• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:9eaa1b0eafd4796f308fcad661a4ec7d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong>อีเอ็มบอล...ง่ายนิดเดียว</strong>\n</p>\n<p>\n<strong>ความเป็นมา<br />\n</strong>         อีเอ็มบอล หรือดังโงะ หลายคนเคยได้ยิน เคยรู้จักมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป สำหรับตัวผู้เขียนเองยอมรับว่าเคยได้รับฟังการทำลูกระเบิดจุลินทรีย์อีเอ็มบอลมาประมาณสองปีที่แล้ว หลังจากที่ไปศึกษาดูงานที่เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งในขณะนั้นก็ได้รับฟังมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เห็นจากตัวอย่างที่ชาวบ้านที่นั่นเค้าทำอีเอ็มบอล หรือเรียกว่าระเบิดน้ำลึกไว้เป็นตัวอย่างให้กับนักท่องเที่ยวดู ในครั้งแรกที่เห็นนั้นก็ยังนึกไปว่าช่างคล้ายกับลูกส้มโอเน่าที่หล่นใต้ต้นส้มโอในสวนแถวแม่กลองซะเหลือเกิน รู้แต่เพียงว่ามันมีคุณสมบัติช่วยทำให้คุณภาพน้ำรอบๆเกาะดีขึ้น ซึ่งเกาะพิทักษ์นี้เมื่อเริ่มรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากขึ้นก็ทำให้ชาวบ้านเค้านึกเป็นห่วงคุณภาพของทรัพยากรน้ำรอบๆเกาะ ที่เป็นดั่งสมบัติทางธรรมชาติที่พวกเค้าต้องหวงแหนเอาไว้เพราะในขณะนั้นเริ่มเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของชาวบ้านแล้วนั่นเอง พวกเค้าได้ร่วมกันทำลูกระเบิดอีเอ็ม แล้วนำไปโยนลงทะเลหรือตามป่าชายเลนจะช่วยเร่งให้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ในขณะนั้นก็ยังมิได้มีความสนใจขั้นตอนและวิธีการทำเจ้าลูกระเบิดอีเอ็มบอลสักเท่าไร คิดว่าคุณสมบัติของมันคงเหมือนกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพทั่วๆไปที่สามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียในชุมชนเหมือนกัน<br />\nและไม่ต้องมานั่งปั้นเป็นลูกกลมๆให้เสียเวลา<br />\n           หลังจากนั้นไม่นานได้ไปรับฟังการส่งเสริมการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลจากคณะวิทยากรทหารจากค่ายธนะรัชต์ จึงได้เริ่มสนใจศึกษาขั้นตอนวิธีการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลมากขึ้น จดบันทึกสูตรในการทำแล้วลองมาทำใช้เองที่บ้าน หลังจากที่ทำเสร็จได้ทดลองนำไปโยนบริเวณหนองน้ำขังหลังบ้าน เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสองสัปดาห์ก็สังเกตุเห็นได้ว่าน้ำเริ่มใสขึ้น กลิ่นเน่าเหม็นลดลง และหายเหม็นในที่สุด<br />\n            มีอยู่วันหนึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโรงธรรมได้เข้ามาปรึกษาที่สำนักงานเกษตรว่า โรงเรียนจะจัดงานเปิดโลกกิจกรรมให้เด็กๆได้เรียนรู้โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆมาร่วมเรียนรู้ด้วย โดยแบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้ให้เด็กๆร่วมฝึกปฏิบัติ จึงนำเสนอให้เด็กๆเรียนรู้ในการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลเพราะเห็นว่าเด็กๆ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไม่ยากจนเกินไป และยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆรักสิ่งแวดล้อม รู้จักหวงแหนรักษาแม่น้ำลำคลองในชุมชนของตน<br />\n             การทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลนั้นมีมากมายหลายสูตร ในสูตรที่นำไปสอนเด็กๆนั้นก็เป็นสูตรที่ง่าย เด็กๆ สามารถนำไปทำต่อที่บ้านได้ วัตถุดิบในการทำนั้นหาได้ไม่ยากในท้องถิ่น และยังสามารถนำของเหลือใช้ในครัวเรือน คือน้ำซาวข้าวที่เรามักจะทิ้งไปมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย หากบ้านใดหากากน้ำตาลที่ใช้ในการหมักน้ำอีเอ็มไม่ได้ อาจจะใช้น้ำมะพร้าวอ่อนที่ผ่าแล้วใส่ทันทีแทนก็ได้ ส่วนหัวเชื้ออีเอ็มหากไม่สามารถหาซื้อได้ก็อาจจะเก็บเอาเศษดินหรือเศษใบไม้ในสวน หรือถ้าจะให้ดีก็เอาดินบริเวณที่มีต้นไผ่ขึ้นก็จะมีจุลินทรีย์ตาม\n</p>\n<p>\n<strong>การดำเนินการ<br />\nการเตรียมส่วนผสม</strong> ในการทำอีเอ็มบอล มีส่วนของน้ำ กับของแห้ง ดังนี้<br />\n-การเตรียมวัสดุส่วนน้ำ<br />\n๑. ใช้น้ำซาวข้าว ๑ ลิตร<br />\n๒. ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ๑ ช้อนโต๊ะ<br />\n๓. กากน้ำตาล ๑ ช้อนโต๊ะ<br />\n๔. หมักทิ้งไว้นานประมาณ ๗ วัน<br />\n-การเตรียมวัสดุส่วนแห้ง<br />\n๑. มูลสัตว์ ๑ ส่วน<br />\n๒. ดินร่วน ๑ ส่วน<br />\n๓. รำละเอียด ๑ ส่วน<br />\n๔. รำหยาบหรือแกลบป่น ๑ ส่วน<br />\n<strong>ขั้นตอนการทำ<br />\n</strong>๑. นำส่วนผสมของวัสดุแห้งมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำวัสดุส่วนน้ำมาผสมทีละน้อย นวดให้เข้ากัน ไม่ให้เละจนเกินไป<br />\n๒. ปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณลูกเปตอง<br />\n๓. วางเรียงบนพื้นพลาสติกทิ้งไว้ในที่ร่มผึ่งให้แห้ง (ห้ามโดนแสงแดด) เป็นเวลาประมาณ ๗ วัน<br />\n๔. เก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติก หรือห่อด้วยกระดาษ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้น (เก็บไว้ใช้ได้นานประมาณ ๓ เดือน)\n</p>\n<p>\n<strong>ประโยชน์จากการใช้อีเอ็มบอล<br />\n</strong>๑. ใช้เพื่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะแหล่งที่มีโคลนตะกอนน้ำลึกหรือน้ำไหลได้ผลดี ควรใช้เป็นประจำ จนกว่าปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำจะมีมากพอในการบำบัดน้ำเสีย<br />\n๒. ใช้เพื่อเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นไม้ โดยนำไปฝังกลบใต้ต้น (๑ ก้อน/๑ ต้น) หรือนำไปใช้โดยทุบอีเอ็มบอล ๑ ก้อนให้ละเอียด แล้วหมักกับน้ำ ๑๐๐ ลิตร ทิ้งไว้ ๑ คืน (นำไปรดต้นไม้)<br />\n๓. ช่วยลดสารพิษต่างๆ หรือสารเคมี ให้นำรดก่อนการเก็บเกี่ยวจะช่วยลดสารพิษให้กับผักและผลไม้ลงได้<br />\n๔. ปรับสภาพดิน น้ำ อากาศให้ดีขึ้น ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ให้เป็นกลาง<br />\n๕. ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ (ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล) ให้กับสัตว์น้ำและพืชในน้ำ<br />\n๖. ช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เลนก้นบ่อ หรือสารแขวนลอยต่างๆ<br />\n๗. ใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา ทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น อัตราการเน่าของกุ้ง,ปลาลดลง(อัตราการใช้ ๑ ก้อน/พื้นที่ ๑๐ ลูกบาศก์เมตร/๑ เดือน)<br />\n๘. ใช้ในนาข้าว ช่วยให้น้ำมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น เวลาน้ำท่วมข้าวจะไม่เน่าตาย<br />\n๙. ใช้ในยางพารา ทาหน้ายางสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ ทำให้น้ำยางเพิ่มขึ้น (โดยใช้ ๑ ก้อนทุบให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำซาวข้าวที่หมักกับหัวเชื้ออีเอ็มและกากน้ำตาลแล้ว ๒๐ วัน)<br />\n๑๐. ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสีย หรือมูลสัตว์ได้<br />\n๑๑. ใช้ใส่บำบัดในโถส้วมที่บ้าน โดยใช้ ๑ ก้อนทุบให้ละเอียดแล้วใสลงในโถส้วม (๑ก้อน/๑เดือน)ทำให้ส้วมเต็มช้าลง\n</p>\n<p>\n<strong>ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ<br />\n</strong>1. สังเกตดูว่ามีราขาวขึ้นแสดงว่าใช้ได้เลย ถ้ามีราเขียวขึ้นไม่แนะนำให้นำไปใช้ เพราะว่ามีจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ให้นำไปจุ่มใน EM อีกครั้งและใช้ได้ทันที<br />\n2. เมื่อนำก้อนอีเอ็มบอลไปใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสีย หลังจากผ่านไปเป็นเวลา ๑ สัปดาห์กลิ่นน้ำที่เคยเน่าเสียจะเริ่มดีขึ้น<br />\n๓. ส่วนประกอบของรำละเอียดเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และสัตว์น้ำ<br />\n๔. ส่วนประกอบของรำหยาบ หรือแกลบป่นมีคุณสมบัติในการรักษาอุณหภูมิของลูกอีเอ็มบอลให้คงที่\n</p>\n<p>\n<strong>ที่มาของข้อมูล<br />\n</strong>          จากการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับค่ายวิชาการของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดโรงธรรม โรงเรียนวัดคู้สนามจันทร์ โรงเรียนจตุวัฏมหาราชานุสรณ์ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์<br />\nนางสาวภาณุมาศ หมดมลทิน<br />\nตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับปฏิบัติการ<br />\n๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔<br />\nสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม<br />\nโทร. ๐๓๔-๗๑๑๗๑๑\n</p>\n', created = 1719814933, expire = 1719901333, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:9eaa1b0eafd4796f308fcad661a4ec7d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

อีเอ็มบอล...ง่ายนิดเดียว

รูปภาพของ ssspoonsak

อีเอ็มบอล...ง่ายนิดเดียว

ความเป็นมา
         อีเอ็มบอล หรือดังโงะ หลายคนเคยได้ยิน เคยรู้จักมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป สำหรับตัวผู้เขียนเองยอมรับว่าเคยได้รับฟังการทำลูกระเบิดจุลินทรีย์อีเอ็มบอลมาประมาณสองปีที่แล้ว หลังจากที่ไปศึกษาดูงานที่เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งในขณะนั้นก็ได้รับฟังมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เห็นจากตัวอย่างที่ชาวบ้านที่นั่นเค้าทำอีเอ็มบอล หรือเรียกว่าระเบิดน้ำลึกไว้เป็นตัวอย่างให้กับนักท่องเที่ยวดู ในครั้งแรกที่เห็นนั้นก็ยังนึกไปว่าช่างคล้ายกับลูกส้มโอเน่าที่หล่นใต้ต้นส้มโอในสวนแถวแม่กลองซะเหลือเกิน รู้แต่เพียงว่ามันมีคุณสมบัติช่วยทำให้คุณภาพน้ำรอบๆเกาะดีขึ้น ซึ่งเกาะพิทักษ์นี้เมื่อเริ่มรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากขึ้นก็ทำให้ชาวบ้านเค้านึกเป็นห่วงคุณภาพของทรัพยากรน้ำรอบๆเกาะ ที่เป็นดั่งสมบัติทางธรรมชาติที่พวกเค้าต้องหวงแหนเอาไว้เพราะในขณะนั้นเริ่มเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของชาวบ้านแล้วนั่นเอง พวกเค้าได้ร่วมกันทำลูกระเบิดอีเอ็ม แล้วนำไปโยนลงทะเลหรือตามป่าชายเลนจะช่วยเร่งให้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ในขณะนั้นก็ยังมิได้มีความสนใจขั้นตอนและวิธีการทำเจ้าลูกระเบิดอีเอ็มบอลสักเท่าไร คิดว่าคุณสมบัติของมันคงเหมือนกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพทั่วๆไปที่สามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียในชุมชนเหมือนกัน
และไม่ต้องมานั่งปั้นเป็นลูกกลมๆให้เสียเวลา
           หลังจากนั้นไม่นานได้ไปรับฟังการส่งเสริมการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลจากคณะวิทยากรทหารจากค่ายธนะรัชต์ จึงได้เริ่มสนใจศึกษาขั้นตอนวิธีการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลมากขึ้น จดบันทึกสูตรในการทำแล้วลองมาทำใช้เองที่บ้าน หลังจากที่ทำเสร็จได้ทดลองนำไปโยนบริเวณหนองน้ำขังหลังบ้าน เมื่อเวลาผ่านไปประมาณสองสัปดาห์ก็สังเกตุเห็นได้ว่าน้ำเริ่มใสขึ้น กลิ่นเน่าเหม็นลดลง และหายเหม็นในที่สุด
            มีอยู่วันหนึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโรงธรรมได้เข้ามาปรึกษาที่สำนักงานเกษตรว่า โรงเรียนจะจัดงานเปิดโลกกิจกรรมให้เด็กๆได้เรียนรู้โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆมาร่วมเรียนรู้ด้วย โดยแบ่งกลุ่มเป็นฐานการเรียนรู้ให้เด็กๆร่วมฝึกปฏิบัติ จึงนำเสนอให้เด็กๆเรียนรู้ในการทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลเพราะเห็นว่าเด็กๆ สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไม่ยากจนเกินไป และยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กๆรักสิ่งแวดล้อม รู้จักหวงแหนรักษาแม่น้ำลำคลองในชุมชนของตน
             การทำลูกระเบิดอีเอ็มบอลนั้นมีมากมายหลายสูตร ในสูตรที่นำไปสอนเด็กๆนั้นก็เป็นสูตรที่ง่าย เด็กๆ สามารถนำไปทำต่อที่บ้านได้ วัตถุดิบในการทำนั้นหาได้ไม่ยากในท้องถิ่น และยังสามารถนำของเหลือใช้ในครัวเรือน คือน้ำซาวข้าวที่เรามักจะทิ้งไปมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย หากบ้านใดหากากน้ำตาลที่ใช้ในการหมักน้ำอีเอ็มไม่ได้ อาจจะใช้น้ำมะพร้าวอ่อนที่ผ่าแล้วใส่ทันทีแทนก็ได้ ส่วนหัวเชื้ออีเอ็มหากไม่สามารถหาซื้อได้ก็อาจจะเก็บเอาเศษดินหรือเศษใบไม้ในสวน หรือถ้าจะให้ดีก็เอาดินบริเวณที่มีต้นไผ่ขึ้นก็จะมีจุลินทรีย์ตาม

การดำเนินการ
การเตรียมส่วนผสม
ในการทำอีเอ็มบอล มีส่วนของน้ำ กับของแห้ง ดังนี้
-การเตรียมวัสดุส่วนน้ำ
๑. ใช้น้ำซาวข้าว ๑ ลิตร
๒. ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ๑ ช้อนโต๊ะ
๓. กากน้ำตาล ๑ ช้อนโต๊ะ
๔. หมักทิ้งไว้นานประมาณ ๗ วัน
-การเตรียมวัสดุส่วนแห้ง
๑. มูลสัตว์ ๑ ส่วน
๒. ดินร่วน ๑ ส่วน
๓. รำละเอียด ๑ ส่วน
๔. รำหยาบหรือแกลบป่น ๑ ส่วน
ขั้นตอนการทำ
๑. นำส่วนผสมของวัสดุแห้งมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำวัสดุส่วนน้ำมาผสมทีละน้อย นวดให้เข้ากัน ไม่ให้เละจนเกินไป
๒. ปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณลูกเปตอง
๓. วางเรียงบนพื้นพลาสติกทิ้งไว้ในที่ร่มผึ่งให้แห้ง (ห้ามโดนแสงแดด) เป็นเวลาประมาณ ๗ วัน
๔. เก็บรักษาไว้ในถุงพลาสติก หรือห่อด้วยกระดาษ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้น (เก็บไว้ใช้ได้นานประมาณ ๓ เดือน)

ประโยชน์จากการใช้อีเอ็มบอล
๑. ใช้เพื่อบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะแหล่งที่มีโคลนตะกอนน้ำลึกหรือน้ำไหลได้ผลดี ควรใช้เป็นประจำ จนกว่าปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำจะมีมากพอในการบำบัดน้ำเสีย
๒. ใช้เพื่อเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นไม้ โดยนำไปฝังกลบใต้ต้น (๑ ก้อน/๑ ต้น) หรือนำไปใช้โดยทุบอีเอ็มบอล ๑ ก้อนให้ละเอียด แล้วหมักกับน้ำ ๑๐๐ ลิตร ทิ้งไว้ ๑ คืน (นำไปรดต้นไม้)
๓. ช่วยลดสารพิษต่างๆ หรือสารเคมี ให้นำรดก่อนการเก็บเกี่ยวจะช่วยลดสารพิษให้กับผักและผลไม้ลงได้
๔. ปรับสภาพดิน น้ำ อากาศให้ดีขึ้น ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ให้เป็นกลาง
๕. ช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำ (ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล) ให้กับสัตว์น้ำและพืชในน้ำ
๖. ช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูล เลนก้นบ่อ หรือสารแขวนลอยต่างๆ
๗. ใช้ในบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา ทำให้คุณภาพของน้ำดีขึ้น อัตราการเน่าของกุ้ง,ปลาลดลง(อัตราการใช้ ๑ ก้อน/พื้นที่ ๑๐ ลูกบาศก์เมตร/๑ เดือน)
๘. ใช้ในนาข้าว ช่วยให้น้ำมีออกซิเจนเพิ่มขึ้น เวลาน้ำท่วมข้าวจะไม่เน่าตาย
๙. ใช้ในยางพารา ทาหน้ายางสามารถป้องกันโรคต่างๆได้ ทำให้น้ำยางเพิ่มขึ้น (โดยใช้ ๑ ก้อนทุบให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำซาวข้าวที่หมักกับหัวเชื้ออีเอ็มและกากน้ำตาลแล้ว ๒๐ วัน)
๑๐. ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากน้ำเสีย หรือมูลสัตว์ได้
๑๑. ใช้ใส่บำบัดในโถส้วมที่บ้าน โดยใช้ ๑ ก้อนทุบให้ละเอียดแล้วใสลงในโถส้วม (๑ก้อน/๑เดือน)ทำให้ส้วมเต็มช้าลง

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
1. สังเกตดูว่ามีราขาวขึ้นแสดงว่าใช้ได้เลย ถ้ามีราเขียวขึ้นไม่แนะนำให้นำไปใช้ เพราะว่ามีจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ให้นำไปจุ่มใน EM อีกครั้งและใช้ได้ทันที
2. เมื่อนำก้อนอีเอ็มบอลไปใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสีย หลังจากผ่านไปเป็นเวลา ๑ สัปดาห์กลิ่นน้ำที่เคยเน่าเสียจะเริ่มดีขึ้น
๓. ส่วนประกอบของรำละเอียดเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และสัตว์น้ำ
๔. ส่วนประกอบของรำหยาบ หรือแกลบป่นมีคุณสมบัติในการรักษาอุณหภูมิของลูกอีเอ็มบอลให้คงที่

ที่มาของข้อมูล
          จากการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับค่ายวิชาการของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดโรงธรรม โรงเรียนวัดคู้สนามจันทร์ โรงเรียนจตุวัฏมหาราชานุสรณ์ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์
นางสาวภาณุมาศ หมดมลทิน
ตำแหน่ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับปฏิบัติการ
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม
โทร. ๐๓๔-๗๑๑๗๑๑

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1005 คน กำลังออนไลน์