สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

เมื่อพูดถึงตัวกลางนำข้อมูลในระบบเครือข่าย ก็อาจเป็นได้ตั้งแต่สายเคเบิลชนิดต่างๆ เช่น สาย Coaxial, UTP, คลื่นวิทยุแบบที่ใช้กับ Wireless LAN หรือแม้แต่ Fiber Optic ซึ่งใช้ในระบบ LAN ไปจนถึงเครือข่ายสื่อสารระยะไกล เช่น เครือข่ายโทรศัพท์, ระบบ ISD, เครือข่าย Packet Switching ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะอย่างเช่น การสื่อสารฯ เป็นต้น

ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือเรียกกันว่าแบนด์วิดท์ (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวนบิตข้อมูลต่อวินาที (bit per second : bps)

 แบนด์วิดท์ (Bandwidth)คือแถบความถี่ของช่องสัญญาณ ซึ่งหากมีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ ก็จะส่งผลให้ภายในหน่วยเวลาจะสามารถเคลื่อนย้ายปริมาณข้อมูลได้จำนวนมากขึ้น

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลนั้น แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
1.) สื่อกลางประเภทมีสาย
2.) สื่อกลางประเภทไร้สาย

สร้างโดย: 
A&W

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 491 คน กำลังออนไลน์