ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงาน
เรื่อง ความหมายของโครงงาน


ความหมายของโครงงาน

คำว่าโครงงานมีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้มากมาย ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความหมายโครงงานว่า เป็นการทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครู ตั้งแต่การคิดสร้างโครงงาน การวางแผนดำเนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติ รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางในการวัดผลและการประเมินผล
สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความหมายโครงงานว่าเป็นการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัด ตามความสามารถของผู้เรียนเอง ภายใต้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือผลงาน ซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัว โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาเท่านั้น
เปรี่อง
  กิจรัตนี   ให้ความหมายว่า  โครงงานเป็นกิจกรรมของนักเรียนเองที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการวางแผนการปฏิบัติอย่างชัดเจน ในการทำกิจกรรมโครงงานนั้นก็ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติงาน ครูมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกเป็นที่ปรึกษา และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานที่นักเรียนมาขอคำปรึกษา

เรื่อง ความสำคัญของโครงงาน

ความสำคัญ  ของโครงงานในแง่ของการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมเสริมตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)   มีดังนี้ 1.  ด้านนักเรียน
2.
  ด้านโรงเรียน และครู
อาจารย์
3.
  ด้านท้องถิ่น
1.  ด้านนักเรียน ก่อให้เกิดคุณค่าต่างๆ ดังนี้
1.1
 
ช่วยสร้างความหวังใหม่ในการริเริ่มงาน ที่จะนำไปสู่อาชีพ และการศึกษาต่อ ที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ
1.2
  สร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง 
ด้วยชีวิตจริง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง ในโครงงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา
1.3
 
ได้มีโอกาสทดสอบความถนัดของตนเอง และการแก้ปัญหาในการงานที่ตนเองสนใจและมีความพร้อม ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินงานต่อไป
1.4
 
ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในโครงงานที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์
1.5
 
ก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีงามต่อกัน ระหว่างเพื่อนนักเรียนที่ปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม
1.6
   ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้รับความสำเร็จในการศึกษาตามหลักสูตร และตรงกับจุดหมายที่กำหนดไว้


2. ด้านโรงเรียน และ ครู-อาจารย์ ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้
2.1
  เกิดการประสานงานทางวิชาการที่ผสมผสาน หรือ บูรณการเกิดขึ้นใน โรงเรียน ตรงกับหลักสูตรมัธยมศึกษา และแนวทางพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2
  เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า 
การเรียนการสอนในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการฝึกปฏิบัติจริง ในโครงงานของนักเรียนมากกว่าที่จะเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น
2.3
  เกิดศูนย์รวมสื่อสารการเรียนการสอน หรือศูนย์วัสดุ
อุปกรณ์การสอนสำหรับในหมวดวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียนได้ใช้ร่วมกัน ส่งผลให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกใช้สื่อการสอนอย่างแท้จริงและหลากหลาย
2.4
  เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน ครู อาจารย์ผู้สอน และโรงเรียนอาจารย์ที่มีโอกาสปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะช่องว่างที่ต่างกัน


3. ด้านท้องถิ่น  ก่อให้เกิดคุณค่าต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานในเชิงปฏิบัติของโครงงาน ที่ ประสบผลสำเร็จไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นกับโรงเรียนมีความเข้าใจ และประสานสัมพันธ์กันดียิ่ง
3.2 ช่วยลดปัญหาวันรุ่นในท้องถิ่นเกี่ยวกับความประพฤติ จรรยามารยาท และศีลธรรม เพราะนักเรียนที่มีโครงงานมักจะเป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดีมุ่งมั่น และสนใจการศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น
3.3 ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีพื้นฐานทางการศึกษาดี โดยเฉพาะงานอาชีพที่หลากหลาย และการพัฒนาการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติ มีนิสัยรักการทำงานไม่เป็นคนหยิบโหย่ง และช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยดี

เรื่อง ขอบข่ายของโครงงาน


ขอบข่ายของโครงงาน   ดำเนินงานโดยนักเรียน  เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีองค์ประกอบดังนี้
1.
 
เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติดัวยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว
2.
 
นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3.
 
นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4.
  นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

5.  เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

เรื่อง ประเภทของโครงงาน จากขอบข่ายของโครงงานดังกล่าว จะเห็นได้ว่า นักเรียนเป็นผู้ดำเนินงาน  โดยคำแนะนำปรึกษาจากครู อาจารย์ที่สนับสนุน ให้นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง ทั้งด้านการเสนอโครงงาน รายละเอียดและขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนถึงการจัดทำแผนปฏิบัติและการแปลผล และรายงานผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโครงงานได้ดังนี้
1.
 
ประเภทพัฒนาผลงาน
            โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดจากการศึกษาเนื้อหาทางวิชาการ หรือ หลักทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาการงาน และอาชีพหรือวิชาสามัญต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทฤษฎีดังกล่าวส่งผลให้มีรูปธรรมยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนได้ศึกษาทางทฤษฎีเกี่ยวกับ 
พลังงานแสงอาทิตย์ นักเรียนอาจทำโครงงานการใช้ยกปราบศัตรูพืชสมุนไพรกำจัดเพี้ย หนอน แมลงปีกแข็ง ฯลฯ
พืชสมุนไพร นักเรียนอาจทำโครงงาน การแปรรูปผลผลิต การทำผักกาดดองสามรส การทำไส้กรอก การดองพืชผัก ผลไม้ต่าง ๆ ฯลฯ
การเลี้ยงปลา นักเรียนอาจทำโครงงาน
  การเลี้ยงปลาสวยงาม การเปลี่ยนสีปลาออสก้า ฯลฯ

2.
 ประเภทศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหลักการต่างๆ ทางวิชาการแล้วนำมาทดลองค้นคว้าเพื่อยืนยันทฤษฎีหรือหลักการหรือต้องการทราบแนวทางเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
เป็นโครงงานที่ต้องการนำเสนอแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน หรือว่านำเสนอหลักฐานใหม่เพื่อแย้งหรือขยายความทฤษฎีที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะต้องผ่านการพิสูจน์มาอย่างชัดเจน
เช่น- การศึกษาสูตรอาหารไก่ตอน
-
 
การทดลองปลูกพืชในน้ำยาหรือการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดิน
-
 
การควบคุมการเจริญเติบโตของไม้ประดับประเภทเถา
-
 
การใช้ฮอร์โมนกับกิ่งกุหลาบ
-
 
การศึกษาขนมชนิดต่างๆ
-
 
การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากผลไม้
-
 การศึกษาทำปุ๋ยชีวภาพ

3.
 ประเภทสร้างสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ขึ้นมาใหม่ หลังจากได้ศึกษาทางทฤษฎี หรือพบเห็นผลงานของผู้อื่นแล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาต่อไปจึงประดิษฐ์คิดค้นให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการนำความรู้และทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งนี้ อาจเป็นการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือเป็นการแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
เช่น
- การควบคุมระบบการให้น้ำแปลงเพาะชำ
-
 
การประดิษฐ์เคลือบรูปพลาสติก (กรอบรูปวิทยาศาสตร์)
-
 
การประดิษฐ์หัวฉีดพ่นน้ำในแปลงปลูกผัก
-
 
การประดิษฐ์ของชำร่วยจากเรซิ่น
-
 
การประดิษฐ์เครื่องขยายเสียง
-
 
การประดิษฐ์เครื่องหรี่ไฟฟ้า
-
 
การประดิษฐ์กรอบกระจก
-
 
การประดิษฐ์ป้ายชื่อหินอ่อน
-
 แกะลายกระจก

4.
 ประเภทสำรวจข้อมูล
โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่ศึกษาสำรวจข้อมูลสำหรับดำเนินงานพัฒนาปรับปรุง เพิ่มเติมผลงานและส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวอาจมีผู้จัดทำขึ้น แต่มีการแปลเปลี่ยนไปแล้ว ต้องทำการสำรวจจัดทำขึ้นใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูล นำมาเข้ากระบวนการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนออย่างมีแบบแผน ทั้งนี้ จุดที่สำคัญก็คือต้องชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้สำรวจและรวบรวมมาได้
เช่น
-
 การสำรวจราคาผลผลิตเกษตรในท้องถิ่น
-
 
การสำรวจราคาอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น
-
 
การสำรวจแหล่งวิชาการและสถานประกอบการในท้องถิ่น
-
 
การสำรวจงานบริการในท้องถิ่น
-
 
การสำรวจปริมาณการปลูกข้าวโพดในท้องถิ่น
-
 การสำรวจปริมาณการเลี้ยงห่านในท้องถิ่น 
  ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ
  การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่
- สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
- คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์
จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
โครงงานคอมพิวเตอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดออกแบบสร้างขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือต่างสาขาวิชารวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ด้วย โครงงานคอมพิวเตอร์ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นักเรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้
กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
- นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีของเขตกว้างขวางมาก ตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนา จนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาท นักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆ ของโครงงานก่อน จึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจของนักเรียน โดยทั่ว ๆ ไป การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษา โดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรือทำเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ
จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ
การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้
1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (
Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน  <!--pagebreak--> องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง
…………
ข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
2. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
6. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และสัมพันธ์มาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อพิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น
8. วิธีดำเนินงาน
- อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
- กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
- แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
9.
 งบประมาณที่ใช้
10. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. เอกสารอ้างอิง 
 ประเภทของโครงงาน
แบ่งได้เป็น
 5 ประเภท 1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาโดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่มการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้ผู้เรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้ โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่างๆ โดยผู้เรียนอาจคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เช่น การเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์ ระบบสุริยจักรวาล หลักภาษาไทย  และสถานที่สำคัญของประเทศไทย โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ วิถีชีวิตของคนไทยพวน โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก  โปรแกรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โปรแกรมสำนวนไทยพาสนุก โปรแกรมฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โปรแกรมเรียนรู้คณิตศาสตร์
2.
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป  ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลคำ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้ในการพิมพ์งานต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนซอฟต์แวร์การวาดรูป พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้การวาดรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปได้โดยง่าย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ ใช้สำหรับช่วยการออกแบบสิ่งของ อาทิเช่น ผู้ใช้วาดแจกันด้านหน้า และต้องการจะดูว่าด้านบนและด้านข้างเป็นอย่างไร ก็ให้ซอฟต์แวร์คำนวณค่าและภาพที่ควรจะเป็นมาให้ เพื่อพิจารณาและแก้ไขภาพแจกันที่ออกแบบไว้ได้อย่างสะดวก เป็นต้น
3.
โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย พร้อมทั้งารจำลองทฤษฏีด้วยคอมพิวเตอร์ให้ออกมาเป็นภาพ ภาพที่ได้ก็จะเปลี่ยนไปตามสูตรหรือสมการนั้น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่างโครงงานจำลองทฤษฎี เช่น การทดลองเรื่องการไหลของของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาปิรันย่า และการทดลองเรื่องการมองเห็นวัตถุแบบสามมิติ เป็นต้น
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันอาทิเช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งภายในอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี และซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดสร้างสิ่งของขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้นๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้ผู้เรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรแกรมระบบงานการกีฬา โปรแกรมระบบแฟ้มฐานข้อมูลผู้เรียน 2001
5.
โครงงานพัฒนาเกม
เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก  โปรแกรม ต่อให้เพิ่ม เติมให้เต็ม (Magic Puzzle)  โปรแกรม เกมผู้รอดชีวิต โปรแกรมเกมทศกัณฑ์ เกมทายคำศัพท์ และเกมการคำนวณเลข เป็นต้น ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกความคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจแก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไป และนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่างๆ <!--pagebreak--> ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โคยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงือนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน


แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน


รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน 2. รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

3. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. หลักการและเหตุผล
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

 5. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….
6. เป้าหมายและขอบเขตของโครงงาน
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….
7. รายละเอียดในการพัฒนา 7.1 เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ 7.2 งานวิจัยหรือโครงงานที่เกี่ยวข้อง 7.3 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา 7.4 ข้อจำกัดของโปรแกรมที่จะพัฒนา


8. งบประมาณ
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….

9. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………….
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ         
………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………. 
  การนำเสนอโครงงาน
การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็น งานขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการแสดงผลิตผลของ ความคิด และการปฏิบัติการทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเวลาไป
และเป็นวิธีการที่จะทำให้ ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น ๆ
มีผู้กล่าวกันว่าการวางแผน ออกแบบเพื่อจัดแสดง ผลงานนั้นมีความสำคัญเท่าๆกับการทำโครงงาน นั้นเอง ผลงานที่ทำจะ ดียอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้า การจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดี ก็เท่ากับไม่ได้ แสดงถึงความยอดเยี่ยมของผลงานนั้นนั่นเลย
การจัดแสดงและการนำเสนอผลงาน
การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไมีมีการอธิบายประกอบ หรือในรูปของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา
2. คำอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงาน และความสำคัญของโครงงาน
3. วิธีการดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน
ในการจัดนิทรรศการโครงงานนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง
2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่จัดแสดง
3. คำอธิบายที่เขียนแสดงควรเน้นประเด็นสำคัญ และสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น โดยใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน และเข้าในง่าย
4. ดึงดูดความสนใจผู้เข้าชม โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ ใช้สีที่สดใส เน้นจุดที่สำคัญหรือใช้วัสดุต่างประเภทในการจัดแสดง
5. ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอย่างเหมาะสม
6. สิ่งที่แสดงทุกอย่างต้องถูกต้อง ไม่มีการสะกดผิดหรืออธิบายหลักการที่ผิด
7. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ 
   

มันไม่ยากอย่างที่คิด....เพียงแต่ศึกษาค้นคว้า

ตัวอย่างข้อคิดและตัดสินใจทำโครงงาน โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนจะมีความสำคัญต่อโครงงานนั้นๆ การแบ่งขั้นตอนของการทำโครงงานอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงานและการวางแผนการทำโครงงาน ในที่นี้จะแบ่งการทำโครงงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้                     
การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ผู้เรียนสามารถจะศึกษาการได้มา ของเรื่องที่จะทำโครงงานจากตัวอย่างต่อไปนี้
 
สุดา ช่วยงานคุณพ่อซึ่งเป็นคุณหมอที่คลีนิครักษาโรคทั่วไป สังเกตเห็นว่าเมื่อคนไข้เก่ามาจะต้องมีการค้นหาประวัติคนไข้ ซึ่งเก็บไว้ในตู้เอกสารซึ่งมีปริมาณมาก ทำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก กว่าจะหาพบ และตู้เอกสารยังใช้เนื้อที่ในร้านค่อนข้างมาก อีกด้วย ดังนั้นสุดาจึงเสนอทำโครงงาน "ระบบจัดการข้อมูลของคลีนิครักษาโรคทั่วไป" เพื่อพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ในการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ทั้งหมดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลคนไข้
 
สมานเป็นผู้เรียนที่ชอบวิชาฟิสิกส์เป็นอย่างมาก มักจะได้รับการขอร้องจากเพื่อนๆ ให้ทบทวนเนื้อหาต่างๆ ให้เพื่อนๆ ฟังอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อสมานได้เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมแล้ว เกิดความคิดขึ้นว่าถ้าเขาสร้างโปรแกรม ช่วยสอนสำหรับวิชาฟิสิกส์ขึ้นมา ให้เพื่อนๆ ได้ใช้ คงจะเป็นเครื่องมือเป็นอย่างดีในการทำให้เพื่อนๆ เข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นสมานจึงเสนอโครงงานเรื่อง "โปรแกรมช่วยสอนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรเจ็กไตล์"   จิราภรณ์, ทิพนาฎและธิติกร ได้ทำโครงงานเรื่อง โปรแกรมสร้างแบบทดสอบการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต เกิดจากการที่ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในวงการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อันหลากหลาย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน ไม่จำกัดผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ในบางเนื้อหาวิชามีความจำเป็นที่จะต้องมีการทดสอบ กระบวนการวิเคราะห์ผลจึงควรจะต้องมี จึงได้คิดวิชาความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น 
สังเกตได้ว่าเรื่องหรือปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กันดังนี้
ก. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
ข.
  การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
ค.
 
การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ระหว่างเพื่อนผู้เรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
ง.
 
กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
จ.
 
งานอดิเรกของผู้เรียน
ฉ.
  การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญๆ ดังนี้
ก.
  ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
ข.
 
สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้
ค.
 
มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
ง.
 
มีเวลาเพียงพอ
จ.
 
มีงบประมาณเพียงพอ
ฉ.
  มีความปลอดภัย 
 ตัวอย่างหัวข้อโครงงานคอมพิวเตอร์ที่อาจนำไปสู่แนวคิดในการเลือกเรื่อง เพื่อจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
การเลือกหัวข้อเรื่องโครงงานขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียน การตั้งชื่อเรื่องต้องให้มีความสัมพันธ์ กับเนื้อเรื่องและมีความเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างหัวข้อโครงงานต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ยกมาแสดงเพื่อให้เห็นขอบข่ายของเรื่องต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถคิดทำโครงงานได้
 
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development) ·         สารานุกรมไทยฉบับมัลติมีเดีย ·         สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ·         พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ·         โปรแกรมช่วยสอนการถ่ายภาพ ·         76 จังหวัดของไทย ·         โปรแกรมช่วยสอนการทำงานของทรานซิสเตอร์ ·         คอมพิวเตอร์สอนพิมพ์ดีด ·         ยาไทยและยาจีน ·         สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 
·          โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย ·          โปรแกรมอ่านอักษรไทย ·          โปรแกรมวาดภาพสามมิติ ·          โปรแกรมเข้าและถอดรหัสข้อมูล ·          โปรแกรมบีบอัดข้อมูล ·          โปรแกรมประมวลผลคำไทยบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ·          โปรแกรมการออกแบบผังงาน ·          พอร์ตแบบขนานของไทย ·          การส่งสัญญาณควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โครงงานจำลองทฤษฎี (Theory Simulation) ·         การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเลี้ยงปลานิลด้วยคอมพิวเตอร์ ·         การทดลองปัจจัยต่างๆ ในการเพาะปลูกแก้วมังกรด้วยคอมพิวเตอร์ ·         การทำนายอุณหภูมิจากข้อมูลที่ผ่านมา  ·         การทดลองผสมสารเคมีต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ ·         ปัจจัยต่างๆ กับการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน ·         ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน ·         การเปรียบเทียบเทคนิคของการย่อขนาดแฟ้มข้อมูล ·         โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดเบื้องต้น ·         โปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โครงงานประยุกต์ใช้งาน (Application) ·          ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียนของโรงเรียน ·          ระบบจัดการข้อมูลการเงินส่วนบุคคล ·          ระบบจองตั๋วรถไฟบนอินเทอร์เน็ต ·          ระบบแนะนำเส้นทางเดินรถประจำทาง ·          โปรแกรมสังเคราะห์เสียงสำหรับคนตาบอดบนรถประจำทาง ·          โปรแกรมออกและตรวจข้อสอบ ·          โฮมเพจส่วนบุคคล ·          โปรแกรมช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น ·          โปรแกรมพจนานุกรมไทย-อังกฤษ
โครงงานพัฒนาเกม (Game Development) ·         เกมผจญภัยกับพระอภัยมณี ·         เกมอักษรเขาวงกต ·         เกมเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เกมผจญภัย
แหล่งข้อมูล http://www2.nectec.or.th/nsc
http://school.obec.go.th/nitadhatayai/project1.htm 
http://www.lks.ac.th/kuanjit/menustruture.htm
http://www.radompon.com/computerproject/wordpress/?page_id=2
http://www.rayongwit.ac.th/chanarat
 

สร้างโดย: 
อ.เครือวัลย์ สมมารถ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 537 คน กำลังออนไลน์