เขื่อนสิรินธร

 

 

        เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากจะให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังอำนวยประโยชน์นานัปการต่อการพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้ทั้งทางด้านการชลประทาน การป้องกันอุทกภัย การประมง และการท่องเที่ยว นับเป็นการสงวนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ในประเทศให้เกิดประโยชน์ สูงสุดอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบัน

        ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยอันเป็นสาขา ของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ตัวเขื่อน มีความสูง ๔๒ เมตร ยาว ๙๔๐ เมตร สันเขื่อนกว้าง ๗.๕ เมตร อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๒๘๘ ตารางกิโลเมตรสามารถกักเก็บน้ำได้ ๑,๙๖๖.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด ๑๔๒.๒ เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ติดตั้งเครื่องกำเนิไฟฟ้าไว้ ๓ เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ ๑๒,๐๐๐ กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น       ๓๖,๐๐๐ กิโลวัตต์

การก่อสร้างโครงการ ได้เริ่มในเดือนมิถุนายน ๒๕๑๑ และมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนาม เขื่อนว่า เขื่อนสิรินธรการก่อสร้างตัวเขื่อน และ ระบบส่งไฟฟ้าระยะแรกแล้วเสร็จในปี ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด เขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบเขื่อนสิรินธรให้อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไป

 


        ประโยชน์

เขื่อนสิรินธร เป็นโครงการอเนกประสงค์จึงสามารถอำนวยประโยชน์อย่างกว้างขวางในการพัฒนา ประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้

การผลิตพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้พลังน้ำมาผลิตพลังงานได้เฉลี่ยปีละ ๙๐ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขยาย ขอบเขตการจ่ายกระแสไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกไปได้กว้างขวางขึ้น

การชลประทาน สามารถส่งน้ำที่เก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำไปใช้ในระบบชลประทาน ได้เป็นพื้นที่ ๑๕๒,๐๐๐ ไร่ จึงช่วยให้เกษตรกรในแถบนนี้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี

บรรเทาอุทกภัย เขื่อนสิรินธรสามารถกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามแม่น้ำลำโดมน้อยไว้ได้เป็นจำนวน มากจึงช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วม และช่วยให้แม่น้ำมูลสามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง ได้สะดวกยิ่งขึ้น

การประมง อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่โดย กฟผ. ร่วมมือ กับกรมประมง นำพันธ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ โดย กฟผ. ร่วมมือกับกรมประมงนำพันธุ์ปลามาปล่อย อาทิ ปลายี่สก ปลานิล ปลาไน ฯลฯ และกุ้งก้ามกรามทำให้ราษฎรมีอาชีพหลักเพิ่มขึ้น

การคมนาคม สามารถใช้อ่างเก็บน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือติดต่อค้าขาย และคมนาคมขนส่งผลผลิต ออกสู่ตลาดได้สะดวกอีกทางหนึ่ง

การท่องเที่ยว ความสวยงามสงบร่มรื่นของภายในบริเวณเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ เป็นสิ่งดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและพักผ่อนหล่อนใจเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้าน ธุรกิจท่องเที่ยวอื่น ๆ ตามไปด้วย


        สวนสิรินธร

สวนสิรินธร เป็นสวนเฉลิมพระเกียรติที่กฟผ. จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดี และ ถวายเป็นราชสักการะต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสคล้ายวัน พระราชสมภพทรงมี พระชนมายุ ๓๖ พรรษาเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๔ โดยจัดเป็นสวนสาธารณะ อันร่มรื่นงดงามเพื่อให้สาธารณชน ได้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

กฝผ. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสวนนี้ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๓ แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๔ รวมค่าใช้จ่ายประมาณ ๔.๔๐ ล้านบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน เปิดสวนสิรินธรเมื่อวันที ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔

สวนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำฝั่งซ้ายของสันเขื่อนสิรินธรมีพื้นที่ประมาณ ๔๐ ไร่ โดยออกแบบ ก่อสร้างให้มีลักษณะเป็นสวนป่าที่คงสภาพสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติไว้ได้มากที่สุด การใช้วัสดุอุปกรณ์ ตกแต่งสถานที่ เน้นให้กลมกลืนกับพื้นที่เดิม

ภายในสวนสิรินธรประกอบด้วยสวนพฤกษศาสตร์ สวนน้ำพุศาลาพักผ่อน และพันธุ์ไม้ดอก โทนสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์ ประดับไว้โดยรอบ พร้อมกับตัดแต่งต้นไม้เป็น ตัวอักษร สธอันเป็นพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปหล่อเป็นช้าง ๓ เชือกเล่นดนตรี ซึ่ง เครื่องดนตรีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามวบรมราชกุมารี ทรงโปรดปราน อันได้แก่ ระนาด ซอ และขลุ่ย

 


        สถานที่ท่องเที่ยว

จังหวัดชัยภูมิ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมายนอกเหนือจากเขื่อนจุฬาภรณ์ อาทิ อนุสาวรีย์ พระยาภักดีชุมพล(แล) ศาลเจ้าพระยาแล ปรางค์กู่วนอุทยานน้ำตกตาดโตน ป่าหินงานเป็นต้น


        สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

เพื่อให้การมาเยือนเขื่อนสิรินธรได้ทั้งความรู้ และความเพลิดเพลินอย่างเต็มที่ ท่านสามารถ แวะชมสถานที่ ท่องเที่ยวใกล้เคียงภายในจังหวัดอุบลราชธานีได้อีกหลายแห่ง เช่น แก่งสะพือ แก่งตะนะ น้ำตกตาดโตน แม่น้ำสองสี หรือดอนด่านปากน้ำมูล น้ำบุ้น และผาแต้ม


        เส้นทางคมนาคม

เขื่อนสิรินธร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตรการเดินทางโดยรถยนต์ใช้เส้นทาง ไปตามถนนสายมิตรภาพประมาณ ๗๓๗ กิโลเมตร มุ่งสู่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ เข้าสู่อำเภอ พิบูลมังสาหาร จากนั้นไปตามเส้นทางพิบูลมังสาหาร-ช่องเม็กเข้าสู่เขื่อนสิรินธร นอกจากนี้สามารถเดินทางได้ โดยรถโดยสารปรับอากาศหรือรถไฟ แต่ถ้าต้องการความสะดวกสบาย และรวดเร็วก็สามารถใช้บริการสายการบิน ภายในประเทศได้


        สรุป

        เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในการพัฒนาประเทศ และความเป็นอยู่ของ ประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภูมิใจที่เขื่อนแห่งนี้ได้มีส่วน ในการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ของประชาชนให้ดีขึ้น และผลักดันให้ภูมิภาคแถวนี้ก้าวไปสู่ ความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านสมควรเป็นมรดกอันมีค่าของประชาชนและประเทศชาติสีบไป

 
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.