เด็กเก่งคอมฯ กับเด็กติดเกมฯ ต่างกันตรงไหน?

รูปภาพของ admin

ปัญหาเด็กติดเกมหรือหมกมุ่นอยู่กับการ chat ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเริ่มสร้างปัญหาให้กับครอบครัวและสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เห็น ได้จากโรงเรียน คลินิกเด็กของโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง ที่เต็มไปด้วยผู้ปกครองมายื่นรอเข้าคิวเพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาเหล่า นี้ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งปัญหาที่พบก็มีมากบ้างน้อยมากตามระยะเวลาที่เล่น แต่ล้วนเป็นปัญหาที่น่าขบคิดเป็นอย่างยิ่ง

ปัญหาอยู่ตรงไหนแน่

สาเหตุ หนึ่งก็คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ให้กับเด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผิดก็คือ เราเกิดไปเข้าใจแบบผิดๆ ว่าการส่งเสริมให้เด็กได้ “เล่น” กับคอมพิวเตอร์ คือ วิธีพัฒนาเรื่องนี้

ความเข้าใจผิดตรงนี้ก็ทำให้ครูและพ่อแม่ส่วนหนึ่งพยายามให้ลูกได้ “เล่น” คอมพิวเตอร์ผ่านเกม ผ่านการท่องอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใหญ่ไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ลูก “เล่น” ต่าง คิดว่านี่คือการเรียนรู้ที่สำคัญ คือทักษะที่จำเป็น เมื่อเด็กๆ มีทักษะเหล่านี้และมักจะส่งผลให้พวกเขามีความสามารถ มีความเก่งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะแข่งขันกับใครๆ ก็ได้

ความ เข้าใจผิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะว่าการได้เล่นหรือได้สัมผัสกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แม้จะเก่งกาจแค่ไหนเราก็เป็นได้แค่ผู้ใช้หรือผู้บริโภคโปรแกรมที่เขาผลิตมา ขายให้เราแค่นั้นเอง เราไม่สามารถที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้ด้วยพื้นฐานเพียงแค่การเป็นผู้ใช้หรือผู้บริโภคโปรแกรมที่ชำนาญเท่านั้น เพราะการที่จะเป็นคนเก่งเรื่องคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแท้ จริงนั้นพื้นฐานที่สำคัญอยู่ที่ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์

อยาก ให้ผู้อ่านศึกษากรณีของประเทศอินเดียดูสักนิด หลายปีก่อนมีการสำรวจความสามารถทางคณิตศาสตร์ของคนอินเดียพบว่า ผู้คนทางแถบภาคใต้ของอินเดียมีคนที่เก่งคณิตศาสตร์ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนใน แถบอื่นๆ ขอวงประเทศ

แน่นอนครับ Srinivasa Ramanujan สุด ยอดอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ของโลกก็มีพื้นเพอยู่ทางภาคใต้ของอินเดียนี่เอง นี่คือคำตอบว่าทำไมเขาถึงเลือกเมืองบังกาลอร์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ อินเดียให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของเขา จากพื้นฐานความสามารถของคนในแถบนี้ อินเดียใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี พัฒนาบังกาลอร์จนกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของโลกไปเรียบร้อยแล้ว

และไม่กี่ปีมานี้เอง Bill Gates เจ้าพ่อแห่ง Microsoft ได้บริจาคเงินจำนวนกว่า 1,000 ล้าน เหรียญสหรัฐ ให้กับรัฐบาลอินเดียเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ จนองค์การอนามัยโลกสำนักงานประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุง นิวเดลีต้องถามว่าทำไมจึงต้องบริจาคมากมายถึงปานนั้น

สิ่งที่ Bill Gates ตอบ ก็คือ ไมโครซอฟท์จะไม่มีวันนี้เลยหากไม่มีวิศวกรคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเมอร์ผู้ เก่งกาจจากอินเดียเรียกได้ว่าไมโครซอฟท์เป็นหนี้บุญคุณของคนเก่งชาวอินเดีย

และก็ไม่ต้องตกใจนะครับถ้าพบว่าพนักงานไมโครซอฟท์เกินครึ่งเป็นคนอินเดีย

ประเทศ อินเดียพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้คนของเขาจากพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ครับ ไม่ใช่ส่งเสริมให้คนของเขาเล่นเกมคอมพิวเตอร์

เกมคอมพิวเตอร์ให้โทษมากกว่าคุณ

เมื่อ ไม่นานมานี้ นักวิจัยสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งได้ทำการศึกษาเด็กชั้นประถมและมัธยมของเขาที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ พบว่าเกมทุกเกมที่ผลิตออกมาขายจะมีการออกแบบเกมให้มีความท้าทาย น่าสนใจ น่าติดตาม และสุดท้ายเด็กที่ชอบเล่นเกมส่วนใหญ่ก็จะติดเกมไม่ว่าจะเป็นเกมที่บอกว่า เป็นเกมสร้างสรรค์หรือเกมประเภทที่เต็มไปด้วยความรุนแรง สรุปได้ว่า ไม่ว่าเด็กจะเล่นเกมแบบไหนก็มีโอกาสติดได้ทั้งนั้น

และ เมื่อศึกษาลึกลงไปอีกเขาก็พบว่า ทั้งเกมสร้างสรรค์และเกมรุนแรงต่างก็ทำให้การเรียนของเด็กที่ติดเกมแย่ลง ทำให้เด็กมีสังคมแคบลง แยกตัว ไม่มีเพื่อน แต่เกมที่เต็มไปด้วยความรุนแรงจะน่ากลัวกว่าตรงที่มันทำให้เด็กมีพฤติกรรม ก้าวร้าวมากขึ้นชอบเถียงครู ชอบใช้กำลัง มีความคิดว่าการใช้ความรุนแรงคือความถูกต้องชอบธัรรมและเป็นทางออกของการ แก้ไขปัญหา

สำหรับ บ้านเรายังไม่มีการศึกษาที่ลึกแบบนี้ มีแค่การศึกษาถึงความชุกของปัญหา ซึ่งพบว่าบ้านเราก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้ไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเด็กติดเกม เด็กที่มีปัญหาการเรียนจากปัญหาติดเกม รวมทั้งการหนีเรียนไปเล่นเกม ถึงแม้จะยังไม่มีข้อมูลผลกระทบต่างๆ แบบของสหรัฐอเมริกาก็ไม่ได้แปลว่าบ้านเราจะไม่มีปัญหาแบบของเขา เพราะไม่ว่าเกมประเภทฆ่าฟันกันอย่างไร้กฎเกณฑ์ ไร้ศีลธรรม เกมลามกทุกรูปแบบที่เด็กอเมริกันได้สัมผัส ลูกหลานของเราก็สามารถที่จะสัมผัสได้ไม่ต่างกัน จะไปซื้อแผ่นเกมมาเล่น ไปเล่นตามร้าน หรือเล่นออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตลูกหลานของเราทำได้ทั้งนั้น

พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง ต้องตื่นตัวและมีมุมมองใหม่

การ ที่เราอยากจะพัฒนาความสามารถของลูกหลานในเรื่องคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยี สารสนเทศเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่เราต้องมีวิธีที่ถูกต้อง การให้เด็กเล่นเกมแล้วคิดว่ามันจะช่วยให้ลูกหลานเราเก่งเป็นความเข้าใจผิด ภายในเกมคอมพิวเตอร์ ภายในเว็บไซต์ต่างๆ ที่เด็กของเราท่องไป มันมีหลุมพรางมากมายที่จะดักล่อให้ลูกหลานของเราไปติดกับ

เพราะ ฉะนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ใหม่ ต้องคอยดูแลลูกหลานของเราอย่างใกล้ชิด หากเราใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าและเพื่อการเรียนรู้ นั่นคือ สิ่งที่เราต้องสนับสนุน แต่หากเขาใช้เพื่อเล่นเกมหรือเพื่อการเข้าไปข้องแวะกับเว็บไซต์ที่อาจจะเป็น อันตรายกับเขา เราต้องพูดคุยและตักเตือน

นอก จากนี้ การดูแลและควบคุมเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมก็จำเป็นเพื่อป้องกันการ ติด เพราะเมื่อไรพวกเขาติดเกมหรือติดคอมพิวเตอร์แล้ว การแก้ไขมันยากมากทีเดียว

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

ใบงานที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม

1. ให้บอกความแตกต่างของหน่วยความจำหลักรอมและหน่วยความจำหลักแรม
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของตัวเลขเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

2. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำหลัก

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง

จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่างเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วย

3. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับเข้า พร้อมอธิบาย
หน่วยรับเข้า เป็นอุปกรณ์ ที่นำข้อมูล หรือโปรแกรม เข้าไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำ และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูล มีหลายประเภท

4. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยส่งออก พร้อมอธิบาย
หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) อุปกรณ์ส่งออก
ของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมาก

ใบงานที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม

1. ให้บอกความแตกต่างของหน่วยความจำหลักรอมและหน่วยความจำหลักแรม
ก่อนที่จะศึกษาว่าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลได้อย่างไร จะต้องทราบก่อนว่าสื่อสำหรับเก็บข้อมูลนั้นมีอะไรบ้าง เนื่องจากคอมพิวเตอร์แปลงคำสั่งและข้อมูลต่าง ๆ เก็บไว้ในรูปแบบของเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ทั้งสิ้น โดยที่ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยกลุ่มของตัวเลขเลขฐานสอง และเนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผู้ใช้เป็นผู้สั่ง รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ และที่สำคัญหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะมีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับหน่วยความจำหลัก ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าหน่วยความจำหลัก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อน จึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

2. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรอง
หน่วยความจำหลัก

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง

จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่างเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลักจะต้องทำได้รวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติถ้าให้ซีพียูทำงานความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 33 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทัน ดังนั้นกลไกของซีพียูจึงต้องชะลอความเร็วลงด้วยการสร้างภาวะรอ (wait state) การเลือกซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องพิจารณาดูว่ามีภาวะรอในการทำงานด้วย

3. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับเข้า พร้อมอธิบาย
หน่วยรับเข้า เป็นอุปกรณ์ ที่นำข้อมูล หรือโปรแกรม เข้าไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำ และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูล มีหลายประเภท

4. ให้ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นหน่วยส่งออก พร้อมอธิบาย
หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) อุปกรณ์ส่งออก
ของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมาก

ใบงานที่ 1 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ พร้อมกับเขียนคำถาม

1. ให้บอกจุดเด่นของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการประมวลผลข้อมูล

หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

2. ให้บอกส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์

ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

3. หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็นกี่หน่วย อะไรบ้าง พร้อมอธิบาย

หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU แบ่งออกเป็น 3 หน่วยคะ ได้แก่
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)

4. ให้บอกหน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (อังกฤษ: central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s

หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 427 คน กำลังออนไลน์