การใช้โวหารภาพพจน์

  

Homeผู้จัดทำบทนำเรื่องการใช้สำนวนภาษาการใช้โวหารภาพพจน์ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

      

 การใช้โวหารภาพพจน์ ทรงใช้โวหารภาพพจน์ โดยการใช้โวหารภาพพจน์ตลอดทั้งเรื่อง         เพื่อช่วยให้ภาษาสละสลวยเกิดเป็นความงามทางภาษาและยังทำให้เรื่องน่าอ่านขึ้น ทั้งนี้เพราะโวหารภาพพจน์จะช่วยให้เกิดมโนภาพ สามารถรับถรรรสและสุนทรียรศในบทประพันธ์ได้เป็นอย่างดี
อุปมาอุปไมย (Simile)การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่งโดยมีคำเปรียบเทียบชัดเจน เช่น
       ไม่นานนักพระนางก็ประสูติพระโอรสมีวรรณะดังทอง
        มหาชนเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า น้ำโดยรอบมีสีเหมือนโลหิต
        พระมหาสัตว์เป็นไปอยู่ในคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี เหมือนท่อนต้นกล้วยทอง
        พระมหาสัตว์ทรงว่าน้ำข้ามสมุทรอยู่เจ็ดวันเหมือนว่ายข้ามวันเดียว
นามนัย (Metonymy) การแทนคำเพื่อนำไปสู่ความหมายที่ต้องการ  ทรงใช้นามนัยเพื่อให้เกิดความหมายโดยนัยที่ไพเราะและโวหารภาพพจน์ที่งดงามยิ่ง ดังนี้
        ความสิเนหาของพระอริฏฐชนกราชต่อพระอนุชา  ทนทานคำอาบพิษอันซ้ำซากไม่ได้
สัญลักษณ์(  Sybol) ทรงเลือกหาคำอื่นมาแทนอีกสิ่งหนึ่ง ดังนี้
        พระองค์จะมอบเศวตฉัตรหรือจะเข้ายุทธภูมิกัน
บุคลาธิษฐาน (Personification)  เป็นการสมมุติสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการและความรู้สึกนึกคิดประหนึ่งมนุษย์  ดังนี้
          ทรงกล่าวถึงการปลอมพระองค์ของพระมเหสีของพระอริฎฐชนกว่า ทรงปลอมพระองค์ด้วยภูษาเก่าเศร้าหมอง  ทรงใช้คำ เศร้าหมอง ประกอบกับคำว่า ภูษา เพื่อเน้นอารมณ์
          เรือแล่นด้วยกำลังคลื่นที่ร้ายกาจ  คำร้ายกาจ  ช่วยเน้นอารมณ์เสมือนว่าเป็นคน

 

 

 จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยครูนุสรา  ขวัญศรี
โรงเรียนพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
Copyright(c) 2007 Ms.Nutsara Khwansri.All rights reserved.