ประวัติปลาสวยงาม

 

Homeผู้จัดทำประวัติปลาสวยงามพันธุ์ปลาสวยงามโรคของปลาแบบทดสอบชุดที่1แบบทดสอบชุดที่2

 

 

 

img1.jpg

ปลาสวย

 

 

ม่มีเอกสารหรือหลักฐานหลงเหลือให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มร้จักการนำปลาสวยงามมาเลี้ยงในที่เลี้ยงตั้งแต่เมื่อไรตั้งแต่ครั้งแรก แต่เป็นเชื่อแน่ว่ามนุษย์รู้จักวิธีที่จะเก็บรักษาเนื้อปลาไว้เป็นอาหารในเมื้อต่อๆไปในหลายรูปแบบ เช่น ย่าง รมควัน หมักเกลือ ฯลฯ นานก่อนจะเรียนรู้วิธีเลี้ยงปลาอย่างแน่นอน และสิ่งหนึ่งที่น่าแปลกใจก็คือ มนุษย์รู้จักการเลี้ยงปลาและฝึกเลี้ยงสัตว์หลายชนิดก่อนที่จะมาสนใจถึงการเลี้ยงปลา เช่น เช่นสุนัขที่ถูกมนุษย์จับมาเลี้ยงและฝึกให้เชื่องได้มีหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าได้ดำเนินติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหมื่นปีหรือแม้แต่แพะถูกเลี้ยงมาไม่น้อยกว่าเจ็ดพันปีทีเดียว บางทีอาจเป็นไปได้มากกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการเลี้ยงปลาอย่างเช่น บ่อ เป็นต้น ไม่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันบ่อที่เก่าที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีค้นพบคือ บ่อในยุคสุเมเรีย ซึ่งมีอายุประมาณ 4,500 ปีแล้ว

anistar_blue.gif่วนใหญ่แล้วบ่อในยุคนี้เท่าที่ค้นพบจะแย่ในศ่าสนาสถานและคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาของยุคนั้น แต่อย่างไรก็ดียังมีการค้นพบบ่อซึ่งคาดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและมีหลักฐานว่าที่ใช้เป็นที่เก็บกักขังปลา เพื่อใช้เป็นอาหารอย่างแน่นอน และจากสภาพของบ่อที่ปรากฏให้เห็นก็มิใช่บ่อเลี้ยงหรือบ่อสำหรับเพาะพันธุ์ปลาการค้นพบทางโบราณคดียังชี้ลงไปอีกว่าชาวอัสซีเรียก็มีบ่อสำหรับกักตุนปลาเป็นอาหารสด เช่นเดี่ยวกัน และคาดว่าชาวบาลิโลนก็คงจะมีบ่อในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนชาวอียิปต์โบราณเมื่อสามพันปีมาแล้ว มีบ่อสำหรับตกปลาเป็นอาหารนอกเหนือจากบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่ชาวอียิปต์เลี้ยงในยุคนั้นคือปลาไน ปลาในสกุล ทิลาเปีย (สกุลปลานิล) และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็มีคันเบ็ดที่ใช้ตกปลานั่นเอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการเลี้ยงปลาในยุคนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพ

f_fish_bluestripe.gif

 

a_whale_blue.gif

a_dolphin.gif

 

birds_next.gif 

  

  จัดทำโดยครูบุญชู สังวาลวงศ์
โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์ อ. วัดเพลง จ.ราชบุรี

Copyright (c) 2004 Mrs.B Sa All rights reserved.

  จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2004 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.