ประวัติของกล้อง

  

ผู้จัดทำประวัติของกล้องอุปกรณ์ในการถ่ายภาพหลักการถ่ายภาพเทคนิคการถ่ายภาพการใช้กล้องถ่ายภาพ

  

 

 

หวัดดีค่ะ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

 

ประวัติกล้อง1 
ประวัติกล้อง2 
ประวัติกล้อง3 
ประวัติกล้อง4 
การถ่ายภาพในเมืองไทย 
ชนิดของกล้อง 
หลักการทำงานของกล้อง 

 

 

 

 

ประวัติความเป็นมา ของกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว

 

                          ที่มาของกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single – Lens Reflex Camera = SLR) ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เริ่มมีการผลิตกล้องถ่ายภาพขึ้นในโลก
        เป็นครั้งแรก เช่น กล้อง Obscura (Darkroom) ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 แล้ว โดยหลักการของกล้อง Obscura ในระยะแรก ๆ ก็คือ
        เมื่อลำแสงจากภายนอก ผ่านช่อง เล็ก ๆ เข้าไปในห้องมืด (ซึ่งอาจจะเป็นห้องใหญ่ หรือภาในกล่องเล็ก ๆ ในเวลาต่อมา) ภาพทิวทัศน์จากภายนอก
       จะฉายอยู่บนฝาผนัง หรืออีกด้านหนึ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับรูรับแสง ดังกล่าว หรือโดยการสะท้อนภาพลงบนโต๊ะในห้องมืดเพื่อให้จิตรกรเขียนภาพ
        เหล่านั้นอีกทีหนึ่ง ต่อมาไม่นานก็มีผู้คิดนำเอาเลนส์มาใช้เปิดรับแสงแทนการใช้แต่เพียงรูรับแสงเล็ก ๆ ดังแต่ก่อนเท่านั้นจนกระทั่งประมาณราวๆ
       ปี ค.ศ. 1500 เศษ ประโยชน์ของกล้อง Obscura ตามความคิดเก่าก็เหลืออยู่เพียงรูปแบบของห้องมืด และจากความคิดดั้งเดิมนั้น ก็มีผู้นำไปสร้าง
       เป็นกล่องไม้ที่สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้ หรือแบบเก้าอี้เกี้ยว เต็นท์ หรือโต๊ะ ซึ่งมีกล้อง Obscura ขนาดเล็กบรรจุอยู่ภายใน เป็นต้น
       เวลาล่วงเลยมาจนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 กล้อง Obscura ได้พัฒนาเป็นกล่องยาวเรียว ด้วยขนาดที่ใช้วางบนโต๊ะได้
       ใส่เลนส์ไว้ข้างหน้า และมีกระจกเงาวางเอียง 45 องศา อยู่ด้านหลังสะท้อนภาพขึ้นไปยังฉากด้านบนซึ่งมีฝาปิด – เปิดได้การมองดูภาพที่จด ก็มักมีฮู้ด
       (Hood) ป้องแสงจากภายนอก โดยที่จิตรกรจะวางกระดาษบาง ๆ ไว้บนกระจกจอภาพดังกล่าว แล้วเขียนภาพที่ปรากฏ
           

 

        

                                                                                                                                      

                          ต่อมาในราวปี ค.ศ. 1800 เศษ ก็เป็นยุคเริ่มต้นของการบันทึกภาพด้วยกล้องล้วน ๆ กับแผ่นทองเหลือเคลือบสารไวแสง Daguerreotype
          ของชาวฝรั่งเศสชื่อ ดาร์แกร์ (Louise Jacques Mande Daguerre) และชาวอังกฤษชื่อ ทอลบอต (William hery Fox Talbot)
          0 ผู้ค้นพบการสร้างภาพด้วยเนกาทิฟ และพอซิทิฟ ที่เรียกว่า Calotype หรือ Tallbotype ในปี ค.ศ. 1861 โธมัน ซัตตันแห่งประเทศอังกฤษ
          ได้จดทะเบียนสิทะบัตรกล้อง SLR ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานว่าเป็นกล้อง SLR แบบแรกโดยซัตตันได้ให้ความหายของกล้อง SLR ว่า
         “กระจกซึ่งวางในแนวนอกน ต่ำกว่าระดับตาของ่าน และเมื่อท่านมองลงไป ก็จะเห็นภาพสะท้อน อันประกอบด้วยความคิด และการจัดภาพที่
          สมบูรณ์โดยตัวท่านเอง” อันถือได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้น ของประวัติศาสตร์กล้องถ่ายภาพ
          ซัตตันได้เสนอความคิดในกล้อง SLR ของตนไปยังผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพชั้นนำสองคน ซึ่งก็มีการผลิตในเวลาต่อมาด้วยจำนวนจำกัด
          เท่านั้นกล้องของซัตตันแตกต่างจากกล้อง Obscura ตรงที่สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ ใช้เบลโล (Obscura Below) เพื่อปรับโฟกัสมากกว่า
          การเลื่อนเลนส์ที่ติดอยู่กับแผนไม้ด้านหน้าอย่างแต่ก่อน และกระจกสะท้อนภาพทำหน้าที่เป็นชัตเตอร์ไปด้วย ส่วนด้านหลังเป็นฟิล์มเพลทแห้ง
          โดยขณะที่ใช้กระจกเงาเพื่อมองภาพด้านบนนั้น กระจกเงาจะบังแสงไม่ให้แสงเล็ดลอดไปถึงฟิล์มได้ ในปี ค.ศ 1727 โยฮัน เฮนริช ชุลตช์
          (Johann Heinrich Schulze) ชาวเยอรมันพบสารของชอล์กกับเกลือเงินไนเตรทเมื่อถูกแสงจะทำให้ภาพเป็นสีดำ และปี ค.ศ 1777 คาร์ล
          วิลเลี่ยมชีล(Carl William Scheele)นักเคมีชาวสวีเดน พบว่าแสงสีน้ำเงิน และสีม่วงของ Positiveมีผลทำให้เกลือเงินไนเตรท และเกลือเงิน
          คลอไรด์เปลี่ยนเป็นสีดำได้มากกว่าสีแดง จนเมื่อ ค.ศ 1826 โจเซฟ เนียพฟอร์ เนียพซ์ ( Joesph Nicephore Niepce) ชาวฝรั่งเศส
          ได้ใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารไวแสงบีทูเมน ซึ่งมีสีขาว ใส่ในกล้อง ออบสคิวรา ถ่ายภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างบ้านเขาเองที่เมืองแกรส
          โดยใช้เวลานานถึง8ชั่วโมงเมื่อนำแผ่นดีบุกไปล้างด้วยน้ำมันจากต้นลาเวนเดอร์ทำให้ส่วนที่ถูกแสงที่เป็นส่วนPositiveแข็งตัวส่วนที่ไม่ถูกแสง
          จะถูกล้างออกไปหมด เหลือแต่ส่วนที่เป็นสีดำ
          เนียพซ์ เรียกกระบวนการถ่ายภาพนี้ว่า เฮลิโอกราฟ (Heliograph) มีความหมายว่า “ภาพที่วาดด้วยดวงอาทิตย์” หลังจากนั้นก็มีการพัฒนา
          ในเรื่องของกล้องถ่ายภาพเป็นระยะ จนกระทั่ง แคลวิน แร สมิท แห่งกรุงนิวยอร์กซิต ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในธุรกิจการผลิต และการค้า
          กล้องถ่ายภาพเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1884 โดยกล้อง SLR ในสมัยนั้นยังคงใช้กระจก และชัตเตอร์ตามแบบของ ซัตตัน ซึ่งมีขนาด
          และสัดส่วน รวมทั้งส่วนที่เป็นชัตเตอร์ทั้งหมดประมาณ 2 ? x 2 1/4 นิ้ว (เป็นขนาดเดียวกับกล้อง Pilot ของปี ค.ศ. 1930 เศษ หรือ
          กล้อง SLR ขนาด 35 มม. ของ Exa ในเวลาต่อมา) กล้องของ สมิท ออกจำหน่ายในปลายปี ค.ศ. 1884 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับกล้อง Palent
           Monocular Duplex ของ E.W.Smith & Co., แห่งนิวยอร์ก ออกจำหน่ายด้วยกล้องที่ให้ภาพขนาด 3 ? x 4 ? นิ้ว ด้วยฟิล์มเพลท
           และเลนส์ที่ให้ความเที่ยงตรงสูง จำหน่ายด้วยราคาเพียง 55 เหรียญอเมริกัน ในช่วงปี ค.ศ. 1885 – 1890จะพบเห็นว่าได้มีการอ้างอิง
           และกล่าวถึงกล้อง Monocular Duplex ในเอกสารต่าง ๆ ของอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ในสมัยนั้น ส่วนกล้องขนาด 4 x 5 และ
            4 ? x 6? นิ้ว ที่ใช้ฟิล์มม้วน (Roll film) โดยบราทอีสท์แมนก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ (ปี ค.ศ. 1886)

 

                                                                                               

                                                                                                                                                                                                                                                                         

จัดทำโดย
นางสาวยุพเรส  วงศ์โชควัฒนา
นางสาวกิติยา  แซ่กัง
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2006Ms.Yuparet Wongchokwattana. Ms.Kitiya  Saekung. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com