กล้วยไม้ดิน

 

 

Home 
ไม้ยืนต้น 
ไม้พุ่ม 
ไม้เลื้อย 
ไม้ล้มลุก 
ปาล์ม 
เฟิร์น 
หญ้า 
ไม้น้ำ 
กล้วยไม้ 
คณะผู้จัดทำ 
ขอขอบคุณ 

 

กล้วยไม้ดิน



 

ชื่อสามัญ                   Ground orchid

ชื่อวิทยาศาสตร์         Spathoglottis Blume.

ชื่อวงศ์                     ORCHIDACEAE

ชื่ออื่นๆ                     เอื้องดิน ว่านจุก กระเทียมป่า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

โดยทั่วไปกล้วยไม้ดินมีการเจริญเติบโตแบบ sympodial มีลำลูกกล้วยป้อมซึ่งมักนิยมเรียกกันว่าหัว ที่ห้วมีข้อถี่ๆ ลำหนึ่งหรือหัวหนึ่งมีใบอยู่ 2-4 ใบ กล้วยไม้ดินใบหมากมีลำต้นแบบ creeping rhizome อยู่ใต้ดินซึ่งเจริญแบบซิมโพเดียมลำลูกกล้วยเจริญจากลำต้นใต้ดินโผล่เหนือดินเป็นจุดกำเนิดใบ ใบยาวและมีเส้นใบที่เป็นรอยพับจีบตามยาวฐานใบมีกาบใบรอบๆ ลำต้นปลายกาบใบจะเชื่อมตดกันเมื่อเล็กใบจะตั้งตรงและมีร่องเมื่อแก่ปลายใบเรียวแหลมและโค้งปลายห้อยลง ช่อดอกเกิดด้านข้างของหัว ดอกเกิดที่ปลายช่อ ช่อดอกแบบ racemose ดอกบานจากข้างขึ้นข้างบนจำนวน 10- 30 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีรูปร่างคล้ายกันและกางออกเกือบอยู่ในระนาบเดียวกันกลีบปากช่วงกลางมักคอด ช่วงปลายกว้างและปลายมักจะหยักเว้าส่วนโคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้ง 2 ข้างบางชนิดไม่มีหูปาก ปลายปากผายออกกว้างแล้วแต่ชนิดบางครั้งเว้าที่ปลายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด เส้าเกสรที่โคนยาวโค้งเล็กน้อย กล่มเรณูมี 2 ชุด ชุดละ 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มรูปคล้ายกระบอก

ถิ่นกำเนิดและพันธุกรรม

กล้วยไม้สกุล Spathoglottis กระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกบางเกาะ กล้วยไม้สกุลนี้พบขึ้นเกือบทั่วประเทศไทยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก เป็นพวกที่มีดอกสีเหลืองหรือขาวนวล ส่วนที่พบทางภาคใต้ดอกสีม่วง

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2550

 จัดทำโดย
นางสาว อรทัย ภู่พิพัฒน์, นางสาว พอแก้ว รักษ์เธียรมงคล, นางสาว ศานิตา อัศวศรีวรกุล,
นางสาว คุณภัทร สิทธิเชนทร์, นางสาว ดวงทิพย์ ลาวัณษ์เสถียร และ นางสาว อริศรา ชินพรทวีสุข
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2007 Miss Oratai Pupipat, Miss Porkaew Ruktienmongkol, Miss Sanita Asavasriworakul,
Miss Kunnapat Sitthishane, Miss Duangtip Lawanstiend and Miss Arisara Chinnaporntaweesuk. All rights reserved.