เตรียมตัวให้พร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE

รูปภาพของ ssspoonsak

เตรียมตัวให้พร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE

กรุงเทพมหานครพร้อมรับมือกับคลื่นพายุซัดฝั่ง
              เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียม มาตรการเพื่อรับมือกับคลื่นพายุ ซัดฝั่ง (STORM SURGE) ไว้พร้อมแล้ว โดยได้จัดเตรียมแผนปฏิบัติการ ทั้ง ก่อน ระหว่าง และหลัง เกิดภัยพิบัติ แผนเตือนภัยและแผนการอพยพ ประชาชน รวมทั้งจัดให้มีการ ซักซ้อมแผนเตือนภัยและแผนอพยพอีกด้วย

              หากเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง กรุงเทพมหานคร  สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้ล่วงหน้า 4-6 วัน  และกำหนดสีเพื่อแสดงความรุนแรงในระดับต่าง ๆ คือ 
  สีแดง :  พื้นที่ที่จะเกิดภัยพิบัติรุนแรงมาก อาจมีคลื่นสูง 1-3 เมตร
  สีส้ม : พื้นที่ที่มีความรุนแรงน้อย อาจเกิดคลื่นสูง 0.2-1 เมตร   
  ในขณะที่ สีเหลือง และสีเขียว จะแสดงถึงพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อย สามารถควบคุมและแก้ไขได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งประชาชนจะสามารถติดตามสถานการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ www.bangkok.go.th
 
          พื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ

            ฝั่งพระนคร
            จากชายฝั่งถึงถนนสุขุมวิทสายเก่า (พื้นที่สีแดง
            จากถนนสุขุมวิทสายเก่า ถึงถนนบางนา-ตราด(พื้นที่สีส้ม) และบางส่วนของเขตบางนา

            ฝั่งธนบุรี
            จากชายฝั่งทะเลถึงคลองสนามชัย (พื้นที่สีแดง
            จากคลองสนามชัยถึงถนนพระรามสอง (พื้นที่สีส้ม) พื้นที่เขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ บางส่วนของ  เขตจอมทองและเขต
            ราษฎร์บูรณะ

เตรียมตัวให้พร้อมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง STORM SURGE

  

     1. เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์หรือของใช้ที่จำเป็นให้พออย่างน้อย 3 วัน เช่น น้ำดื่มสะอาด อาหารแห้งที่รับประทานได้เลย ยารักษาโรค ไฟฉาย มีด เชือก เสื้อผ้าแห้ง นกหวีด  อุปกรณ์การนอน บังแดดบังฝน

 

     2. พกกระเป๋าบรรจุเอกสารสำคัญ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร แผ่นการ์ด ชื่อบุคคลในครอบครัว ที่อยู่ และความต้องการพิเศษ เช่น โรคประจำตัว อาการแพ้ยา พกติดตัวไว้ตลอดเวลา ถ่ายสำเนา เอกสารเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต บัตรประกันสังคม ฯลฯ ไว้หลาย ๆ ชุด และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ตามจุดต่าง ๆ ของบ้าน

 

     3. หมั่นฝึกซ้อมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติและการอพยพหลบภัยตามเส้นทางปลอดภัยที่สำนักงานเขตพื้นที่กำหนด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

     4. จดชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ของสมาชิกในครอบครัว หรือญาติที่อยู่ต่างจังหวัด เพื่อติดต่อกรณีฉุกเฉิน เช่น เสียชีวิต สูญหาย เป็นต้น เขียนชื่อ-สกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ผู้ปกครอง ติดไว้กับเสื้อผ้าของเด็ก เพื่อป้องกันการพลัดหลง

 

     5. หัวหน้าครอบครัวควรวางแผนรับมือภัยพิบัติและสอนสมาชิกทุกคนในครอบครัวให้เรียนรู้เส้นทางหนีภัย พื้นที่ปลอดภัย และการช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น 

 

     6. เรียนรู้ตำแหน่งและศึกษาวิธีการเปิดปิดของอุปกรณ์ ต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งประตูน้ำ (Valve)  และคัตเอาท์ไฟฟ้า วาล์วถังก๊าซ 

 

     7. ดูแลที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย  ด้วยการหมั่นซ่อมแซมโครงสร้างอาคารบ้านเรือนให้มั่นคงแข็งแรง มีประตูทางออกหลาย ๆ ด้าน จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางเส้นทางออก บริเวณประตู บันได หรือระเบียงบ้าน

 

     8. เมื่อเกิดภัยพิบัติ ให้ช่วยเหลือเด็กและผู้สูงอายุ และอพยพออกจากพื้นที่เกิดภัย อย่างเร่งด่วน

 

 


 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 526 คน กำลังออนไลน์