รูปแบบขององค์กรธุรกิจ

 

Homeเรื่องที่น่าสนใจความรู้พื้นฐานทางธุรกิจรูปแบบขององค์กรธุรกิจสถาบันทางธุรกิจคุณลักษณะของนักธุรกิจ

thaigoodview@hotmail.com

 

ประเภทของการประกอบธุรกิจและรูปแบบขององค์กรธุรกิจ*

 

ความหมายของการประกอบธุรกิจ

       การประกอบธุรกิจ  (Business Activities) หมายรวมถึง  กระบวนการประกอบการผลิตกระบวนการประกอบการจำหน่าย   กระบวนการประกอบการบริหาร  เพื่อให้ได้ถึงมือผู้บริโภค

การจำแนกประเภทของการประกอบธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรม

        สามารถแบ่งได้เป็น 5 ลักษณะคือ

1. ธุรกิจที่จัดหาวัตถุดิบสำหรับป้อนโรงงานหรือแหล่งผลิต เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร

2. ธุรกิจที่เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นวัตถุกึ่งสำเร็จรูป  เช่น  โรงงานทอผ้า

3. ธุรกิจที่ผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย  เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ทันที  เช่น  เสื้อผ้าสำเร็จรูป

4. ธุรกิจที่เป็นคนกลาง  ทำหน้าที่ช่วยให้สินค้าเปลี่ยนมือจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง  เช่น  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก

5. ธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการ  เช่น  ธนาคาร  การประกันภัย

รูปแบบขององค์กรธุรกิจ

รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย  จำแนกรูปแบบได้ดังต่อไปนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว

2. ห้างหุ้นส่วน  แยกออกเป็น

    2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

    2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

3. บริษัทจำกัด

4. การสหกรณ์  แบ่งเป็น 6 ประเภท

   4.1 สหกรณ์การเกษตร

   4.2 สหกรณ์ประมง

   4.3 สหกรณ์นิคม

   4.4 สหกรณ์ร้านค้า

   4.5 สหกรณ์ออมทรัพย์

   4.6 สหกรณ์บริการ

5. รัฐวิสาหกิจ

ลักษณะที่แตกต่างกันขององค์กรธุรกิจแต่ละรูปแบบ  วิธีการขอจัดตั้งและข้อดีข้อเสีย

ประเภทของธุรกิจ

ลักษณะของกิจการ

การจัดตั้ง

ข้อดี

ข้อดี

กิจการเจ้าของคนเดียว

 

 เจ้าของคนเดียวเป็นผู้ลงทุนอาจได้รับความช่วยเหลือจากญาติและจะจ้างลูกจ้างเพียงไม่กี่คนซึ่งเจ้าของกิจการจะดำเนินงานในเรื่องการบริหารและการเงิน

กิจการขนาดเล็กที่ดำเนินการเพียงคนเดียว

 การจัดตั้งกิจการทำได้ง่าย  ผู้ประกอบการมีความรู้เพียงเล็กน้อยก็ทำได้และเงินลงทุนก็ไม่ต้องมีมาก หาทำเลที่ตั้งก็ได้   ง่ายเลิกกิจการก็ไม่ต้องยุ่งยากและกำไรที่ได้ก็เป็นของกิจการ  เพียงคนเดียว

  ต้องรับผิดชอบหนี้สินเพียงผู้เดียวการขยายกิจการทำได้ยากเพราะทุนมีจำกัดและกิจการไม่มั่นคง

ห้างหุ้นส่วน

มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้าร่วมลงทุนกัน   โดยมีความประสงค์จะแบ่งกำไรร่วมกันโดยมีการตกลงกันด้วยวาจา   หรือลายลักษณ์อักษรก็ได้    

จะมีบุคคลตั้งแต่ 2คนขึ้นไปต้องเข้าร่วมประกอบการ

การก่อตั้งทำได้ง่ายมีความมั่นคงทางด้านการเงิน มีประสิทธิภาพ ลดภาวะทางด้านการเสี่ยงภัย   

ดำเนินกิจการได้ล่าช้า  อาจเกิดการขัดแย้งระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน  ต้องรับผิดชอบในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวน

บริษัทจำกัด

 จัดตั้งขึ้นโดยการแบ่งเงินทุนให้มีมูลค่าเท่าๆ กัน ซึ่งมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 100คน ผู้ถือหุ้นต่างรวมรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ  มูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ผู้ก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปเข้าชื่อกันจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ก่อตั้งด้วยคนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปร่วมเข้าชื่อกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ ดำเนินการโดยยึดหลักประชาธิปไตย

1. มีความมั่นคงทางด้านการเงินสูง  2. รับผิดชอบเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบ  3.การบริหารงานไม่ผิดพลาด  4. สามารถโอนหรือขายหุ้นของตนได้

 

1. การจัดตั้งมีความยุ่งยาก2. มีความจำกัดทางด้านกฎหมายมาก3.  มีความสิ้นเปลือง4.  อาจมีข้อขัดแย้งระหว่างผู้บริหารงาน

สหกรณ์

 เป็นการกระทำร่วมกันเพื่อดำเนินธุรกิจหรือบริการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกหรือแก้ปัญหา

ก่อตั้งด้วยคนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปร่วมเข้าชื่อกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ  ดำเนินการโดยยึดหลักประชาธิปไตย  

ระชาชนผู้เดือดร้อนสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาด้วยตนเอง ขจัดปัญหาคนกลาง      

 

รัฐวิสาหกิจ

 เป็นหน่วยงานหรือองค์การธุรกิจ 

 จัดตั้งขึ้นด้วยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐหรือรัฐมีทุนร่วมอยู่ด้วยมากกว่า 50%

 1. ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น เพราะเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ

2. ช่วยควบคุมสินค้าบางชนิดที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

3. ช่วยเหลือเอกชนในงานเฉพาะด้าน

 1.  ภาคเอกชนหมดโอกาสที่จะลงทุนเพียงผู้เดียว

2.  เงินหมุนเวียนจะลดลงเพราะถูกนำมาลงทุน

ข้อควรรู้

        หนังสือบริคณห์สนธิ  หมายถึง  หนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทและร่วมกันลงชื่อไม่น้อยกว่า  7  คน (ผู้เริ่มก่อการ)  มีรายละเอียดดังนี้

1. ชื่อบริษัทจะต้องมีคำว่า  "จำกัด"  ไว้ท้ายชื่อนี้ด้วยเสมอไป

2. สำนักงานของบริษัทซึ่งจดทะเบียนจะต้องอยู่ ณ ที่ใดในพระราชอาณาเขต

3. วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท

4. คำแสดงว่าความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด

5. จำนวนทุนเรือนหุ้นแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร

6. ชื่อสำนักงานและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการทั้งจำนวนหุ้นที่ซื้อไว้แต่ละคน

       การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิในเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักทะเบียนหุ้นส่วน  บริษัท  กรมทะเบียนการค้า  กระทรวงพาณิชย์  ส่วนภูมิภาคจะต้องจดทะเบียน  ณ  หอทะเบียน  หุ้นส่วน  บริษัท  ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

      การตั้งชื่อบริษัทจำกัดนั้น  ต้องมีคำว่า  "บริษัท"  ไว้หน้าชื่อและ "จำกัด"  ต่อท้ายชื่อยกเว้น  ธนาคารพาณิชย์ให้ใช้คำว่า "ธนาคาร"  แทนคำว่าบริษัท

 


คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2002 lamom . All rights reserved.