หญ้ามาเลเซีย

 

 

Home 
ไม้ยืนต้น 
ไม้พุ่ม 
ไม้เลื้อย 
ไม้ล้มลุก 
ปาล์ม 
เฟิร์น 
หญ้า 
ไม้น้ำ 
กล้วยไม้ 
คณะผู้จัดทำ 
ขอขอบคุณ 

 

หญ้ามาเลเซีย



 

ชื่อสามัญ                 Tropical Carpet grass, Savanna Grass

ชื่อวิทยาศาสตร์       Axonopus compresus Beauv.

วงศ์                        GRAMINEAE

ลักษณะทั่วไป

ลำต้น
               จะแบนและมีลำต้นบนดินแตกออกทั้ง
2 ข้างของลำต้น ลำต้นบนดินไม่ยาวนัก รากจะแตกออกจากข้อของลำต้นบนดิน ที่เรียกว่า ไหล เมื่อไหลนี้สัมผัสกับดินรากและ
ลำต้นใหม่ก็จะแตกออกจากข้อของไหล แล้วเจริญเติบโตแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
ใบ
               ใหญ่กว่าใบหญ้าทุกชนิด ใบมีสีเขียวอ่อน มีรากตื้น ตัวใบแบน ตรงกลางใบจะหักพับคล้ายหลังคาบ้าน ขอบใบมีขนตั้งแต่ข้อต่อระหว่างตัวใบกับก้านใบจนถึงยอดของใบ ในใบแก่จะมีขนเห็นได้ชัดเจนกว่าใบอ่อน และใบอ่อนจะเห็นเป็นคลื่นมากกว่าใบแก่ ขนที่ใบจะอยู่ด้านหน้าใบ ส่วนทางหลังใบจะเป็นมันไม่มีขน เส้นกลางใบทางด้านหลังจะนูนเด่นชัดเจน ยอดใบแหลมมน
ดอก
               
ช่อดอกเกิดจากปล่องสุดท้ายของลำต้น มี
3 - 5 ช่อ ดอกย่อยเป็นรูปไข่แหลม ยาวประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางก็สามารถขึ้นได้ดี และสามารถขึ้นได้ดีในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือร่มรำไร เช่น บริเวณชายคาบ้าน และอาคารหรือใต้ต้นไม้ที่มีแดดรำไรไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ ถ้าน้ำขังแฉะต้นจะแคระแกร็น ใบจะเหลืองและตายได้ การเจริญเติบโตได้ดี และมีรากแน่นถ้าปลูกในที่มีแสงน้อย ถ้าปลูกในที่มีแสงแจ้งมีแดดจัด จะทำให้ต้นแคระ ข้อปล้องจะสั้นมีสีแดง ส่วนใบก็จะเล็กลงและมี
สีแดงด้วย หญ้านี้มีความต้องการน้ำมาก ซึ่งก็เนื่องจากมีใบใหญ่ จึงมีการคายน้ำมาก ในฤดูแล้ง ถ้าหากขาดน้ำไใบจะเหลือง และชงักการเจริญเติบโต และไม่ทนต่อการเหยียบย่ำหญ้ามาเลเซียนี้ไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนัก และไม่ต้องตัดบ่อยๆ เหมือนหญ้าอื่นๆ นิยมใช้เป็นหญ้าคลุมวัชพืชในสวนยาง สวนผลไม้ทางภาคใต้ เพราะขึ้นได้แน่นดี วัชพืชอื่นๆ ไม่มีโอกาสขึ้นแซมได้

ประโยชน์

               หญ้ามาเลเชียเป็นหญ้าที่ใช้ทำสนามหญ้าและจัดสวนหย่อม เช่นเดียวกับหญ้าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในที่ร่มรำไร สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่ทนต่อดินเค็ม หญ้ามาเลเชียที่ใช้ปลูกโดยเมล็ดจะสามารถป้องกันการพังทลายของดินในที่มีความลาดชันสูงได้ดีเช่นกัน ทนต่อดินเป็นกรดที่มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 เป็นหญ้าที่ชอบความชื้นสูง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วในฤดูฝน มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการใช้ส่วนต่างๆ โดยเฉพาะลำต้นเป็นกระจุก แบบปูเป็นแผ่น การปลูกด้วยเมล็ดจะลงทุนน้อย โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 3 - 4 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ตารางฟุต

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550

 จัดทำโดย
นางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล,
นางสาว คุณภัทร สิทธิเชนทร์, นางสาว ดวงทิพย์ ลาวัณษ์เสถียร และ นางสาว อริศรา ชินพรทวีสุข
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2007 Miss Oratai Pupipat, Miss Porkaew Ruktienmongkol, Miss Sanita Asavasriworakul,
Miss Kunnapat Sitthishane, Miss Duangtip Lawanstiend and Miss Arisara Chinnaporntaweesuk. All rights reserved.