เอลนีโญ    โอโซน

    

Homeผู้จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนบรรยากาศ  หน้า  1ความสำคัญของบรรยากาศการเกิดเมฆเอลนีโญ    โอโซนแบบทดสอบหลังเรียน

 

พายุ 
ลมบก  ลมทะเล 
หมอก  น้ำค้าง 

 

 

                 เอลนีโญ   คือ      การที่ผิวน้ำทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นขึ้น และแผ่ขยายกว้างไกลออกไป เป็นเวลานานถึง 3 ฤดูกาลหรือมากกว่า ในทางกลับกันถ้าผิวน้ำทะเลบริเวณนี้เย็นลงจะเรียกว่า  ลานีญา

            

                                เอลนีโญ  ลานีญา
                                                          ภาพแสดงอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเล

                ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญามีผลกระทบต่อประเทศไทย
             เมื่อเกิดเอลนีโญขนาดรุนแรงขึ้นเมื่อใด ปริมาณฝนของประเทศไทยมักมีค่าต่ำกว่าปกติ และอุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เช่น เอลนีโญขนาดรุนแรง ปี พ.ศ. 2540 - 2541 ประเทศไทยประสบกับสภาวะความแห้งแล้ง มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติทั่วประเทศ      ส่วนผลกระทบจากลานีญาจะตรงข้ามกับเอลนีโญ เช่นลานีญาที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2542 - 2543 ประเทศไทยมีฝนชุกกว่าปกติ      และอุณหภูมิในฤดูหนาวลดลงทำลายสถิติหลายจังหวัดในเดือนธันวาคม  2542

                โอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอมจับกัน มีความสำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตบนโลกมาก เพราะก๊าซโอโซนมีความสามารถดูดรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) สูง    ทำให้ปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตเหลือปริมาณน้อยลงเมื่อถึงพื้นโลกก๊าซนี้ถ้ามีปริมาณมากเกินไปก็จะ ดูดรังสีอัลตราไวโอเลตไว้มากอาจทำให้การสร้างวิตามินดีในร่างกายมนุษย์ลดน้อยลงได้ แต่ถ้ามีปริมาณของก๊าซโอโซนน้อยเกินไปก็จะทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตตกลงมายังพื้นโลกมากเกินไป ทำให้เซลล์ผิวหนังของมนุษย์ไหม้เกรียม เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้

                 สาร CFC (Chorofluorocarbon)     คือ  กลุ่มสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน  ฟลูออรีน      และคลอรีน     ซึ่งอยู่ในสถานะเป็นก๊าซได้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตโฟม    อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและใช้ในการทำความสะอาดแผงวงจรทาง อิเลคทรอนิกส์  สาร CFC   นี้มักจะลอยตัวขึ้นที่สูง และทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตแตกตัวเป็นคลอรีนออกมารวมกับโอโซน    เกิดเป็นสารจำพวกคลอรีนออกไซด์ ทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง เป็นผลทำให้ปริมาณก๊าซโอโซนที่ทำหน้าที่ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตลดน้อยลง    ส่งผลให้ปริมาณ รังสีอัลตราไวโอเลต    ตกลงมายังพื้นโลกมาก     สาร CFC 1 อะตอม    สามารถทำลายก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศถึง 100,000 โมเลกุล

 

                     arrow_yellow.gif

 

จัดทำโดยครูผกามาส  เหลืองทอง
โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง   อ. บางพลี   จ. สมุทรปราการ
Copyright(c) 2006 Miss  Pakhamast  Luengtong. All  rights  reserved. 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved