รูปปั้น ประติมากรรม : แหล่งเรียนรู้โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

รูปภาพของ sss28275

 

ภาพโดย นางสาว จัสมิน ดวงคำสวัสดิ์

ประวัติรูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร


ศิลปะสมัย : ศรีวิชัย


ศูนย์กลาง :  บนเกาะสุมาตราครอบคลุมแหลมมลายูและดินแดนตอนใต้ของไทย


ได้รับอิทธิพลมาจาก :  ประเทศอินเดีย  

              ลักษณะของพระพุทธรูปของสมัยศรีวิชัยจะมีพระวรกายอวบอ้วน ได้สัดส่วนกว่าสมัยทวารวดี พระหัตถ์และพระบาทไม่โต ได้สัดส่วนกับพระวรกาย พระเนตร และพระโอษฐ์เล็ก พระเกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี ขมวดพระเกศาเล็กกว่า
              

              อวโลกิเตศวรองค์ที่กล่าวถึงนี้ก็คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริดสมัยศรีวิชัยขนาดใหญ่เท่าตัวคน ชำรุดเหลือครึ่งท่อน มี 2 กร สูง 114 เซนติเมตร ได้ชื่อว่าเป็นประติมากรรมชิ้นที่งดงามที่สุดในศิลปะสมัยศรีวิชัย (อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18) สภาพเดิมก่อนที่จะได้พบนั้นถูกทิ้งอยู่บริเวณสนามหญ้าหน้ากำแพงวัดพระบรมธาตุไชยาฯ เนื่องจากคนรุ่นหลังไม่ทราบว่าเป็นประติมากรรมในพระพุทธศาสนา เมื่อเห็นว่ามิใช่พระพุทธรูปและอยู่ในสภาพชำรุดหักพังเพียงครึ่งองค์จึงไม่มีผู้ใดสนใจ จนกระทั่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ. 2448  จึงได้อัญเชิญไปไว้ที่พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2469 ในสมัยรัชกาลที่ 7  จึงได้นำไปจัดตั้งเป็นศิลปะชิ้นสำคัญประจำที่พิพิธภัณฑ์ฯ สืบมา  

 

 

               ตามความเชื่อของพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์เป็นที่เคารพบูชา เพราะเชื่อกันว่าพระโพธิสัตว์มีหน้าที่ช่วยเหลือ ผู้ให้แสงสว่าง และผู้สอนพระธรรม แต่ก็ยังมีลักษณะทางโลกปะปนด้วย การสร้างสมัยแรก ๆ เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย นิยมสร้างให้มีลักษณะเป็นแบบกษัตริย์ ต่อมาได้สร้างให้มีลักษณะเป็นนักบวชมากขึ้น มีแต่ชฎามงกุฎเท่านั้นที่เหมือนกัน จากนั้นได้มีวิวัฒนาการในเรื่องเครื่องประดับตกแต่งมากยิ่งขึ้น มี 2 กรบ้าง 4 กรบ้าง วิธีสังเกตว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรดูได้จากพระพุทธรูปองค์เล็กเหนือศิราภรณ์และถือดอกบัว ส่วนพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยจะมีสถูป หรือเจดีย์องค์เล็ก ๆ เหนือศิราภรณ์และถือดอกชบา    

   

                      ในเมืองไทยได้พบพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมากที่ภาคใต้ มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เท่าคนจริง มีทั้งประทับนั่งและประทับยืน มี 2 กร และ 4 กร ที่พบมาก ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา อำเภอเมืองฯ และอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะประติมากรรมชิ้นเอกล้วนพบที่อำเภอไชยาทั้งสิ้น ส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ซึ่งแพร่หลายเข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีทั้งที่เป็นศิลปะสมัยคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-13) และสมัยปาละ (พุทธศตวรรษที่ 13-17)            
                

                  นอกจากนี้ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับชิ้นที่พบในเกาะชวาภาคกลางซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเช่นเดียวกัน   

 

 

ประวัติพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร


                  คำว่า อวโลกิเตศวร ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายนัยด้วยกัน แต่โดยรูปศัพท์แล้ว คำว่าอวโลกิเตศวรมาจากคำสันสกฤตสองคำคือ อวโลกิต กับ อิศวร แปลได้ว่าผู้เป็นใหญ่ที่เฝ้ามองจากเบื้องบน หรือพระผู้ทัศนาดูโลก ซึ่งหมายถึงเฝ้าดูแลสรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์นั่นเอง, ซิมเมอร์ นักวิชาการชาวเยอรมันอธิบายว่า พระโพธิสัตว์องค์นี้ทรงเป็นสมันตมุข คือ ปรากฏพระพักตร์อยู่ทุกทิศอาจแลเห็นทั้งหมด ทรงเป็นผู้ที่สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ คืออาจจะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อใดก็ได้ แต่ทรงยับยั้งไว้เนื่องจากความกรุณาสงสารต่อสรรพสัตว์ นอกจากนี้นักปราชญ์พุทธศาสนาบางท่านยังได้เสนอความเห็นว่า คำว่า อิศวร นั้น เป็นเสมือนตำแหน่งที่ติดมากับพระนามอวโลกิตะ จึงถือได้ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เดียวที่มีตำแหน่งระบุไว้ท้ายพระนาม ในขณะที่พระโพธิสัตว์พระองค์อื่นหามีไม่ อันแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้

 

 

 ภาพโดย นางสาว จัสมิน ดวงคำสวัสดิ์

 

                  พุทธศาสนิกชนชาวจีนจะรู้จักพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ในพระนามว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต คือผู้เพ่งสดับเสียงแห่งโลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักให้อรรถาธิบายเป็นใจความว่าหมายถึง พระผู้สดับฟังเสียงคร่ำครวญของสัตว์โลก (ที่กำลังตกอยู่ในห้วงทุกข์) คำว่ากวนซีอิมนี้พระกุมารชีวะชาวเอเชียกลางผู้ไปเผยแผ่พระศาสนาในจีนเป็นผู้แปลขึ้น ต่อมาตัดออกเหลือเพียงกวนอิมเท่านั้น เนื่องจากคำว่าซีไปพ้องกับพระนามของ จักรพรรดิถังไท่จง หรือ หลีซีหมิง นั่นเอง

 

 


  
  


 

รูปภาพของ sss28116

ว๊าว!! น่าสนใจ !!!

สวยจัง ** เจ๋งจริงฮ๊า Laughing

รูปภาพของ sss28164

ถ้าจะสวยเว่อขนาดนี้นะ:)))))))))))

*Num

รูปภาพของ sss28167

เจ๋งอ่ะ โอเคๆๆๆๆๆๆๆๆๆ >< สวยๆๆ ชอบๆๆๆ

รูปภาพของ sss28277

เลิศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ! :DD

รูปภาพของ sss28270

อยากกดไลค์!!!!

รูปภาพของ sss28263

สวยงามเนื้อหาประทับใจจ้า

รูปภาพของ sss28169

เนื้อหาดี ทำก็สวย เจ๋งจริงงงงงงง ! (Y)

รูปภาพของ sss28199

อั๊ยยะ อาร์ตมากอะ สู๊ดดดยอดดดดด *0*

รูปภาพของ sss28281

เธอทำสวยเกินไป :)

รูปภาพของ sss28256

เธอทำสวยเกินไปน่ะ ^_^
อาร์ตมาก  เนื้อหาก็เด่น
very nice ><

รูปภาพของ sss28254

ว้าวๆๆ ทำบล๊อกดีจัง ชอบมากเลยย :)

รูปภาพของ sss28267

ตกแต่งเว็บสวยงามดี ได้รับความรู้เพิ่มเติม:)

รูปภาพของ sss28252

สวยๆๆๆ เนื้อหาก็ดี

ได้รับความรู้เยอะมาก

รูปภาพของ ssspoonsak

ตรวจครั้งที่ 2 ยังไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติม

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

ผ่านมา 20 วัน ไม่แก้ไขอะไรเลยนะจ้ะ

1. น่าจะทำเป็นป้ายแบนเนอร์ชื่อเรื่อง

2. รูปภาพที่ถ่ายมาน่าจะมีการตกแต่งให้ดูดี

3. ควรบอกสถานที่อยู่ของแหล่งเรียนรู้ และจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่นำเสนอว่ามีกี่แห่ง

4. ควรมีข้อคิดเห็นจากสมาชิกของชาวสตรีศรีสุริโยทัย

5. ใช้ Google Map บอกที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้

6. ควรสรุปเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 5 บรรทัด

7. ควรบูรณาการเข้ากับสาระวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาที่กำลังเรียนอยู่ให้ได้

8. ใช้คำสั่ง <!--pagebreak--> เพื่อแบ่งหน้าให้เหมาะสมด้วย

จึงขอมอบนกแก้วไปเลี้ยงก่อนนะ

 
แหล่งที่มาของภาพ http://img.kapook.com/image/pet/indian-parrot.jpg

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 248 คน กำลังออนไลน์