ทำไมตาเห็นสีได้
Homeส่วนประกอบของตาทำไมตาเห็นสีได้สายตาไม่ปกติเห็นรูปผิดไป


นัยน์ตาเห็นสีได้อย่างไร

   ซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสงสว่างให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมืดความสว่าง
   เซลล์รับแสงรูปกรวย(Cone cell)   เป็นเซลล์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับสี
        ประเภทของเซลล์รับแสงรูปกรวย มี 3 ชนิด ได้แก่  
        1) เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน
        2) เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีเขียว
       3) เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีแดง
       การเห็นสีของวัตถุ เมื่อแสงสีน้ำเงิน สีแดง หรือสีเขียว  สีใดสีหนึ่งมาเข้านัยน์ตา เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีนั้นจะได้รับการ กระตุ้น สัญญาณกระตุ้นนี้จะถูกส่งผ่านประสาทตาไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายออกมาเป็นความรู้สึกและเห็นเป็นสีของแสงนั้น ถ้าแสงที่เข้าสู่นัยน์ตาเป็นสีเหลือง เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีแดงและสีเขียวจะได้รับการกระตุ้น ซึ่งการกระต้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแสงสีที่มาตกกระทบจอตา

     การบอดสี (Color blindness) หมายถึง การเห็ยสีที่ผิดไปจากความจริง
      สาเหตุของการบอดสี ได้แก่ สาเหตุทางพันธุกรรม เซลล์รูปกรวยผิดปกติได้รับเชื้อโรค ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ และการแพ้ยา
      การบอดสีของคนไทย คนไทยบอดสีแดงเป็นอันดับหนึ่ง บอดสีเขียวเป็นอันดับสอง และบอดสีน้ำเงินเป็นอันดับสุดท้าย หรืออาจบอดทั้งสีแดงและสีเขียวได้
      การบอดสีชั่วคราว เกิดจากเซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีได้รับการกระตุ้นนานเกินไป ทำให้เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีต่างๆ หยุดตอบสนองชั่วคราว ตัวอย่างเช่น การจ้องมองสีแดงกลางแดดนานๆ แล้วกลับมามองสีขาวอย่างรวดเร็ว จะเห็นสีขาวเป็นสีน้ำเงินเขียว เนื่องจากเซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีแดงหยุดตอบสนองชั่วคราว
     ในการประกอบอาชีพบางอาชีพการบอดสีจะมีผลเสียต่อการประกอบอาชีพได้ เช่นอาชีพคนขับรถ แพทย์ นักบิน นักเคมี สถาปนิกตกแต่งภายใน นักออกแบบเสื้อ และตำรวจ เป็นต้น ดังนั้นในการสอบเข้าเรียนต่อในสาขาดังกล่าว จึงมักจะมีการตรวจการบอดสีด้วย

     การเห็นภาพติดตา (Persistence of vision)
     การเห็นภาพติดตา หมายถึง ความรู้สึกในการเห็นภาพค้างอยู่ในสมองได้ชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่มีภาพของวัตถุนั้นอยู่บนจอภาพแล้ว
      ระยะเวลาในการเห็นภาพติดตา คนปกติมีระยะเวลาในการเห็นภาพติดตาประมาณ 1/15-1/10 วินาที
     ประโยชน์ของการเห็นภาพติดตา ใช้ในการถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งปกติจะถ่ายภาพยนตร์ 24 ภาพต่อวินาที หรือใช้เวลา 1/24 วินาทีในการเห็นภาพ 1 ภาพ   การเห็นภาพยนตร์เป็นเคลื่อนไหว เนื่องจากนัยน์ตาของคนเรานั้นเมื่อเห็นภาพแรกแล้วภาพแรกจะยังติดตาอยู่ต่อไปอีก 1/15-1/10 วินาที เมื่อภาพแรกยังไม่ทันเลือนหายก็จะเห็นภาพต่อไปเช่นนี้เรื่อยๆ จึงเห็นภาพเป็นภาพเคลื่อนไหวติดต่อกันไป
      ถ้าต้องการให้เห็นภาพเคลื่อนไหวช้า ต้องฉายด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าการถ่ายภาพยนตร์ หรือถ่ายภาพยนตร์ด้วยอัตราเร็วกว่าการฉายภาพยนตร์
     ถ้าต้องการให้เห็นภาพเคลื่อนไหวเร็ว ต้องฉายด้วยอัตราเร็วที่เร็วกว่าการถ่ายภาพยนตร์ หรือถ่ายภาพยนตร์ด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าการฉายภาพยนตร์

Copyright(c) 2002 Yuwadee -Lublae. All rights reserved.

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264