จิตอสา:มหาอุทกภัย 2554

รูปภาพของ sss28204

 


  ที่มาของรูปภาพ : ศิรินทิพย์  ธงถาวรสุวรรณ

 

        จิตอาสา มหาอุทกภัยไทย ปี 2554 

       จากเหตุการณ์น้ำท่วมหรือมหาอุทกภัยได้ทำให้น้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศไทย  เช่น อยุธยา นครสวรรค์ฯ เขตปริมณฑลรวมถึงกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของเราก็ได้รับผลกระทบเช่นกันซึ่งในบางที่น้ำท่วมสูง4-5เมตรก็มีซึ่งมหาอุทกภัยครั้งนี้สร้างความเสียหายและความเดือดร้อนอย่างมากโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

      ฉันก็เป็นคนกรุงเทพที่ไม่ได้ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ฉันก็ติดตามข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมตลอดเวลาซึ่งทางโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ได้มีโครงการจิตอาสาปั้น EM Ball และทำน้ำEM ที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เพื่อบำบัดน้ำเสียและนำไปแจกจ่ายในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมฉันจึงได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับทางโรงเรียน

 

                  

           

                                 

  ที่มาของรูปภาพ  www.facebook.com/st.suriyothai

 

             EM ย่อมาจากคำว่า (Effective Microorganisms) ซึ่งมีความหมายว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว             สีน้ำตาลเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต               ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

 

             

   ที่มาของรูปภาพ  http://blog.th.88db.com/?p=15558

 

       จุลินทรีย์ใน EM คืออะไร

คำว่า จุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย บางคนอาจเข้าใจว่าเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตรายอย่างไรก็ตามจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิต EM  ซึ่งผลิตจากจุลินทรีย์ธรรมชาติไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ และไม่ใช่การตัดต่อยีนส์ (GMOs)ซึ่งเป็นโทษต่อมนุษย์ สัตว์และพืช EM ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยซึ่งใช้กันมาก่อนในสมัยโบราณจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จุลินทรีย์ใน EM มี 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

     1. จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกติก

เป็นจุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในพวกแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นกรดแลคติกได้โดยผ่านกระบวนการหมักซึ่งกรดแลกติกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคบางชนิดและจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้ เนื่องจากมี pH ที่ต่ำเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีการนำเอาจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไปใช้ในการหมักอาหารหลายชนิด เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต และสามารถเก็บไว้ได้นาน ตั้งแต่หลุยส์ปาสเตอร์ ได้ค้นพบจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในปี พ.ศ.2400ทำให้รู้ถึงประโยชน์ของมันที่เกี่ยวกับสุขภาพและการมีอายุยืนยาว เมื่อเร็ว ๆ นี้มีงานวิจัยที่พบว่านอกจากมันจะอยู่ที่ลำไส้เล็กของคนแล้วมันยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิต้าน ทานมีคุณสมบัติในการต่อต้านการสูญเสียโปรตีนในเลือด ต่อต้านการกลายพันธ์โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ และการมีความดันโลหิตต่ำ

   2. ยีสต์

เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวตั้งต้นในการหมักยีสต์เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเบียร์หรือแอลกอฮอล์ และใช้ในการทำขนมปังยีสต์ค้นพบโดยพ่อค้าชาวดัทช์ ชื่อ แอนโทนี แวน ลีเวนฮุค (ในปี พ.ศ.2175-2266) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นคนแรกในโลกเรื่องจุลินทรีย์ยีสต์ถูกจำแนกเป็นสัตว์เซลเดียว ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราเพราะมันจะอยู่เป็นเซลเดียวไปตลอดชีวิตในโลกของจุลินทรีย์จะมีกลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ยีสต์จะมีอยู่มากในสิ่งแวดล้อมที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ตามผิวของผลไม้ ใน EM ยีสต์ผลิตจะสารชีวพันธ์ต่าง ๆหรือสารที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน และแป้ง

  3. จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย(เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง)เป็นแบคทีเรียโบราณที่เกิดมาก่อนการเกิดดาวเคราะห์โลกที่มีออกซิเจนหนาแน่นอย่างเช่นในปัจจุบัน จากชื่อของมันบ่งบอกให้รู้ว่ามันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ตามนาข้าว ทะเลสาบและทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ในทางปฏิบัติจะพบจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพนี้ตามทุ่งนาเพราะมันย่อยสลายอินทรียวัตถุได้ดี ทั้งในการบำบัดน้ำเสียมีงานวิจัยที่รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของจุลินทรีย์นี้ ส่วนที่ใช้ในการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปภายใต้สภาพที่มีการผลิตไฮโดรเจนมันสามารถย่อยสลายสารต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

      จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงร่วมอยู่ในระบบย่อยต่างๆ และเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรไนโตรเจนและวัฏจักรคาร์บอนเนื่องจากเป็นจุลินทรีย์หลักในวัฏจักรต่าง ๆ มันจึงทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ใน EM ได้ดังนั้นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงเป็นจุลินทรีย์ที่สำคัญใน EM

 

             

   ที่มาของรูปภาพ :http://thinkofliving.com/2011/11/03/em-ball-

       คุณสมบัติบางประการและการเก็บรักษา

1. EM เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเก็บไว้ในที่ร่มอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ประมาณ 2045องศาเซลเซียส หากไม่ได้เปิดใช้เก็บไว้ได้นาน 1 ปี

2. EM ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพพัก การนำไปใช้หากเปิดใช้แล้วให้รีบปิดเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

 

สูตรการทำลูกบอลจุลินทรีย์

การทำ EM Ball หรือลูกบอลจุลินทรีย์ (EM แบบก้อน)มีสูตรการทำแตกต่างกันไปตามภูมิปัญญาแต่ละพื้นที่สำหรับที่ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ นำโดย ผู้ใหญ่สมศักดิ์เครือวัลย์ จะมีความพิเศษตรงที่ใช้ปุ๋ยหมักเป็นส่วนผสมหลักซึ่งมีสารอาหารและความเป็นด่างมากกว่าการใช้ดินหรือทรายทั่วไป

 

       ส่วนผสม

    1. ปุ๋ยหมักชีวภาพ : เป็นส่วนผสมสำคัญที่ต้องหมักมูลสัตว์รำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และน้ำหมักจุลินทรีย์  

         เข้าด้วยกัน  โดย  ทิ้งไว้นานไม่ต่ำกว่า4 เดือน เพื่อให้หมดก๊าซและมีกลิ่นหวานอมเปรี้ยว

    2. น้ำหมักชีวภาพ : ได้จากการหมักพืช ผักและผลไม้ต่างๆกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ นานไม่ต่ำกว่า 5 เดือน

    3. รำละเอียด :เพื่อเป็นอาหารและเร่งการเจริญเจิบโตของจุลินทรีย์

    4. แกลบดิบ :เพื่อช่วยให้ลูกบอลจุลินทรีย์รวมตัวกันเป็นก้อน

    5. แกลบเผา :เพื่อเพิ่มความเป็นด่างและช่วยดูดซับกลิ่นเหม็น

     6. กากน้ำตาล :เพื่อช่วยดับกลิ่นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์

         หมายเหตุ :อัตราส่วนการผสม หากใช้ปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัม ให้ใช้น้ำหมัก 0.5 กิโลกรัมส่วนส่วนผสมอื่นๆ เป็นองค์ประกอบที่                          ช่วยให้ลูกบอลจุลินทรีย์สมบูรณ์ให้ใส่ประมาณ1-2 ขีด

 

         วิธีทำ

     1. คลุกเคล้าส่วนผสมตามสัดส่วนให้เข้ากันจากนั้นหมักส่วนผสมทั้งหมดทิ้งไว้ 2-3 วัน

     2.นำส่วนผสมที่หมักได้ที่มาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเท่าลูกเปตองหรือลูกเทนนิสโดยต้องปั้นให้แน่นและ

       ไม่มีรอย แตกร้าวแล้ววางตากไว้ในที่ร่มหรือที่อับชื้นนาน 3-4 วัน จนลูกบอลแห้งสนิท (ห้ามตากแดด)

    3. นำบรรจุใส่ถุงรวมกันจำนวนหนึ่งทิ้งไว้ 3-4 วัน เพื่อให้ขึ้นรา

                   

            การใช้งาน

       โยนลูกบอลจุลินทรีย์ลงไปในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน น้ำขังน้ำเน่าเสีย หรือน้ำที่มีกลิ่นเหม็น โดยต้องเป็นน้ำนิ่ง ในพื้นที่ 1 ตร.ม ต่อ 1 ลูกโดยโยนไม่ให้ลูกบอลละลายตัวก่อนจะถึงพื้นดินจุลินทรีย์ในลูกบอลที่มีประสิทธิภาพนี้จะแทรกตัวเข้าไปในโคลนเลน ซากพืชซากสัตว์หรือของเสียใต้น้ำซึ่งเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้น้ำเน่าเสียโดยจุลินทรีย์จะเข้าไปช่วยดูดคาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจนจนเกิดการย่อยสลายอินทรีย์สารต่างๆ จากนั้นออกซิเจนก็จะเข้าไปแทนที่ทำให้น้ำเน่าเสียลดลง โดยน้ำที่ขุ่นก็จะเริ่มตกตะกอนภายใน 1สัปดาห์ กลิ่นก็จะลดลงทั้งยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดได้อีกด้วย      

         หมายเหตุ :การใช้ลูกบอลจุลินทรีย์ในน้ำที่เริ่มจะเน่าเสียจะเห็นผลเร็วกว่าน้ำที่เน่าเสียนานแล้ว

        ข้อสังเกต :เมื่อโยนลูกบอลจุลินทรีย์ลงในน้ำเสีย จะเห็นฟองอากาศผุดขึ้นมาเหมือนการให้ออกซิเจนในตู้เลี้ยงปลา  

    ถึงน้ำจะท่วมสูงแค่ไหน ก็ไม่ท่วมน้ำใจไทย

 

รูปภาพของ ssspoonsak

เนื้อหาข้อมูลสมบูรณ์ดี ภาพประกอบจัดทำได้สวยงาม ทำให้ผู้อ่านสนใจอ่าน

เนื้อหาเยอะ แบ่งเป็นหน้าย่อยจะดีกว่าใหม

อาจจะเพิ่มเติมข้อมูลได้อีก

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ sss28167

เยี่ยมมม  เจ๋งๆๆๆๆ ^^ เลิศๆๆๆๆ   ชอบบบบ

รูปภาพของ sss28263

ขอบคุณที่นำความรู้และประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนะจ้ะ

รูปภาพของ sss28169
น่าสนใจมากค่ะ : )) 
รูปภาพของ sss28191

เนื้อหาน่าสนใจ สะดวกต่อการอ่าน 

 ตกแต่งสวยมากจ่ะ (: 

รูปภาพของ sss28254

บล๊อกน่ารักมากจ้า ๆ ทำรูปสวยมากมากเลย (:

รูปภาพของ sss28289
  • สวยงาม น่าสนใจมากเลยค่ะ เนื้อหาละเอียดมาก ^^
รูปภาพของ sss28153

น่ารักกุ๊กกิ๊กมากๆ

รูปภาพของ sss28123

ภาพเยอะน่าสนใจๆInnocent

รูปภาพของ sss28270

สวยน่าอ่านอ่ะ บล็อกนี้ ^^

รูปภาพของ sss28291

บอกวิธีการทำ อีเอ็มบอลได้อย่างละเอียด ชอบๆเจ๋ง:))

รูปภาพของ ssspoonsak

อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ sss28318

รูปสวย หน้าอ่านสุดๆ ><

รูปภาพของ sss28252

รูปสวยจัง ^^

รูปภาพของ sss28290

รูปเยอะ เนื้อหาดี มีสาระมากค่ะ

รูปภาพของ sss28311

เจ๋งมากเลยจ้า :)

รูปภาพของ sss28319

งามแต้ แต้ 55555555;)))

สุดยอดเลยอ่ะเธอๆๆ ^^

เนื้อหาแน่น ขอบคุณสำหรับความรู้จ้า~ 

รูปภาพของ sss28273

ไม่ท่วมน้ำใจคนไทยจริงๆด้วย จิตอาสา !!!!

รูปภาพของ sss28277

คนไทยไม่ทิ้งกันจริงๆ :))
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ .

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 682 คน กำลังออนไลน์