ชนิดของคำบุพบท
Homeผู้จัดทำทดสอบก่อนเรียนคำนามคำสรรพนามคำกริยาคำวิเศษณ์คำบุพบทคำสันธานคำอุทานทดสอบหลังเรียน

 

ชนิดของคำบุพบท 
หน้าที่ของคำบุพบท 

 

ชนิดของคำของคำบุพบท
               คำบุพบทแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด

๑.  คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม  คำสรรพนามกับคำนาม  คำนามกับคำกริยา  คำสรรพนามกับคำสรรพนาม  คำสรรพนามกับคำกริยา  คำกริยากับคำนาม  คำกริยากับคำสรรพนาม  คำกริยากับคำกริยา  เพื่อบอกสถานการให้ชัดเจน  เช่น
                ๑.๑  บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ  เช่น
                         -  พ่อซื้อสวนของนายทองคำ        (นามกับนาม)
                ๑.๒  บอกความเกี่ยวข้อง  เช่น
                         -  เขาเห็นแก่กิน                         (กริยากับกริยา)
                ๑.๓  บอกการให้และบอกความประสงค์  เช่น
                         -  คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน                (นามกับสรรพนาม)
                ๑.๔  บอกเวลา  เช่น
                         -  เขามาตั้งแต่เช้า                       (กริยากับนาม)
                ๑.๕  บอกสถานที่  เช่น
                         -  เขามาจากต่างจังหวัด                 (กริยากับนาม)
                ๑.๖  บอกความเปรียบเทียบ  เช่น
                         -  พี่หนักกว่าฉัน                               (กริยากับสรรพนาม)

๒.  คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น    ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค  ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ในคำประพันธ์  เช่นคำว่า  ดูก่อน  ข้าแต่  ดูกร  คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำสรรพนามหรือคำนาม  เช่น
                         -  ดูก่อน  ภิกษุทั้งหลาย
                         -  ข้าแต่ท่านทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้า

จัดทำโดยนีรนุช  อินกองงาม
โรงเรียนวัดหนองปล้อง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1
 

Copyright (c) 2004  Mrs.Neeranuch  Inkonggam. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2001 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.