ภัยอันตรายจากน้ำสั้มสายชูเทียม

รูปภาพของ tws19437

ภัยอันตรายจากน้ำสั้มสายชูเทียม


น้ำส้มสายชูเทียม เป็นน้ำส้มสายชูที่ใช้บริโภคกันแพร่หลาย เพราะมีราคาถูก เพียงแต่เอากรดน้ำส้มสังเคราะห์สำเร็จรูปมาเจือจางให้ได้ 5 % ก็ถือว่าเป็นน้ำส้มสายชู "เทียม" ที่ได้มาตรฐาน
ถ้าเรามีโอกาสเลือกซื้อน้ำส้มสายชูมาใช้เองก็น่าจะเลือกนำส้มสายชูแท้จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องเจอปัญหากับน้ำส้มสายชูที่มีปริมาณกรดสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปกว่ามาตรฐานที่ว่ามา แต่เรื่องนี้หลายคนไม่ค่อยรู้กัน เห็นน้ำส้มสายชูเทียมหาง่ายก็ใช้อย่างนั้นไป แต่น้ำส้มสายชูเทียม (ที่ได้มาตรฐาน) ก็ยังไม่ถือว่าเป็นน้ำส้มสายชูปลอมเพราะสามารถนำมาใช้บริโภคได้ แต่ที่เป็นอันตรายจริงๆ คือ น้ำส้มสายชูปลอม
มีผู้ประกอบการบางรายนำหัวน้ำส้ม เกลเชียล อะชิติค แอซิด ชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ มาเจือจางด้วยน้ำแล้วใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับก๋วยเตี๋ยว ซึ่งกรดดังกล่าวมีอันตรายมาก ไม่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ จะทำให้เกิดอันตรายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ เนื่องจากมีปริมาณกรดที่สูงเกินไป รวมทั้งยังอาจได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อนต่างๆ ด้วย และถึงแม้ว่าเกลเชียล อะชิติค แอซิด บางประเภทจะให้เป็นอาหารได้ก็ไม่ควรซื้อมาเจือจางเอง เพราะอาจได้ปริมาณกรดน้ำส้มที่เข้มข้นเกินไปจนก่อให้เกิดอันตรายได้

ของจริงของปลอมรู้ได้อย่างไร

วิธีพิสูจน์ว่า อย่างไหนเป็นน้ำส้มสายชูจริงอย่างไหนปลอม ง่ายมากครับ ให้เราดูได้จากพริกดองในน้ำส้มนั่นแหละครับ ถ้าเป็นน้ำส้มสายชูแท้ สีพริกดองจะสดใสเนื้อพริกไม่เปื่อยเละ แต่ถ้าเป็นของปลอมสีพริกจะซีด เนื้อพริกจะเละ อย่างเห็นได้ชัดเลยล่ะครับ และอันที่จริงแล้วสภาพน้ำส้มที่มีเนื้อพริกเปื่อยเละก็คงเป็นน้ำส้มสายชูที่เราน่าจะหลีกเลี่ยงเป็นดีที่สุด เพราะนอกจากจะปลอดภัยจากของปลอมแล้วยังหลีกเลี่ยงน้ำส้มสายชูที่ถูกใช้ปรุงอาหารมานานแต่ยังใช้ไม่หมดได้อีกอย่างหนึ่งด้วยครับ

คำเตือน ไม่ควรนำน้ำส้มสายชูใส่ในภาชนะพลาสติก
เพราะน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อนำมาใส่ในภาชนะพลาสติก โดยเฉพาะที่ทำจากพลาสติกคุณภาพไม่ดี ไม่เหมาะสมที่จะใช้ใส่อาหาร อีกทั้งสีที่ใช้ผสมในพลาสติกส่วนมากเป็นสีสังเคราะห์มีความบริสุทธิ์ต่ำ มีองค์ประกอบของโลหะหนัก เช่น ปรอท สารหนู เป็นต้น หากใส่น้ำส้มสายชูเป็นเวลานานอาจเกิดการกัดกร่อน ทำให้โลหะหนักออกมาปนเปื้อนอาหาร อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงโดยไม่แบ่งบรรจุน้ำส้มสายชูด้วยภาชนะพลาสติก ควรใส่ในแก้วหรือขวดโหล จะเป็นการปลอดภัยกว่า

 ค้นคว้าและเสนอต่อโดย  ด.ญ.ศุภฎา  กุมภา   เลขที่ 36  ม.2/4  โรงเรียนเถินวืทยา  อ.เถิน   จ.ลำปาง
                                                                                             


            ที่มา       http://www.samunpri.com
                               
                   http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=101

                                                                       

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 256 คน กำลังออนไลน์