user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ คุณครูเดือนฉาย หนูแสนดี ง31101 วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม. 4 ภาคเรียนที่ 1/2554', 'node/100081', '', '18.224.96.239', 0, 'aa5d1d33e75f4ea988add235a576ec29', 156, 1715923256) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ประวัติศาสตร์อยุธยา พระบรมไตรโลกนาถ

 พระบรมไตรโลกนาถ 

ราชวงศ์ : สุพรรณบุรี
ปีที่ครองราชย์ : พ.ศ.1991-2031 


     พระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 8 ของอาณาจักรอยุธยา พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา คือ 40 ปี และทรงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในฐานะผู้รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยากับการทรงปฎิรูปการปกครองของอยุธยาด้วยการตั้งระบบศักดินาและการจัดระบบขุนนางให้เป็น 2 ฝ่ายคือ กลาโหมและมหาดไทย


     พระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นโอรสของเจ้าสามพระยา และมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นพระองค์จึงมีเชื้อสายของฝ่ายอยุธยา(ราชวงศ์สุพรรณบุรี) และราชวงศ์สุโขทัย เมื่อพระธรรมราชาที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัยเสด็จสวรรคต พระบรมไตรโลกนาถเมื่อยังทรงดำรงตำแหน่ง พระราเมศวร พระชนมายุเพียง 7 พรรษา ได้ถูกส่งขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้น) แทน และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอยุธยาเมื่อพระชนม์ 17 พรรษา

     ในการรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยานั้น พระบรมไตรโลกนาถได้เปรียบเนื่องจากมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นจึงน่าจะมีพระญาติพระวงศ์นั้นทรงช่วยเหลือและเมื่อเจ้าองค์หนึ่งของสุโขทัยหันไปเข้ากับอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) พระบรมไตรโลกนาถได้ย้ายเมืองหลวงจากอยุธยามาอยู่ที่พิษณุโลกเป็นการชั่วคราวทำให้สามารถปกครองและป้องกันอาณาจักรสุโขทัยได้ง่ายขึ้น


     พระบรมไตรโลกนาถเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงมีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ในช่วงที่ทรงปกครองอยู่ที่พิษณุโลก พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับศาสนาแบบฉบับของพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยคือตามแบบของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับและยกย่องจากฝ่ายราชวงศ์สุโขทัย ในปี พ.ศ. 2008 พระองค์ทรงออกผนวชเป็นเวลา 8 เดือน (ตามรอยพระธรรมราชาที่ 1) และทรงให้มีการบูรณะฟื้นฟูวัด เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองพิษณุโลก และทรงให้มีการก่อสร้างปรางค์ที่ วัดจุฬามณี อันเป็นที่ประทับในระหว่างที่ออกผนวช


     สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีการปฏิรูปการปกครองทำให้เป็นระบบราชการ (เจ้าและขุนนาง) มากขึ้น เป็นการปกครองที่เหมาะสมกับการเป็นอาณาจักรใหญ่ อยุธยาเปลี่ยนจากการปกครองที่เรียบง่ายเป็นการปกครองที่มีลักษณะเป็นแว่นแคว้นหรือเมืองในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้นๆ มีการแบ่งฝ่ายการปกครองเป็นทหารกับพลเรือน มีตำแหน่งกลาโหม ปกครองฝ่ายทหารและตำแหน่งมหาดไทย ปกครองฝ่ายพลเรือน เป็นการแบ่งและการเพิ่มตำแหน่งขุนนางสูงสุดแต่เดิมมีเพียง 4 ตำแหน่ง (เวียง วัง คลัง นา) ให้กลายเป็น 6 ตำแหน่ง โดย 2 ตำแหน่งใหม่มีฐานะสูงกว่า (เป็นอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีธรรมดา)
      อย่างไรก็ตาม บทบาทหน้าที่ของกลาโหมและมหาดไทยอาจจะมิได้หมายความว่าแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน คือ ทหารมีหน้าที่รบ ตรงกันข้ามกับพลเรือนที่ไม่ต้องออกสงครามอย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน ในอดีตนั้นต่างคนต่างมีบทบาททั้งด้านการทหารด้านพลเรือนและด้านอื่นๆ อีกมากมายที่เหมือนกัน หากแต่ต่างกันเฉพาะ “พื้นที่” ที่แบ่งการปกครอง กล่าวคือ กลาโหมผกครองพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองหลวง ส่วนมหาดไทยปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองหลวง และเมื่อการค้าของอยุธยากับต่างประเทศเจริญรุ่งเรือง “กรมพระคลัง” ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติของกษัตริย์ ก็มีบาบาทหน้าที่เพิ่มเรื่องการค้าและความสัมพันธ์กับต่างชาติ และกลายเป็นกรมที่มีบทบาทหน้าที่เหมือนกับกลาโหมและมหาดไทย คือ มีพื้นที่หัวเมืองชายฝั่งทะเลอยู่ใต้การปกครอง


     นอกจากจะจัดการปกครองดังกล่าว พระบรมไตรโลกนาถยังได้ออกกฎมาย ซึ่งเป็นรากฐานระบบศักดินาของอยุธยา ซึ่งได้ใช้มาเรื่อยจนกระทั้งสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5) กฎหมายสำคัญที่พระองค์ทรงประกาศใช้ก็คือ กฎมณเฑียรบาล พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งตามตัวอักษรกฎหมายเหล่านี้กำหนดให้ เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร (ไพร่-ทาส) ทุกคนมี “ศักดินา” ประจำตัว ประหนึ่งว่าแต่ละคนมีที่ดินจำนวนหนึ่งตามฐานะสูงต่ำของตน จาก 5-100,000 ไร่
     จากกฎหมายของอยุธยาตั้งแต่แรก ถือกันว่าที่ดินนั้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และจะทรงแบ่งให้ทุกคนในพระราชอาณาจักรตามฐานะของบุคคล แต่ก็เชื่อกันว่า “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถนั้นมิได้เป็นกฎหมายว่าด้วยการแบ่งสรรที่ดิน (แม้พระมหากษัตริย์จะยืนยันใช้สิทธิความเป็นเจ้าของอยู่ สามารถจะพระราชทานหรือยึดคืนไดก็ตาม) “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นกฎหมายการกำหนดชนชั้นทางชนชั้นของบุคคลมากกว่า กล่าวคือ “ศักดินา” เป็นเครื่องชี้บ่งบอกฐานะอันสูงส่งต่างกันนั้น กำหนดความสำพันธ์ระหว่างบุคคล กำหนดวิถีทางชีวิตกระทั่งการอยู่กินแม้กระทั่งการแต่งตัว การสร้างบ้านเรือน และ “ศักดินา” ก็ยังใช้เป็นเครื่องมือในการปรับ(ไหม) หรือลงโทษทางกฎหมายอีกด้วย

 

คำถาม

1. ข้อความที่ค้นคว้ามาแสดงถึงช่วงเวลา และยุคสมัยใด

ตอบ ช่วงเวลา พ.ศ. 1991-2031 สมัยอยุธยา

2. ยุคสมัยที่เกิดเหตุการณ์นั้น มีลักษณะเด่นอย่างไร

ตอบ รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยา และ ปฎิรูปการปกครองของอยุธยาด้วยการตั้งระบบศักดินาและการจัดระบบขุนนางให้เป็นสองฝ่าย คือ กลาโหมและมหาดไทย

3. การแบ่งเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

ตอบ ทำให้เราได้รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร ลำดับเหตุการณ์เป็นเช่นไร และมีความสำคัญกับชาวไทยอย่างไร

 

จัดทำโดย

1. น.ส.นาฏอนงค์ นามขี้เหล็ก      ม.4/1   เลขที่ 21

2. น.ส.ปานปวี บุญญาลาภาเลิศ    ม.4/1   เลขที่ 22

3. น.ส.พิมพ์วิภา ดิษฐบุญเชิญ      ม.4/1   เลขที่ 25

4. น.ส.พรพิมล คงเจริญ              ม.4/1  เลขที่ 15

5. น.ส.ชลธิชา โชติประพาฬ        ม.4/1   เลขที่ 12

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 290 คน กำลังออนไลน์