user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('เนื้อหาคณิตศาสตร์ ยอดนิยม', 'lesson/math/hit', '', '3.141.7.7', 0, 'c401a279a975400c3d9e4e1448696d9b', 260, 1715917627) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การเสียกรูงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ประวัติ

สภาพบ้านเมือง

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศข้าราชการเกิดความระส่ำระสาย มีบางคนลาออกจากราชการบ้าน เนื่องจากบ้านเมืองแปรปรวนเพราะฝ่ายใน (พระราชชายา)ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบถ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิตแต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สินริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายในก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น

การรุกรานของพม่า

     ในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญาได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศเพื่อแผ่อิทธิพลเข้าไปในมะริดและตะนาวศรีและกำจัดภัยคุกคามจากอยุธยาที่มักจะยุให้หัวเมืองพม่าที่อยู่ไกลกระด้างกระเดื่องอยู่เสมอหรือไม่ระองค์ก็ทรงเห็นว่าอาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอนั้นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้ อาณาจักรอยุธยาว่างศึกจากอาณาจักรพม่ามาเป็นเวลานานกว่า150 ปีแล้ว แต่ทว่ากองทัพพม่าไม่สามารถตีได้กรุงศรีอยุธยาได้เนื่องจากการสวรรคตของพระเจ้าอลองพญา อันทำให้กองทัพพม่ายกกลับไปเสียก่อน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งเคยทรงตัดสินพระทัยปลีกพระองค์ไปผนวชด้วยไม่มีพระราชประสงค์ในบัลลังก์แต่ได้กลับมาราชาภิเษกอีกหนหนึ่งเพื่อบัญชาการรบในสมัยสงครามพระเจ้าอลองพญาตามคำทูลเชิญของพระเชษฐานั้นด้วย

การทัพ

ฝ่ายพม่า

     พระเจ้ามังระทรงดำริว่า"หากจะส่งเนเมียวสีหบดีนำกองทัพไปทำสงครามกับอยุธยาเพียงด้านเดียวเห็นจะไม่พอ" จึงโปรดให้มังมหานรธานำทัพรุกรานมาอีกด้านหนึ่งด้วยโดยก่อนหน้านั้น กองทัพทั้งสองได้รับมอบหมายให้บรรลุภารกิจอื่นเสียก่อนคือ การปราบกบฎต่อรัฐบาลพม่า ทั้งทางเหนือและทางใต้ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมความสำเร็จให้แก่เป้าหมายหลักในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

ฝ่ายอยุธยา

     ทางด้านการปฏิบัติของอาณาจักรอยุธยาระหว่างการทัพทั้งสองนั้นกษัตริย์อยุธยาได้ทรงส่งกองทัพมาช่วยเหลือเชียงใหม่ให้เป็นกบฎต่อพม่า
และช่วยหัวเมืองมอญที่เมืองทวายให้ประกาศอิสรภาพทำให้กองทัพพม่าต้องส่งกองทัพไปตีดินแดนทั้งสองคืนเลยไปจนถึงอาณาจักรล้านช้าง เพื่อตัดชัยชนะของกรุงศรีอยุธยา และในการรุกรานกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้ามังระกองทัพอยุธยาก็ยังคงเตรียมตัวรับกองทัพพม่าในพระนครอีกเช่นเดิม

การตีหัวเมืองรอบนอก

       กองทัพฝ่ายเหนือของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดีได้จัดแบ่งกำลังพลออกเป็นทัพบกและทัพเรือทั้งหมดยกออกจากลำปางในเดือนกันยายน พ.ศ. 2308 มุ่งเข้าตีเมืองตาก ระแหงกำแพงเพชร สวรรคโลก สุโขทัย ยะตะมาหรือระตะมะและพิษณุโลกตามลำดับในบรรดาเมืองเหล่านี้ เจ้าเมืองระแหงและกำแพงเพชรยอมอ่อนน้อมต่อข้าศึกเสร็จแล้ว เนเมียวสีหบดีจึงตั้งกองบัญชาการกองทัพเอาไว้หลังจากนั้นก็ได้แบ่งกำลังออกเป็นสองส่วนส่วนหนึ่งมีติรินานตะเตงจานและจอคองจอตูเป็นแม่ทัพ ให้ตีเมืองละเลงพิชัยธานี นครสวรรค์ และอ่างทองต่อไป

       ส่วนกองทัพฝ่ายใต้ ภายใต้การบัญชาการของมหานรธา ยกมาจากทวายมาสามารถตีเมืองเพชรบุรีได้ภายในระยะเวลาอันสั้นจากนั้นจึงเคลื่อนมายังราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ไทรโยค สวานโปงและซาแลงตามลำดับ ซึ่งในจำนวนนี้เมืองที่เจ้าเมืองยอมอ่อนน้อมต่อกองทัพพม่า ได้แก่ เมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองไทรโยค เมื่อมาถึงเมืองซาแลงมหานรธาสั่งจัดทัพใหม่ขึ้น โดยเลือกไพร่พล ช้างและม้าจากเมืองต่าง ๆ
ให้เมจขี กามะณีสานตะคุมไปเป็นทัพหน้า และมหานรธาคุมกองทัพตามไปทั้งหมดมุ่งหน้าต่อไปยังกรุงศรีอยุธยา

การปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา

      พระเจ้าเอกทัศโปรดให้รวบรวมประชาชนและเสบียงเข้ามาไว้ในพระนครและเตรียมการป้องกันไว้อย่างแน่นหนาโดยรอคอยฤดูน้ำหลากและอาศัยยุทธวิธีคอยตีซ้ำเมื่อกองทัพพม่าถอนกำลังออกไปอย่างไรก็ตาม ฝ่ายอยุธยาก็มิได้ตั้งรับอยู่ในพระนครแต่เพียงฝ่ายเดียวยังส่งกำลังออกไปโจมตีค่ายเนเมียวสีหบดีและค่ายมังมหานรธาอยู่หลายครั้งส่วนทางด้านกองทัพพม่ากระจายกำลังออกล้อมกรุงเอาไว้ทุกด้านพยายามเข้าประชิดกำแพงพระนครหลายครั้งก็ไม่ประสบผลจึงยังมีราษฎรหลบหนีภัยพม่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงอยู่เสมอมาสำหรับเสบียงอาหารในกรุงก็ยังคงบริบูรณ์ดีอยู่  เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาให้กองทัพรวบรวมเสบียงอาหารสำรองไว้ใช้ให้ทหารปลูกข้าวในที่นาละแวกใกล้เคียงอีกทั้งให้ทหารไปสร้างป้อมค่ายในระยะที่น้ำไม่ท่วมถึงพร้อมกับตั้งเจตนาแน่วแน่ไม่ปล่อยให้กรุงศรีอยุธยาพ้นมือเป็นอันขาดในระหว่างวันที่ 5-10 หลังฤดูน้ำหลากกองทัพอยุธยาถูกส่งออกไปโจมตีค่ายมังมหานรธาและค่ายเนเมียวสีหบดีครั้งแรกมีพระยาตาน และครั้งที่สองมีพระยากูระติเป็นแม่ทัพตามลำดับแต่ก็ถูกตีแตกกลับมาทั้งสองครั้งในกรุงจึงเตรียมการป้องกันพระนครอย่างแน่นหนาแทน   ในระหว่างที่อยู่ภายใต้วงล้อมนี้การวางแนวปะทะของอยุธยาไม่สามารถพลิกผลของสถานการณ์ได้เลยในพระนครเริ่มขาดแคลนอาหาร ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจของกองทัพเสื่อมโทรมมังมหานรธาเสนอในที่ประชุมแม่ทัพนายกองแนะให้ใช้อุบายลอบขุดอุโมงค์เข้าไปในกรุง พร้อมกับสร้างค่ายทหารขึ้น 27 ค่ายล้อมรอบพระนคร ซึ่งรวมไปถึงเพนียดวัดสามพิหาร วัดมณฑบ วัดนางปลื้ม และวัดศรีโพธิ์เพื่อจะได้ยิงปืนใหญ่ด้วยความแม่นยำยิ่งขึ้นอันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพหัวเมืองทางเหนือราว 20,000 นาย มาช่วยอยุธยา แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปอย่างง่ายดาย

เสียกรุง

      ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัยและยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่ายพอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่มแม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้านพม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อนทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

 

คำถาม 

     1. ข้อความที่ค้นคว้ามาแสดงถึงช่วงเวลา และยุคสมัยใด

ตอบ พ.ศ.2309 - พ.ศ.2310 สมัยอยุธยา

     2.  ยุคสมัยที่เกิดเหตุการณ์นั้น มีลักษณะเด่นอย่างไร 

ตอบ การรบของกองทัพของพม่า ซึ่งทำให้ตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้

      3. การแบ่งเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อการศึกษาประวัติศาสตร์

ตอบ การแบ่งยุึคสมัยทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามยุคสมัยนั้นๆ ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

จัดทำโดย

1. นาย ธิติ  ประเสริฐจิตสรร ม.4/1  เลขที่ 17

2. นาย อรรถพล  แสงหมี ม.4/1  เลขที่ 33

3. นาย ธนพล  สกุลพลอยนุช ม.4/1  เลขที่ 10

4. นายจิรพันธ์  จุติลาภถาวร ม.4/1  เลขที่ 9

5. นายสุรศักดิ์  นุตะระ ม.4/1  เลขที่ 11

รูปภาพของ silavacharee

Frown  ขาดหลักฐานอ้างอิง  และให้พิมพ์จัดหน้าใหม่

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 250 คน กำลังออนไลน์