงทาทับด้วยสีจริงอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง
1.ก่อนซ่อมสี – หากไม่อยากให้ปัญหาสีลอกล่อนสร้างความรำคาญใจกับคุณก็อดทนปล่อยให้พื้นผิวแห้งสนิทก่อน
2.ระหว่างซ่อมสี – การทำความสะอาดพื้นผิว ขูดลอกสีเดิมที่ล่อนออกให้หมดแล้วตากพื้นผิวไว้นานๆ ก่อนลงสีใหม่หรือรอให้ถึงฤดูร้อนปีหน้าค่อยลงมือทาสีก็ไม่สายค่ะ
 
รูปภาพของ sss28268

เนื้อหา ละเอียดมาก 

รูปภาพของ sss28222

ได้ความรู้มากมายเลย  เย้เย้ ^^

รูปภาพของ sss28236

ตกแต่งได้สวยดีคะ :)

รูปภาพของ sss28302

เนื้อหาละเอียด ตกแต่งบล็อกสวยดีจ้า :))

รูปภาพของ sss28210

จัดตกแต่งดี เนื้อหาก็ดีด้วยยย

รูปภาพของ ssspoonsak

อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ sss28265

เนื้อหาครอบคลุมเยอะดีจังเลย :)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 484 คน กำลังออนไลน์