user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ตรวจสอบรายชื่อ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 1-4', 'node/75711', '', '18.226.34.117', 0, '4c8ee882c14899d21773084e6665ac13', 260, 1716032532) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

0403 วิวัฒนาการของวิทยุไทย 2

 

 

วิวัฒนาการของวิทยุไทย 2

 ที่มาของภาพ : http://image.mcot.net/media/images/2013-04-05/13651654212134.jpg

               ปี 2520 – 2530 ได้มีพัฒนาการครั้งสำคัญ ในวงการวิทยุ นั่นก็คือ การจัดตั้งองค์กรการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2520 โดยรวม บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เข้ามาอยู่ด้วยกัน ในช่วงรัฐบาลของ ท่านธานินทร์ กรัยวิเชียร พร้อมกับจัดตั้ง สำนักข่าวไทย และขยายเครือข่ายวิทยุไปสู่ภูมิภาค จนถึงปัจจุบันนี้มีสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.อยู่ในภูมิภาคถึง 52 สถานี แต่ก็หนีไม่พ้นความเป็นสื่อของรัฐ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ใดดำเนินการส่งวิทยุกระจายเสียง หรือ ส่งวิทยุโทรทัศน์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ซึ่งในความจริงแล้ว ยังไม่เคยมีการออกใบอนุญาตให้เอกชนรายใด ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเลยแม้แต่รายเดียว เอกชนจึงเข้ามามีบทบาท ในฐานะผู้เช่าเหมาช่วงเวลาจากทางสถานีเท่านั้น โดยเฉพาะการเช่าสถานีของทหาร 200 สถานีทั่วประเทศ มีไม่กี่รายที่เป็นผู้ผลิตรายการเอง ส่วนใหญ่ผู้ที่ผลิตรายการ และดำเนินรายการ คือ ผู้ที่เช่าช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (ในราคาที่แพงขึ้นจากเดิมหลายเท่าตัว) ฉะนั้นรูปแบบของรายการแต่ละรายการจึงมุ่งไปในเรื่องของธุรกิจ เป็นหลัก และที่เป็นรายได้ประจำของรายการ คือการรับจ้างเปิดเพลง อย่างที่เขาพูดกันว่า "เพลงละพัน วันละเพลง” เพื่อโฆษณาขายเทป แทบทุกรายการทุกสถานี เรียกว่า ทั้งยัดเยียด ทั้งข่มขืนใจคนฟังจนกระทั่งเพลงติดหูนั่นเอง
                ในช่วงปี 2530 – 2540 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้วงการวิทยุของไทย มีพัฒนาการที่แปลกใหม่ขึ้น เช่น การเปิดโอกาสให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาพูดคุยในรายการได้ แต่ด้วยเหตุที่วิทยุของไทยล้วนแต่เป็นสื่อของรัฐ ที่มีการควบคุมเนื้อหาที่เข้มงวด รายการที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาร่วมในรายการได้ จึงมีแต่รายการด้านบันเทิงเท่านั้น ส่วนรายการที่เป็นประเด็นกระทบกระทั่งรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจนั้น ประชาชน ผู้ฟัง ก็ไม่มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม
                  หลังจากปี 2540 เป็นต้นมา เมฆหมอกทะมึนที่กั้นระหว่างรัฐบาล และสื่อของรัฐ กับประชาชนมานานกว่า 70 ปี ก็ทำท่าว่าจะดีขึ้น เมื่อประชาชน มีโอกาสได้ร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ด้วย โดยเฉพาะใน มาตรา 40 ของกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่เปิดให้โอกาสประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งยังไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ประเทศไทยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2470 เป็นต้นมา และที่ผ่านมาคลื่นวิทยุต่างๆ ล้วนอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่ว่าหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน จะเป็นเจ้าของสื่อได้ คงมีหน่วยงานแค่เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ที่มีสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ได้ ทั้งนี้ก็เพราะคำว่า "เพื่อความมั่นคงของชาติ” เป็นสำคัญ นอกนั้นผลประโยชน์ก็เป็นของนายทุน และอีกเหตุผลหนึ่งที่คลื่นวิทยุมีค่ามหาศาล ก็คือ คลื่นวิทยุมีจำกัด แถมยังสร้างรายได้ เสริมอิทธิพล หนุนธุรกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย กับผู้มีอำนาจที่ถือครองอยู่ จึงเกิดการหวงแหน แก่งแย่งช่วงชิงถึงขั้นฆ่ากัน เป็นข่าวโด่งดังมาหลายครั้งที่ผ่านมา 

 ที่มาของภาพ : http://4.bp.blogspot.com/-yv2MlEpHSUA/TaJ0aYqrpNI/AAAAAAAAADA/Fzcf2JVoXdI/s1600/3.jpg

             มาลองคิดกันเล่นๆ ว่าในประเทศไทย ขณะนี้มีสถานีวิทยุรวมทั้งสิ้นประมาณ 525 สถานี ถ้าจะต้องแบ่งสถานีที่มีอยู่ให้ภาคประชาชนแค่ 20 % ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ก็คือ 105 สถานี ส่วนที่เหลืออีก 80% คือ 420 สถานี แบ่งครึ่งระหว่างภาครัฐกับเอกชนที่ทำธุรกิจ ฝ่ายละ 210 สถานี ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีสถานีวิทยุอยู่ในครอบครองจำนวนมากขณะนี้ คือ กรมประชาสัมพันธ์มีอยู่ 147 คลื่น กองทัพบกมี 139 คลื่น อ.ส.ม.ท. มี 62 คลื่น และตำรวจ 44 คลื่น ทุกหน่วยงานที่ว่าต่างก็กลัวว่าจะถูกยึดคลื่นคืน จึงทำให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นมา
               ซึ่งขณะนี้กรมประชาสัมพันธ์ ก็หันมาเล่นบทใหม่ คือ “บทแม่มดเจ้าเล่ห์ที่หยิบยื่นแอปเปิ้ลเคลือบยาพิษให้หนูน้อยหมวกแดง” ด้วยการแบ่งเวลาในชั่วโมงอับ (เวลาที่มีคนฟังน้อย) ให้กับกลุ่ม/องค์กรอย่าง “กลุ่มประชาสังคม” เข้าไปทำรายการในสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย แต่ละจังหวัดจะได้เวลาไม่เท่ากันบางจังหวัดได้วันละ 1-2 ชั่วโมง บางจังหวัดได้ถึง 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ขึ้นอยู่กับทางสถานีว่าจะมีนักจัดรายการไปแย่งกันซื้อเวลามากน้อยแค่ไหน ช่วงเวลาที่ขายไม่ออก ก็ยกให้ประชาสังคม มาดำเนินการดีกว่าทิ้งให้อยู่เฉยๆ
                ประโยชน์ที่ได้จากการแบ่งเวลาให้กลุ่มประชาสังคม"กรมประชาสัมพันธ์”ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว เช่น ได้ทั้งมิตร(พวก) ซึ่งเป็นพวกที่ค่อนข้างจะมีผลบวกผลลบกับภาครัฐมากที่สุด ได้ทั้งคนช่วยจัดรายการ ได้ทั้งบุญคุณ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะบอกกับประชาชนได้ว่าไอ้ 20% ของคลื่นวิทยุที่เรียกร้องกันนักหนา กรมประชาสัมพันธ์ เขาก็ให้มาตั้งนานแล้ว จะเรียกร้องเอาอะไรอีก และสถานีวิทยุอื่นๆ ก็เริ่มเอาอย่างบ้าง โดยการเจียดเวลาให้องค์กรภาคประชาชนสถานีละเล็กละน้อยอย่างเสียไม่ได้ เพราะเป็นคำสั่งจาก กรมประชาสัมพันธ์
  
 
สร้างโดย: 
ปราญชลี ศาศวัตเตชะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 258 คน กำลังออนไลน์