วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี
Homeผู้จัดทำหลักการและเหตุผลวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีตัวละคร

 วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี

                 ระยะเวลาเพียง 15 ปี และเต็มไปด้วยสงครามนั้น ยอมที่จะหาเรื่องที่เป็นชิ้นเป็นอันได้โดยยาก มีวรรณคดีที่เกิดในสมัยนี้ 2-3 เรื่อง คือ ลิลิตเพชรมงกุฎ ของหลวงสรชิต (หน) ซึ่งต่อมาในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง โครงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ นายสวน มหาดเล็ก คำฉันท์กฤษณาสอนน้อง ของพระภิกษุอิน เมืองนครศรีธรรมราช วรรณคดีที่สำคัญที่ควรนำมากล่าว คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

     เรื่องรามเกียรต์

    1 บ่อเกิด เรื่องรามเกียรติ์นั้นเดิมเป็นเรื่องของชาวอินเดีย เรียกตามภาษาของชนชาตินั้นว่า รามายณะ ชาวอินเดียโดยเฉพาะที่นับถือพระวิษณุ ถือว่า รามายณะนี้เป็นคัมภีร์สำคัญ เท่ากันเป็นคัมภีร์ศาสนา ใครได้อ่านถือว่าได้บุญ กุศลได้ขึ้นสวรรค์ เมื่อราวประมาณ พ.ศ. 1900 ชาวอินเดียตอนใต้ได้เข้ามาทำการค้าขาย และตั้งถิ่นฐานทางฝั่งตะวันออกแห่งมหาสมุทร พวกนี้จึงได้นำวัฒนธรรทของเจามาใช้ในหมู่เกาะใต้

     ผู้แต่งเรื่องรามายณะนี้ เป็นฤาษีชื่อ วาลมิกี ไดแต่งเรื่องนี้เมื่อประมาณ 2400 ปีเศษมาแล้ว ตามตำนานว่า พระวาลมิกีได้ฟังเรื่องพระรามายณะจากพระนารท ต่อมาพระวาลมิกีได้ไปที่ฝั่งแม่น้ำกับนางตมสา ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำคงคา ได้เห็นนางนกกระเรียนตัวหนึ่ง ร้องคร่ำครวญถึงตัวผู้ ซึ่งถูกพรานยิงตาย พระวาลมิกีเห็นเช่นนั้นก็อุทานออกมาด้วยความสลดใจ เสียงที่อุทานมานั้นรู้จะอยู่ในคณะฉันท์ ใช้สำหรับขับได้ จึงได้นำทำนองนี้ซึ่งพบใหม่มาแต่งเรื่องรามายณะ และเรียกฉันท์นี้ว่า โศลก (โศก) เพราะฉัทน์นี้เกิดจากความสลดใจ

    เรื่องรามายณะนี้ เป็นเรื่องยาวประกอบด้วยฉันท์ถึง 24000 โศลก แบ่งออกเป็นตอนๆเรียกว่า กัณฑ์ รวมทั้งหมด 7 กัณฑ์ คือ พาล อโยธยากัณฑ์ อรัณยกัณฑ์ กีษกินธา กัณฑ์ สุนทรกัณฑ์ ยุกธ-กัณฑ์ และอุตตรกัณฑ์

    เรื่องรามเกียริ์มีบุคคงสำคัญในเรื่องคือ พระราม นางสีดา และทศกัณฐ์ นักปราชญ์บางท่าน เช่น ศาสตราจารย์ เดวิดส์ ว่าเป็นเรื่องที่มีมานานจาก ซึ่งเป็นเรื่องที่มีมานานกว่า 2400 ปี แต่เป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่ วาลมิกีได้รวบรวมขึ้นมาใหม่

                พระรามในประวัติศาสตร์ ในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 เรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ไดกล่าวถึงประวัติของพระรามไว้ว่า

            พระรามเป็นโอรสองค์ที่ 1 แห่งท้าวทธรฐ กษัตริย์สุริยวงค์ ผู้ครองนครศรีอโยธยา แคว้นโกศล พราหมณ์มักนิยมว่า พระรามเป็นพระนารายณ์ อวตารปางที่ 7 และได้กำเนิดในไตรดายุค คือยุคที่ 2 แห่งโลกมนุษย์นี้ พระมารดาพระรามมีนามว่า นางเกาศัลยา (ซึ่งในรามเกียรติ์มีพระนามว่า “เกาสุริยา” มีอนุชา 3 องค์ คือ พระภรต โอรสนางไกเกยี (ซึ่งในรามเกียรติ์ของเราเรียกว่า “ไกยเกษี”) พระลักษณ์และพระศัตรุฆน์ โอรสนางสุมิตรา (ซึ่งในรามเกยีรติ์เราเรียกว่า “สมุทร”) พระรามได้มเหสีคือ นางสีดา เป็นบุตรท้าวศรีธวัช ซึ่งมักเรียกว่าท้าวชนก ผู้เป็นกษัตริย์สุริยวงค์ ครองนครมิถิลา แคว้นวิเทห พระรามมีโอรส 2 องค์ คือ พระกุศกับพระลพ พระรามได้ปราบท้าวรราพณสูร ผู้ครองนครลงกา แล้วกลับมาทรงราชย์ในพระนครศรีอโยธยา ครั้นเมื่อพระรามจะสิ้นพระชนม์ ได้แบ่งแคว้นโกศลออกเป็น 2 ภาค ให้พระกุศโอรสองค์โต ครองโกศล ตั้งนครหลวงขื่อ กุศะสถลี หรือ กุศาวดี พระลพครองอุตตรโกศล ตั้งนครหลวงชื่อ ศราวัสตี (สาวัตถี) หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ลพปุระ”

     2 รามายณะในประเทศไทย ตามหลักฐานที่พอจะอนุมานได้ ปรากกว่าเรื่องรามายณะได้เข้ามายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 900 ปีล่วงมาแล้ว เพราะที่ปราสาทหินเมืองพิมายมีภาพสลักศิลาเรื่องรามเกียรติ์ ส่วนในสมัยสุโขทันก็มีพูดถึงถ้ำพระราม ถ้ำสีดา ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง แต่เรื่องที่ปรากฏเป็นวรรณคดีนั้น เดินเราจะเคยมีหรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีคำฉันท์อยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อ ราชาพิลาป คำฉันท์(นิราศสีดา) ผู้แต่งไม่ปรากฏนาม เป็นเรื่องที่แต่งสมัยสมเด็จพระนารยณ์มหาราช พรรณนาความคร่ำครวญของพระราม ตอนออกเดินทางเที่ยวตามหานางสีดา เรื่องนี้นับเป็นรามเกียรติ์เรื่องเดียวที่เกิดขึ้นก่อนรามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนฯ และตกทอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน

     3 รามเกียรติ์ฉบับไทยได้มาจากไหน เรื่องรามายณะนั้น เราเรียกกันว่า รามเกียรติ์ จะเรียกกันมาแต่ครั้นใด สืบสวนไม่ได้ เรื่องรามเกียรติ์ฉบับเต็มคือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ถ้าเปรียบเทียบกับรามายณะของวาลมิกีแล้ว ก็มีความแตกต่างกันหลายแห่ง เช่นการดำเนินเรื่องตอนตั้นก็ไม่เหมือนกัน ฉบับพระราชนิพนธ์ ร.1 เริ่มขึ้นด้วยหิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน ส่วนวาลมิกีนั้นเริ่มโดยกล่าวประวัติการแต่งรามายณะ แล้วจับเรื่องกล่าวถึงประวัติพระรามทีเดียว

                             พระรามอนุมานราชธน ไดให้ข้อสันนิษฐานที่มา รามเกียรติ์ ฉบับไทย ดังนี้

      “ที่ว่ารามเกียรติ์นั้นได้ฉบับมาจากไหน จะตอมยืนยันลงไปย่อมไม้ได้ เพราะไม่มีหลักฐานให้เห็นอยู่ได้ชัดเจน จึงต้องอาศัยอนุมานที่เหลืออยู่นั้นสืบต่อมา ให้เห็นได้แต่รางๆเท่านั้น แต่ต้องนำเอาเรื่องทางประวัติศาสตร์ขึ้นมาพูด

            ประเทศสยามตอนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมทีเดียว แต่ในสมัยที่มีพงศาวดารแล้วเป็นอาณาจักรที่ชื่อว่า ทวาราวดี ประชาชนอินเดียที่มาตั้งภูมิลำเนาในแคว้นนี้ จะเป็นชาวอินเดียในแคว้นไหนก็ตามที แต่ปรากฏอยู่อย่างหนึ่งว่า เกี่ยวข้องกับแคว้นมคธ สมัยราชวงศ์คุปต์อยู่บ้าง ถ้าไม่ใช้ทางตรงก็ทางอ้อม คือผ่านมาทางแคว้นเบงกอล เข้าแคว้นยะไข่ อัสสัม และพม่า แล้วเข้าสู่สยาม เพราะพระพุทธรูปและอักษรจารึกที่ขุดได้ในประเทศนั้น ที่เป็นราชวงศ์คุปต์ก็มีอยู่มากเป็นแนวกันมา เพราะฉะนั้นแบบแผนความเจริญที่ได้กันมา จะต้องเป็นตามภาคเหนืออยู่บ้างและคงรู้รามายณะวาลมิกี เพราะเป็นเรื่องลัทธิศาสนาที่ถือ จะขาดเสียไม่ได้ ครั้นต่อมาไทยยกลงมาทางตอนเหนือ เข้ามาตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นการแทรกกันระหว่าง 2 ชาติที่อยู่ก่อน(แต่นักปราชญ์บางท่านยืนยันว่าไทยมาอยู่ก่อน) คือแยกมอญให้ร่นไปทางตะวันตก และขอมไปทางคะวันออก เมื่อไทยได้มาติดต่อกับ 2 ชาตินี้ และประชาชนพลเมืองส่วนมากที่ไทยครอง ก็ย่อมเป็นทาสที่ไม่ใช้ไทยปนอยู่ ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องรับคติจากชาติอื่นมาปะปนกับเรา แต่ว่าไทยไม่ใช้ยกลงมาได้ดินแดนที่เป็นอาณาจักรมอญและขอมในคราวเดียวกัน ย่อมจะขยายอำนาจเขยิบลงมาเป็นลำดับ แล้วแต่เหตุการณ์และกำลังเป็นเครื่องนำ ก่อนที่จะได้เผชิญกับชาติเบื้องต้นนี้ ไทยคงได้รับคติจากพระพุทธศาสนามาก่อนแล้ว เพราะปรากฏว่ามอญได้รับศาสนาและแผ่ลัทธิขึ้นไปทางตอนเหนือ จึงทำให้ไทยได้รับเข้ามาด้วย

           ส่วนขอมพระเจ้าแผ่นดินที่ปกครอง เป็นผู้สืบเชื้อสายจากอินเดียภาคใต้ ลัทธิศาสนาที่นับถือจึงต้องเป็น นิกายไศวะและมหายาน ถึงแม้ว่าภายหลัวไทยได้คติขอมมา ก็คงไม่หนักไปทางไสยศาสตร์เหมือนดังขอม เพราะนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่งคง บางอย่างที่นำเอามาจากขอม ก็จะเป็นไปไนขบวนที่จะให้เห็นเป็นเครื่องหมายว่าได้รับชัยชนะจากขอมหรือไม่เช่นนั้นก็จะรักษาประเพณีขอมไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์แห่งการปกครองซึ่งราษฎรนิยมคติเดิมอยู่ เพราะฉะนั้นรามายณะซึ่งถ้าได้มาจากขอม ในตอนนี้ก็จะเป็นรามายณะในอินเดียภาคใต้ แต่จะเป็นชนิดที่แปลจากฉบับสันสฤต ซึ่งนับถือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิศาสนา จึงได้ปรากฏชื่อตามแบบอย่างในฉบับสันสกฤตจนมาถึงสมัยอยุธยา เพราะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นสมัยที่อักษรศาสตร์กำลังเฟื่องฟู กวีทั้งหลายใน 2 รัชสมัยนี้ แม้แต่พระเจ้าแผ่นดินเองก็เล่นภาษาสันสกฤตทั้งนั้น ดั่งจะเห็นได้จากหนังสือมหาชาติคำหลวง เป็นต้น จึงน่าจะเข้าใจว่า สมัยนั้นคงรู้รามายณะ เพราะมีคำใช้เรียกชื่อพระรามคำหนึ่งว่า ราฆพ ใช้เป็นพระราชทินนาม แปลว่า เหล่ากอท้าวรฆุซึ่งเป็นปู่ทวดพระราม (ในรามเกียรติ์เรียกว่า ท้าวอโนมาตัน รูปศัพท์เป็นภาษาทมิฬ) คำว่ารฆุ และ ราณพนนี้ต่อไปไม่ปรากฏว่ามีหนังสือเล่มใด เพิ่งจะมารู้จักกันแพร่หลายก็เมื่อเร็วๆนี้ ในกฎมณเทียรบาลแห่งหนึ่ง กล่าวถึงพิธีอินทราภิเษกว่า ได้เล่นดึกดำบรรพ์ตอนกวนน้ำทิพย์อัมฤตเช่นนี้ ย่อมมีอยู่ในรามายณะวาลมิกีตอนต้น ว่าเป็นอวตารแห่งนารายณ์ปางที่ 2 ทรงปะพฤติเบญจเพศ โปรดให้เล่นดึกดำบรรพ์ ซึ่งยุติกันแล้วว่าเล่นโขน แต่ในสมัยนั้นไม่เรียกว่าโขนหรือละคร ก็ต้องคิดว่าเพราะยังไม่ได้มีรามเกียรติ์ชนิดที่เล่นโขนมาจากชวา จะมีก็อย่างชนิดเป็นคัมภีร์ ในพงศาวดารอีกแห่งเหมือนกันว่า ในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ พระยาเฉลียงเป็นขบถ พระยาเฉลียงนี้ในยวนพ่ายกล่าวว่า ชื่อ ยุทธิษฐิระ ดังนี้

                                                      “แถลงปางปราโมทย์เชื้อ  เชิญสงฆ์

                                 สสโมสรสุข                    เมศไท้

                                 แถลงปางเมื่อลาวลง           ชัยนาท น้นนฤา

                                 เพราะยุทธิษฐิระได้             ย่างยาว”

          ยุทธิษฐิระ เป็นพระนามกษัตริย์องค์ใหญ่องค์หนึ่งใน พวกปาณฑุ ซึ่งมีเรื่องอยู่ใน มหาภารตะ และเพิ่งจะแพร่หลายก็ในเร็วๆนี้ ชวนให้เห็นว่า สมัยโบราณครั้นกระนั้นคงรู้จักรามายณะอินเดียฝ่ายเหนือ คือฉบับสันสกฤตแล้วไม่มากก็น้อย ที่รามเกียรติ์มาผิดแปลกได้จากฉบับวาลมิกี ก็คงเป็นตอนหลัง และจะได้มาจากอินเดียภาคใต้ทั้งทางตรงและอ้อม คือได้จากอินโดนีเซีย ผสมกันเรื่องเก่าที่ยังเหลือ ซึ่งสมัยนั้นคงจะกระจายสูญหายไป จะเป็นทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้ในที่สุดพระราชนิพนธ์อิเหนาว่า

                                        “อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง     สำหรับงานการฉลองกองกุศล

                   ครั้นกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์                แต่เรื่องต้นตกหกหายพลัดพลายไป

                   หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น             ให้รำเต้นละครคิดรำใหม่

                    เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้                   บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน”

         ที่ว่าได้มาจากอินเดียภาคใต้เพราะเห็นได้จากหนังสือบุณโณวาทฉันท์ ซึ่งแต่งในปลายกรุงศรีอยุธยา อ้างเรื่องรามเกียรติ์ไว้หลายแห่ง แต่แห่งหนึ่งอ้างเรื่องไมยราพ ซึ่งรามายณะวาลมิกีไม่มี ว่า

                               “เริ่มเรื่องไมยราพฤทธิ์รงค์ สะกดอุ้มองค์ นเรศดลบาดาล”

         ดังนี้พวกที่เข้ามาเป็ยครูยาอาจารย์อยู่ในสยามส่วนใหญ่มาจากอินเดีดยฝ่ายใต้ ซ้ำในตอนหลังครั้งกรุงธนบุรี ก็ดูเหมือนต้องเรียกพวกพราหมณ์ทางมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ความว่าส่วนมากเป็นพราหมณ์ในนิกายไศวะ เข้ามาสอบถามเรื่องต่างของพราหมณ์ และประกอบด้วยเหตุผลอื่นๆ รองลงมาจากอินเดียฝ่ายใต้ก็คงเป็นเบงคาลี แม้แต่สีเนื้อพระรามฝ่ายเหนือเป็นสีน้ำเงิน แต่เบงตาลีเป็นสีเขียวใบไม้เหมือนกับพวกเรา

        หากว่ารามเกียรติ์บางตอน ตลอดจนชื่อบุคคลในเรื่องจะคล้ายคลึงกับ 2 ชาติข้างต้นนี้ก็จริง แต่ยังไม่เป็นเหตุเพียงพอ ว่าเราได้มาจาก 2 ชาตินี้ทั้งหมด เพราะรามเกียรติ์ขาดเรื่องที่มีอยู่ในรามายณะของเขาก็มากแห่งถึงเรื่องไมยราพก็นับง่าใกล้กันมาก ก็ยังมีที่ผิดแปลกกันอยู่ บางทีเราจะได้เรื่องมาทางอ้อม ทางประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ชื่อบุคคลในรามเกียรติ์บางชื่อ ในฉบับวาลมิกีแยกเป็น 2 ชื่อ แต่รามเกียรติ์รวมกันเป็นชื่อเดียว เช่น สุกสาร และ บุตรลพ ของชวาก็รวมเรียกเหมือนรามเกียรติ์ ทำไมจึงมารวมเรียกกันว่าเฉพาะ บุตรลพ พอจะเดาได้เพราะคำว่า กุศ และ ลวะ ซึ่งเป็นโอรสทั้งสองของพระราม ชาวอินเดียมักเขียนแล้วรวมเรียกกันว่า กุศลวะ (ตามแบบอินเดียมักรวมชื่อเข้าเป็นกลุ่มอักษร เช่น ศุกรสารณ์ และ ขรทูษณ์ เป็นต้น เราเรียกว่า ทูตขร เป็นการกลับกัน เพราะของเขาถ้ารวมชื่อ ต้องเอาชื่อที่น้อยอักษรไว้ข้างหน้าชื่อที่มีอักษรมากกว่า) ครั้นตกมาถึงอินโดนีเซีย คำว่า กุศลวะ ก็กลายเป็น บุตลวะ ไป เมื่อตกมาถึงเราก็เป็น บุตรลพ หมายความถึงโอรสองค์น้องของพระราม อาศัยเหตุที่มากลาเป็นบุตรลพ เราจึงเอาเรื่องที่ว่าเรียกชื่ออย่างนั้น เพราะเป็นบุตรที่ถูกฤาษีจะลบออกเสีย

        อย่างไรก็ดีเป็นอันกล่าวได้ว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นคลังแห่งรามายณะ ถัดจากอินเดียภาคใต้ มีทั้งเรื่องที่ใกล้ไปทางฉบับสันสกฤตและเรื่องที่ไกลออกมา เมื่อเป็นอย่างนี้ในการที่จะสาวหาเรื่องพอเอามาเปรียบเทียบกัยรามเกียรติ์เห็นจะยาก เพราะหาฉบับไม่ได้ และคงจะเป็นชนิดที่ถ่ายทอดกันมาทางปากไม่ใช่หนังสือ อย่าดูอื่นไกล เพียงเรื่องอิเหนาเท่านั้น ก็สาวไม่ออกว่าได้มาจากฉบับไหน เพราะอิเหนามีหลายสำนวนด้วยกัน จึงดูเรื่องฉบับเดียวไม่ได้ เรื่องที่แต่งเล่นละครมีมากฉบับที่แตกต่างกัน เพราะเป็นเรื่องเก่าเหมือนพงศาวดารเหนือว่าพระร่วงมีจริงแน่ เพราะฉะนั้นความจริงในเรื่องอิเหนาเพียงใด ก็ย่อมมีความจริงในเรื่องรามเกียรติ์เพียงนั้น แม้นักปราชญ์ชาติต่างจะได้เพียงสืบสวนทวนความและเทืยบค้นสืบต่อมาเป็นทอดๆ หลายๆคนก็จับเค้าความไม่ได้ถนัด ว่าเอามาจากรามายณะฉบับไหนบ้าง ต้องใช้การสันนิษฐานว่ามาจากที่ต่างๆในอินเดีย ไม่สามารถเจาะจงลงไปได้เฉพาะ ซ้ำผู้รวบรวมเรื่องนี้ก็มีโอกาสได้อ่านรามายณะฉบับต่างๆน้อยฉบับ ถึงได้อ่านกระท่อนกระแท่นต้นหายปลายขาด ความบกพร่องในการวินิจฉัยเรื่องก็ย่อมมาก ไม่ล่วงพ้นไปได้ด้วยประการทั้งปวง

         รวมความรามเกียรติ์ที่สำเร็จรูปอยู่ในเวลานี้ ส่วนมากคงได้มาจากอินโดนีเซียในรุ่นหลัง และคงมาในรุ่นเดียวกับอิเหนา ซึ่งได้ความว่า ได้มาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ถ้าจะมีฉบับสันสกฤตด้วนก็ว่าจะน้อยเต็มที เพราะเขาเทียบกันดูก็ไม่ตรงเป็นอันมาก

         เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องรามเกียรติ์ของไทย ฉบับที่มีเนื้อเรื่องบริบูรณ์คือ บทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ใน ร 1 นอกนั้นเป็นฉบับที่มีเนื้อเรื่องแต่เพียงบางตอน รามเกียรติ์ฉบับพระเจ้ากรุงธนเป็นฉบับที่เป็นกลอนบทละครมีเพียง 4 ตอน คือ ตอนทศกัณณ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกระบิลพัทจนผูกผม ตอนพระมงกุฎ (กุศ) ทรงแผลงต้นไม้ (ลองศร) ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน บางแผนกในต้นฉบับสมุดไทยบอกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนได้ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ จ.ศ. 1132 (พ.ศ. 2313) คือเมื่อสร้างกรุงธนบุรีแล้ว 3 ปี

        ทำนองกลอนที่ทรงนิพนธ์นั้น ฟังไม่สู่ราบรื่นนัก ส่วนใหญ่ยังฟังตะกุกตะกักขัดหู รู้สึกว่าลักษณะขึงขัง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ซึงส่อให้เห็นว่าผู้เขียนเป็นนักรบมากกว่าเป็นกวี


 คุณเข้าเยี่ยมชมอันดับที่

ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2545
thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2002 MISS CHOMCHOB NISAMANEEPONG. All rights reserved.