user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ผู้จัดทำ', 'node/51061', '', '18.224.96.239', 0, 'aa5d1d33e75f4ea988add235a576ec29', 131, 1715922716) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่าและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชและอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ

สาเหตุ

  1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
  2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
  3. พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า
  4. ไทยว่างเว้นการสงครามมานาน พอมีศัตรูมารุกรานก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

การเตรียมการของฝ่ายอยุธยา

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เตรียมการป้องกันบ้านเมืองเพิ่มเติม ดังนี้

  1. สร้างป้อมและหอรบเพิ่มเติม โดยหอรบอยู่ห่างกันหอละ 40 เมตร รวมทั้งเสริมกำแพงให้แข็งแกร่งขึ้น
  2. จัดปืนใหญ่ไว้ตามกำแพงเมืองเป็นจำนวนมาก โดยห่างกันเพียงกระบอกละ 10 เมตร
  3. โปรดให้สร้างแนวกำแพงขึ้นใหม่โดยให้ชิดกับคูเมืองทุกด้าน
  4. ให้สร้างหอรบไว้กลางลำน้ำที่เป็นคูเมืองแล้วเอาปืนใหญ่ติดตั้งไว้บนนั้น

 

ลำดับเหตุการณ์

       พระเจ้าบุเรงนองทรงนำทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 ประกอบด้วยหลายทัพ ทั้งจากพระมหาอุปราชา เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ และเจ้าเมืองเชียงใหม่ เชียงตุงและพิษณุโลก รวมจำนวนได้กว่า 500,000 นายยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก ลงมาถึงพระนครในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน แล้วทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งค่ายรายล้อมพระนครอยู่ไม่ห่างการตั้งรับภายในพระนครส่งผลให้มีการระดมยิงปืนใหญ่ของข้าศึกทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอด ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก

       พระเจ้าบุเรงนองทรงพยายยามโจมตีอยู่นานจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2112 ก็ยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมากพระองค์ทรงพยายามเปลี่ยนที่ตั้งค่ายอยู่หลายระยะ โดยในภายหลังทรงย้ายค่ายเข้าไปใกล้กำแพงเมืองจนทำให้สูญเสียพลอย่างมาก แต่ก็ทำให้สามารถบุกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ในที่สุด ประกอบกับการที่พระมหาธรรมราชาทรงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีให้เป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา ครั้นพระยาจักรีได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาพระนครแล้วจึงดำเนินการสับเปลี่ยนหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งการป้องกันพระนครอ่อนแอลง และทำให้กองทัพพม่าเข้าสู้พระนครสำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน

 

 หลังสงคราม

   สมเด็จพระมหินทราธิราช ถูกพาตัวไปที่กรุงหงสาวดีแต่ประชวรสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี โดยพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของอยุธยา ซึ่งมาจากราชวงศ์สุโขทัย แล้วนำพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาไปเลี้ยงดู ซึ่งพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาคนนั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งต่อมาในภายหลังเป็นผู้นำที่ทำสงครามกับพม่านำอิสรภาพมาสู่สยาม

    อาณาจักรอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลานาน 15 ปี โดยพม่าแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาธิราชเป็นพระมหากษัตริย์อยุธยาในฐานะประเทศราช ประชาชนส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปยังเมืองพม่า โดยเหลือให้รักษาเมืองเพียง 1,000 คน คนที่เหลือก็หนีไปหลบอาศัยอยู่ที่อื่น ทรัพย์สินจำนวนมากถูกลำเลียงไปยังเมืองพม่า พร้อมด้วยพระบรมวงษศานุวงศ์หลายพระองค์ บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายได้รับความเสียหายเป็นอันมาก

 

การประกาศอิสรภาพ

   

    ในปีพ.ศ.2127สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ้นจากการเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่บัดนั้น (รวมเวลาที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า 15 ปี) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น3ปีหลังจากพระเจ้าบุเรงนองประชวรและสวรรคตลงในปีพ.ศ. 2124และมังไชยสิงห์ ราชบุตรองค์โตของพระเจ้าบุเรงนองที่รัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้านันทบุเรงแต่พระเจ้าอังวะพระญาติประกาศแข็งเมืองพระเจ้านันทบุเรงจึงบัญชาให้ พระเจ้าแปร พระเจ้าตองอู (พระสังกทัต) พระเจ้าเชียงใหม่ (อโนรธามังสอพระราชอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง) พระเจ้า[[กรุงศรีสัตนา คนหุต]] (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) และสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชยกกองทัพไปตีกรุงอังวะพระเจ้านันทบุเรงจึงทรงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชา ที่ทรงโปรดให้รักษากรุงฯว่าถ้าสมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพมาถึงหงสาวดีให้ฆ่าเสีย (สาเหตุที่ทรงยกทัพมาแทนเนื่องจากพระมหาธรรมราชาทรงพระชราและพระนเรศวรทรงทูลขอ ออกรบเอง) ทุกเมืองยกกองทัพไปหมดแล้วแต่พระนเรศวรทรงเห็นว่าอยุธยาถึงเวลาที่จะเป็นเอกราชเสียทีจึงทรงยาตราทัพออกจากเมืองพิษณุโลกไปอย่างช้าๆถึงเมืองแครง โดยพระองค์ทรงหวังว่าถ้าพระเจ้าหงสาวดีแพ้ก็จะโจมตีกรุงหงสาวดีซำเติมหากทัพหงสาฯชนะก็จะกวาดต้อนครัวไทยที่อยู่ที่ชายแดนพม่ามาไว้เป็นกำลังของพระองค์สืบไปส่วนพระมหาอุปราชา ทรงทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพมาจึงโปรดให้ขุนนางมอญ2คนคือพระยาเกียรติ์และพระยารามศิษย์พระอาจารย์เดียวกันกับพระนเรศวรคือพระมหาเถรคันฉ่องออกมา ต้อนรับโดยทรงสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมาถึงหงสาวดีพระองค์ (พระมหาอุปราชา) จะเข้าโจมตีจากข้างหน้าและให้พระยา�อย่างเปิดเผยพระองค์จึงเรียกประชุม แม่ทัพนายกองทั้งหมดและนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆืในวัดนั้นมาเป็นประธานและทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดปองร้ายพระองค์แล้วพระองค์จึงหลั่งนำจากสุวรรณ ภิงคาร (นำเต้าทอง) ลงสู่พื้นพสุธาและประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินและผู้คนในที่นั้นว่า "ตั้งแต่วันนี้กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรดังแต่ก่อนสืบไป"เมื่อวันที่ 15พฤษภาคมพ.ศ.2127หลังประกาศเสร็จแล้วทรงตรัสถามชาวเมืองมอญว่าจะมาเข้ากับฝ่ายไทยไหมชาวมอญทั้งหลายก็พร้อมใจกันเข้ากับฝ่ายไทย และทรงจัดทัพบุกตรงไปกรุงหงสาวดีแต่พอข้ามแม่นำสะโตงไปม้าเร็วก็มารายงานพระองค์ว่าพระเจ้าหงสาวดีได้ชัยชนะเหนือพระเจ้าอังวะและยกทัพกลับจวนถึงหงสาวดีอยู่แล้วเห็นไม่ สมควรจึงทรงกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญกลับอยุธยาพร้อมพระองค์พระมหาอุปราชาเมื่อทรงทราบว่าพระยามอญทั้ง2ไปสวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงพิโรธและทราบว่าพระนเรศวรทรง ถอยทัพกลับจึงทรงบัญชาให้สุรกรรมาคุมทัพมาสกัดแต่พระนเรศวรทรงข้ามแม่นำสะโตงไปแล้วทั้ง2ทัพเผชิญหน้ากันแต่แม่นำสะโตงกว้างทั้งสองจึงยิงไม่ถึงกันพระนเรศวร ทรงมีพระแสงปืนอยู่กระบอกหนึ่งมีความยาว9คืบยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตายคาคอช้างทหารเห็นแม่ทัพตายก็เสียขวัญถอยทัพกลับไปรายงานพระมหาอุปราชาให้ทรงทราบ ส่วนพระนเรศวรทรงเดินทัพกลับกรุงศรีอยุธยาโดยสวัสดิภาพพระแสงปืนกระบอกนั้นมีชื่อว่า"พระแสงปืนข้ามแม่นำสะโตง"เมื่อทรงถึงอยุธยาก็ทรงเข้าเฝ้าพระราชบิดารายงานเรื่อง ทั้งหมดให้ทรงทราบสมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงปูนบำเหน็จมอญที่สวามิภักดิ์และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นที่สังฆราชส่วนพระยาเกียรติและพระยารามให้มีตำแหน่งได้ พระราชทานพานทองคุมกองทัพมอญที่สวามิภักดิ์พระราชทานบ้านทีอยู่อาศัยในพระนคร พร้อมกันนั้นได้ทรงมอบพระราชอาญาสิทธิ์แก่สมเด็จพระนเรศวรในการบัญชาการรบเพื่อที่ จะตระเตรียมกำลังคนและอาวุธไว้รับมือพม่า

  

 

 

                    รายชื่อสมาชิก

1. นาย วิทวัส ใจจิตร์มั่น ชั้น ม.4/1 เลขที่ 19

2. นาย ปัญญากร บุญปรุง ชั้น ม.4/1 เลขที่ 1

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 306 คน กำลังออนไลน์