ดีโอนีซัส2

Homeประวัติผู้จัดทำเซอุสเฮร่าเอเรสเฮฟเฟตัสอโฟรไดท์เฮอร์เมสดิเมเทอร์โปโซดอนเอเธน่าอะพอลโลอาร์เทมิสดีโอนีซัส

 

ดีโอนีซัส1 
ดีโอนีซัส2 
ดีโอนีซัส3 

 

            แม้ว่ากำเนิดแท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพอย่าง สมบูรณ์ มีความเป็น อมฤตภาพเช่นเดียวกับเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัส แต่ไดโอนิซัสรักที่จะ เดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอัน กว้างขวางมากกว่า ไปทางไหนก็นำความชุ่มชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย คนที่มองเห็นคุณความดีของเธอพากันเคารพนับถือ ส่วนคนที่ดูถูกเหยียดหยามมักถูกลงโทษ ในฐานะที่เพิ่ง จะดำรงตำแหน่งเทพ ไดโอนิซัสไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ คนนับถือสักเท่าใดนัก ครั้นเวลาผ่านไป และคุณกับโทษของเธอเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้น มนุษย์ส่วนใหญ่จึงพากันเคารพนับถือ และสร้างวิหารถวายแด่ เมรัยเทพเป็นการใหญ่

ไดโอนิซัส ทำให้พื้นดินสะพรั่งไปด้วยองุ่นรสเลิศที่ทรงคุณประโยชน์มากหลาย ทำให้ผู้คนอิ่มหนำ และชื่นบาน แต่มีหลายครั้งที่ไดโอนิซัสทำให้คนกลายเป็นวิกลจริตอย่างน่าสมเพช ในจำนวนนี้มีสตรีกลุ่ม หนึ่งซึ่งเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) ซึ่งถูกพิษของเมรัย ทำให้เป็นบ้าหมดสติไปทุกคน ต่างกระโดด โลดเต้นร้องรำทำเพลงไปตามป่าเขาลำเนาไพร อย่างขาดสติ บางครั้งก็มาห้อมล้อมติดสอยห้อยตามไดโอนิซัส ไปด้วย ต่อมาในยุคโรมันเมื่อไดโอนิซัสได้รับชื่อเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) คณานางสติไม่ สมบูรณ์เหล่าสตรีก็ได้รับชื่อใหม่ว่า แบกคันทีส ( Bacchantes) จึงออกจะเป็นถาพที่ ประหลาดมากที่ชาย หนุ่มรูปงามคนหนึ่งจะเดินทางไปไหน ๆ โดยแวดล้อมด้วยผู้หญิงบ้า

เรื่องราวความรักของไดโอนิซัสก็มีบ้าง แต่เป็นรักที่ลงเอยด้วยความเศร้าสลด คือเธอไปพบและช่วยเหลือนาง อาริแอดนี่ (Ariadne) ธิดาเจ้ากรุงครีตไว้ได้ อาริแอดนี่ ธิดาของท้าว ไมนอสแห่งนตรครีต ซึ่งเลี้ยงอสูรร้ายชื่อ มิโนทอร์เอาไว้ใต้ดิน เมื่อวีรบุรุษ ธีลิอัสเดินทางไปครีตเพื่อเป็นเหยื่อแก่มิโนทอร์ นวลอนงค์ก็เกิดมีใจปฏิพัทธ์กับเจ้าชาย หนุ่ม จึงหาทางช่วยเหลือและพาหนีออกเกาะครีตได้สำเร็จ แต่ทว่านางถูกทอดทิ้งไว้เดียวดายบนเกาะร้างแห่งหนึ่ง ไดโอนิซัส ไปพบเข้าจึงเกิดความสงสารและรักนาง แต่รักได้ไม่นาน อาริแอดนี่ก็ตายลง ไดโอนิซัสสุดเสียใจนัก จึงไม่มีรักใหม่อีกเลย

ตัวของไดโอนิซัสเองก็มีชีวิตแสนเศร้าพอ ๆ กับรักของเธอเอง ใครคิดบ้างว่าเทพที่มีกายเป็นอมฤตภาพก็มีโอกาส ตายได้เช่นกัน นักกวีชาวกรีกโบราณเขาเขียนขึ้นตามความเป็นจริงของต้นองุ่น

กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเก็บองุ่น ชาวบ้านจะฟันเอากิ่งที่มีองุ่นติดเต็มไปหมด เหลือไว้แต่ต้นโดดเดี่ยว มองดูแล้วน่า สะพรึงกลัว เพราะมีแต่ลำต้นลุ่น ๆ ปราศจากกิ่งก้านสาขา แต่ไม่นานเมื่อเวลาผ่านไป ต้นองุ่นก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับแตกแยก กิ่งก้านและใบสวยงาม ต่อจากนั้นก็ผลิดอกออกผลเป็นที่เจริญตาอีกครั้ง

จัดทำโดย
น.ส.สุพัตรา เตชนะรุ่งโรจน์
น.ส. ธศุภร เศวตศรีถวัลย์
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c)2006 Ms.Supattra Teachenarungroj and  Ms.Thasuporn  Sawetsrithawan. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com