• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:d05fdbe88d4bec04e967775eccaadc2f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><div style=\"font-family: Tahoma, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 12px; background-color: #d7e7ea; margin-top: 0px; margin-right: auto; margin-bottom: 0px; margin-left: auto; background-image: url(\'/sites/all/themes/tgv11/images/Page-BgTexture.jpg\'); background-attachment: scroll; font-style: normal; font-weight: normal; color: #000000; background-position: 0% 0%; background-repeat: repeat repeat; padding: 0px\">ขอบคุณที่นำความรู้และประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนะจ้ะ</div>\n', created = 1727549563, expire = 1727635963, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:d05fdbe88d4bec04e967775eccaadc2f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

มหาอุทกภัย 2554 "Volunteers help the flood victims"

รูปภาพของ sss28197

       

       

          คำว่า "น้ำท่วม" อาจดูเป็นเรื่องปกติสำหรับบางจังหวัดในประเทศไทย บางคนบอกว่าน้ำท่วมอยู่แล้วทุกปี แต่สำหรับปีนี้น้ำท่วมดูเหมือนไม่ค่อยจะ   ปกติสักเท่าไหร่น้ำได้ท่วมท้นมากกว่า 40 จังหวัด  มันยิ่งกว่าน้ำท่วมแต่มันคือ "มหาอุทกภัย" ครั้งใหญ่ที่มาเคาะประตูหน้าบ้านเรา  บางบ้านก้รู้ตัวและรับมือได้ทัน แต่สำหรับบางบ้านที่ไม่ได้เตรียมตัว เตรียมใจ ก็ต้องทำใจไปตามๆกัน    เนื่องจากน้องน้ำได้เข้าไปสร้างความเสียหายกับพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมทั้งพื้นที่เฝ้าระวัง ,พื้นที่อพยพ และไม่อพยพ  มหาอุทกภัยครั้งนี้ก็มีเรื่องดีๆเกิดขึ้นเหมือนกัน บางอย่างที่เราไม่เคยทำก็ได้ทำ อย่างเช่น  ดูข่าวมากขึ้นจากไม่ค่อยได้ดูเพราะต้องดูว่าน้ำท่วมถึงไหนแล้ว จะเข้าบ้านเราไหมต้องเตรียมตัวอย่างไร ,ได้เห็นความมีน้ำใจจากคนไทยด้วยกัน และเพื่อนบ้านหลายๆประเทศที่ช่วยประเทศไทย ถือว่าเป็นมิตรแท้มาก

        การที่เกิดมหาอุทกภัยครั้งนี้สำหรับทุกภาคทุกส่วนของประเทศก็ได้เร่งให้การช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ประสบอุทกภัย  ไม่ว่าจะเป็นเงินช่วยเหลือ  สิ่งของที่บริจาค และที่เราเห็นและได้ยินกันบ่อยๆในช่วงนี้คือ "กลุ่มคนที่มีจิตอาสา"   จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากมายต่อประชาชน และเราก็ได้เห็นคนไทยออกมาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจต่อคนไทยอย่างชัดเจน  โดยส่วนตัวของดิฉันเองก็ได้ร่วมเป็นจิตอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยเช่นกัน วันนี้จึงขอมาเล่าประสบการณ์ดีๆให้ฟังกันและอธิบายถึงคำว่าจิตอาสาค่ะ

        ก่อนอื่นต้องขออธิบายคำว่า "จิตอาสา" กันก่อน  ไปทำความรู้จักคำนี้กันเลยดีกว่า  จิตอาสา คืออะไร  ...ความเมตตาที่จะให้ผู้อื่น ให้แบบอ่อนน้อม   ไม่ใช่ให้แบบผู้อยู่เหนือกว่าให้ผู้ด้อยกว่า แต่เป็นการให้โดยสละตัวตนของเราออกไปด้วย การทำงานช่วยเหลือให้บริการผู้อื่นจากใจในขณะที่ขัดเกลาจิตใจตัวเองกันไปด้วย   เป็นจิตอาสาที่จะทำให้สังคมและผู้อื่นมีความสุข ผู้รับเองก็เป็นผู้ให้ไปในตัว   อย่างน้อยก็เป็นผู้ทำให้ผู้ให้ได้ให้และมีความปลื้มปิติที่ได้ทำสิ่งดีดี    สรุปโดยย่อ จิตอาสา คือจิตที่ต้องการให้ผู้อื่น ตั้งแต่การให้เงิน ให้ของ จนกระทั่งให้แรงงานแรงสมองหรือที่เรามักเรียกว่า อาสาสมัคร เพื่อช่วยให้ผู้อื่นหรือสังคมมีความสุขมากขึ้น การให้หรือเสียสละนี้สามารถทำไปได้จนถึงการเสียสละความเป็นตัวตนหรืออัตตาของเรา ลงไปเรื่อย ๆ

         จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากมายต่อประชาชน และเราก็ได้เห็นคนไทยออกมาเป็นจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงน้ำใจต่อคนไทยอย่างชัดเจน แต่การที่จะเป็นจิตอาสาที่ดีนั้น อาจจะไม่รู้จะต้องทำอย่างไร ครั้งนี้ได้นำคู่มือจิตอาสามาฝากกัน ซึ่งเมื่ออ่านแล้วก็จะทำให้เราออกไปเป็นจิตอาสาอย่างสมบูรณ์แบบ และจะไม่เกิดปัญหาต่างๆตามมา ทำให้งานที่เราได้ไปช่วยสำเร็จสมบูรณ์อย่างที่ต้องการนั่นเอง
คู่มือจิตอาสา 6     ขั้นตอนที่อาสาต้องรู้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน สำหรับทุกหัวใจที่มีจิตอาสา สำหรับทุกงานเพื่อการสร้างสรรค์โลกนี้ให้น่าอยู่และดูแลใจให้มั่นคง ยังประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่น

1. สำรวจตัวเอง

       เพราะอะไร? อะไรทำให้เราจะไปทำงานอาสา ? ต้องตอบตัวเองให้ได้ และระลึกถึงสิ่งนี้ไว้ในใจ เพราะมันเป็นพลังเติมใจให้เรามุ่งมั่นทำงานเพื่อสิ่งนี้ประเมินสุขภาพตัวเอง  วันนี้เราสบายดีใช่ไหม ? ทั้งกายและใจเต็ม 100% หรือไม่? นอกจากจิตใจที่มุ่งมั่น สุขภาพดีทั้งกายและใจ ย่อใมำให้เราดูแลตนเองได้ ไม่แพร่เชื้อ ไม่เป็นภาระแก่ใคร ก็เท่ากับได้ดูแลคนอื่น มีโรคประจำตัวก็ทำงานอาสาได้ แค่เลือกงานให้เหมาะสม
มีความถนัด ความเชี่ยวชาญ หรือความสามารถพิเศษอะไรบ้างอาจเป็นทักษะในอาชีพของตนเอง หรืองานอดิเรกของเรา หรือความเชี่ยวชาญทางภาษา ความรู้เฉพาะด้าน ความชำนาญงานช่างฝีมือ รวมทั้งความสามารถเล็ก อย่างเช่นการรับโทรศัพท์ จดบันทึก พิมพ์ดีด ก็เป็นประโยชน์มาก

2. ศึกษากิจกรรมอาสา

       ที่เหมาะกับเรารู้ข้อมูลล่วงหน้าว่าจะต้องเดินทางอย่างไร มีของอะไรต้องเตรียมไปเองบ้าง ต้องทำงานเวลาไหนนานเท่าไร และประเมินข้อจำกัดเงื่อนไขของตัวเอง จะลดภาระของคนจัดการ ผู้ประสานงาน และทำงานอาสาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เตรียมตัวก่อนมา 


      • แต่งกายให้เหมาะสมกับงาน
      • พกเงินมาให้พอเหมาะสำหรับการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่อาจมี
      • ทานข้าวให้เรียบร้อย เตรียมน้ำดื่มไปเอง (ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรฝากท้องไว้ว่าจะไปกินที่งาน)
      • วางแผนเดินทาง ต้องไปให้ถึงตรงต่อเวลานัดหมาย
      • แจ้งคนที่บ้านว่าจะไปไหน ไปทำอะไร และนัดแนะว่าจะติดต่อกันอย่างไร
 

4. เมื่อถึงงานอาสา

      มองหาโต๊ะลงทะเบียน หรือคนจัดการ ผู้ประสานงานเพื่อให้ข้อมูลของเราที่จะเป็นประโยชน์ต่องาน และได้รู้สถานการณ์ว่ามีงานใด สำคัญ เร่งด่วน ต้องการกำลังคนหรือทักษะอะไร และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาฐานข้อมูลอีกด้วย #แต่ละงานมีลักษณะต่างกัน ถ้าเราลงมือลุยทำงานไปเลย อาจไม่ได้ทำประโยชน์ให้ได้เต็มที่ หรือบางทีกลับเป็นอุปสรรคด้วยซ้ำเลือกงานให้เหมาะสม ประเมินกำลัง ทักษะ และเวลาที่เรามี
อย่าลืม! ต้องบอกคนจัดการ ผู้ประสานงานให้รู้ไว้ เพราะถ้่ได้ใช้ความถนัดของเรา ก็ช่วยงานได้มาก แต่ถ้าหากเป็นงานเฉพาะหน้า ได้ทำสิ่งที่ไม่ถนัด ก็ต้องหัดวางใจ ขอให้นึกถึงเหตุผลที่ทำให้เรามาเป็นอาสาเอาไว้ (แม้ไม่ได้ทำงานก็ไม่เป็นไร สำคัญท่มุ่งมั่นตั้งใจ วันหลังมาใหม่ จิตอาสามีงานทุกที่ทุกเวลาถ้าเรามีใจ)
 

5. ขณะทำงานอาสา


       • ต้องแน่ใจว่าเราเข้าใจขั้นตอน วิธีการได้ถูกต้องครบถ้วน
       • พบปัญหามีข้อสงสัย รีบบอกให้คนจัดการ ผู้ประสานงานรู้ทันที ไม่ควรทึกทักจัดการเอง
       • ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้กัน การมีมิตรไมตรีสามัคคีกันสำคัญเท่ากับงานสำเร็จ
       • เมื่อเราได้ลงมือทำจริงๆ อาจจะมีความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด ที่เกิดจากการทำงาน ยิ่งบางงานที่เป็นงานเร่งด่วนหรืองานร้อนก็อาจกระทบกระทั่งกันได้ ง่าย ขอให้เรามีท่าทีที่ดีเรื่องนี้ เพราะสิ่งสำคัญกว่าคือการได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนอื่น และยิ่งกว่านั้น จิตอาสาคือการขัดเกลาตัวเอง และละทิ้งอัตตาตัวตน บรรดาความไม่ถูกใจ ความหงุดหงิด นี่แหละ เป็นสิ่งที่จะพาให้เราได้ลดละตัวกูของกู
       • ทำไม่ไหวต้องบอก อย่าฝืนจนเกินกำลังตัวเอง ไม่ใช่แค่ดูแลตัวเองเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสามารถไปดูแลคนอื่นต่อได้ และไม่เป็นภาระให้คนอื่น ดูแลตัวเอง=ดูแลทุกคน
 

6. หลังจากเสร็จงาน


         หาเวลาทบทวนตัวเอง เราได้ทำสิ่งที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรกใช่ใหม มีอะไรประทับใจบ้าง อาจถามตัวเองว่าได้เรียนรู้อะไร มีหน้าที่อะไรที่ครั้งหน้าจะทำได้ดีกว่านี้อีกไหม หรือแม้กระทั่งข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตต่างๆที่มีต่องานที่ไปทำมา

ที่มารูป : http://www.facebook.com/note.php?note_id=230339563653955           

       เมื่อเราได้รู้จักคำว่าจิตอาสากันแล้ว ต่อไปมาดูงานจิตอาสาที่ตัวดิฉันได้ไปลงมือช่วยที่ "สภากาชาดไทย" อันดับแรกอยากจะเล่าภาพบรรยากาศให้ฟังว่า มีผู้คนมากมายที่มาร่วมงานจิตอาสาโดยแบ่งงานเป็นหลายส่วนอย่างเป็นระบบ จะมีทั้งศูนย์บริจาคโลหิตซึ่งมีเป็นหลักอยู่แล้วแต่เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยอาจทำให้ขาดแคลนโลหิตเป็นจำนวนมากใครจะบริจาคก็สามารถบริจาคได้แต่ต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายมาดีๆนิดนึงนะคะ เพื่อความพร้อม และสมบูรณ์ที่สุดของร่างกายค่ะ ผู้บริจาคโลหิตควรมีการเตรียมพร้อมก่อนทำการไปบริจาคโลหิต ดังนี้

ที่มาภาพ : http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/317560_256493211051016_104937049539967_832172_542313649_n.jpg

-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค

-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม

-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้

-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค

-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

-ควรเตรียมสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป และสามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า

-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล

-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต

-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที

-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง 

                

ที่มาภาพ : ณัฐชา  พลสงฆ์

        รู้วิธีการเตรียมตัวร่างกายถ้าทำตามก็ผ่านบริจาคเลือดได้เลย ตัวของดิฉันในช่วงหลายวันก่อนก็ได้มาบริจาคเลือดกับเพื่อนๆเหมือนกัน กรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย รอคิวก็นานอยู่เหมือนกัน   พอเรียกเข้าห้องตรวจไม่ได้บริจาคเพราะอายุ17บริจาคได้แต่ต้องมีผู้ปกครองเซ็นรับรองแต่วันนั้นไปกันเองก็เลยอดบริจาคเลือดเลย     ต่อไปจะพูดถึงบรรยากาศส่วนโรงครัว และส่วนแพ็คของซึ่งก็มีคนมาร่วมเป็นจิตอาสาจำนวนมากมีทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นเล็กจนรุ่นใหญ่  ตัวดิฉันได้ทำงานตรงโรงครัวของสภากาชาดเพราะพี่เขาเห็นว่ายังขาดคนอยู่ก็เลยได้รวมกลุ่มกับเพื่อนๆที่อยู่ก่อนหน้า อันดับแรกพี่ที่สภากาชาดก็ให้ลงทะเบียนชื่อก่อน เส็ดแล้วก็ให้ใส่หมวกคุมผม พร้อมถุงมือ 2 ข้าง พวกเราถามว่าทำไมต้องใส่ด้วยค่ะ พี่เขาบอกว่าเพื่อความสะอาดและความปลอดภัยแก่ผู้ที่ได้รับอาหารที่เราส่งไปให้เขาแน่ใจว่าไม่มีผมหรือเล็บตกลงไป  เมื่อมองไปก็มีงานแบ่งย่อยไปอีกมีทั้ง ทำอาหาร ล้างผัก ล้างจาน บรรจุอาหาร และแล้วพี่เขาก็พาไปทำงานในเรื่องบรรจุอาหารพวกดิฉันได้ตักน้ำพริกใส่ถุง  ดูเหมือนเป็นงานง่ายแต่ตอนแรกๆไม่ง่ายเท่าไหร่  เพราะพวกเพื่อนๆที่มาใหม่และตัวดิฉันเองมัดผิดเพราะว่าต้องมัดถุงน้ำพริกให้แฟ๊บๆห้ามโป่งเพราะป้าที่เขามาเป็นจิตอาสาที่นี่หลายวันบอกว่าถ้ามัดพองเวลาเคลื่อนย้ายหรือรวมกับของอย่างอื่นจะกินทั้งพื้นที่และแตกได้    มีเคล็ดลับซะด้วย  ทำไปทำมาก็สนุกดีค่ะทั้งตักทั้งมัดและก็เริ่มชิน  ป้าก็บอกว่าวันที่พวกดิฉันมาช่วยได้น้ำพริกตั้ง 3,000 กว่าถุงเลยเยอะกว่าทุกๆวัน ถึงขั้นเป็นปลื้มค่ะที่ได้ทำความดีแต่พอกับบ้านมาทั้งปวดหลัง  ทั้งเจ็บมือที่นั่งมัดถุงน้ำพริก แต่ไม่เป็นไรค่ะมันเหมือนเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ถึงแม้เป็นสิ่งเล็กๆที่เราทำได้ก็ช่วยให้อีกหลายชีวิตอิ่มท้องได้อีกหลายวันเลย   น้ำท่วมครั้งนี้ไม่ท่วมใจของเราคนไทยเลยเพราะน้ำใจของเราก็ท่วมถ้นเช่นกัน งานจิตอาสาของฉันและเพื่อนๆในครั้งนี้ได้ทั้งเพื่อนใหม่  ได้ทั้งความรู้ใหม่ๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน  และสุดท้ายได้ความอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูกที่ได้มาทำดีครั้งนี้ ถ้ามีงานอะไรก็ตามที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นให้มีความสุขมีความรู้สึกว่าอยากจะลงมือช่วยอีกค่ะ

ที่มาภาพ : http://www.facebook.com/note.php?note_id=230339563653955

        อยากเห็นคนไทยช่วยเหลือกัน สามัคคีกัน รักกัน เชื่อว่าน้ำท่วมกี่ครั้งเราก้จะผ่านมันไปด้วยดี พ.ศ.2485 ที่ถือว่าหนักผ่านมาแล้วแต่ยังมีรอยยิ้ม ต่างมีความสุข ต่างช่วยเหลือกัน พ.ศ.2538 เราก็ผ่านพ้นมาได้ พ.ศ.2554 มหาอุทกภัยเราจะสู้มันไปด้วยกัน ขอให้ทุกคนสู้ๆ*
 

รูปภาพของ sss28167

เจ๋งดีๆๆๆ เยี่ยมมม  ^^

รูปภาพของ sss28263
ขอบคุณที่นำความรู้และประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนะจ้ะ
รูปภาพของ ssspoonsak

อืม ดีจ้ะ แต่จะเพิ่มเติมอีกก็ได้นะจ้ะ

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ sss28277

จอร์จจจจจ เจ๋งจริง!

รูปภาพของ sss28252

สวยมาก เนื้อหาดีแท้

รูปภาพของ sss28291

จิตอาสาเขาดีจริงอะไรจริง เจ๋ง:))

รูปภาพของ sss28289
  • บล๊อกสวย สีสันสดใส น่าอ่านค่ะ ><
รูปภาพของ sss28318

สวยและได้ประโยชน์เยอะแยะเลย ;)

รูปภาพของ sss28262

น่าร้อกอ้าาาาา~ OwO

รูปภาพของ sss28204

บล็อคน่ารักจัง 
 มีน้ำใจทำจิตอาสาด้วย

รูปภาพของ sss28270

บล็อกสวยมากจ๊ะ จิตอาสาน่าปลื้มจิงๆ >.<

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 289 คน กำลังออนไลน์