โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เป็นโครงการที่เกิดขึ้น จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นห่วงพสกนิกรชาวไทย ทรงปรารถนาจะได้เห็นทุกคนอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่อัตภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร จากการเสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐานไปในจังหวัดต่างๆ ทรงพบความเดือดร้อนและปัญหามากมาย และโดยที่เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย จึงทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเกษตรของไทยให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งทำให้เกิดเป็น "โครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร สวนจิตรลดา" ขึ้นภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นที่ประทับ เพื่อศึกษางานทางด้านการเกษตรต่างๆ สำหรับหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง เช่น การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงปลานิล การปลูกข้าว      โรงสีข้าว ป่าไม้สาธิต และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาการดำเนินงาน มาเป็นแบบอย่าง สำหรับไปปฏิบัติตาม หรือปรับปรุงแก้ไขในอาชีพนั้น นอกจากนี้ ยังเกิดเป็นโครงการเพื่อบำบัดความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของราษฎร ที่ขอพระราชทานพระมหากรุณาช่วยเหลือ ได้แก่ การตั้งศูนย์รวมนม เพื่อรับซื้อ     นมสดจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และต่อมาเมื่อเกิดปัญหานมสดล้นตลาด ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงนมผงขึ้น เพื่อแปรรูปนมสดให้เก็บไว้ได้นาน โดยพระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนในการก่อสร้าง

       วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน

๑.       เป็นโครงการทดลอง

๒.      เป็นโครงการตัวอย่าง

๓.      เป็นโครงการซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทน

       โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา  แบ่งเป็น แบบ คือ

               ๑. โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากราชการหลายหน่วยงาน จึงไม่มีรายรับรายจ่ายประจำ ได้แก่

ป่าไม้สาธิต  นาข้าวทดลอง  ข้าวไร่  บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล  พันธุ์ปลาพระราชทาน  โรงโคนม    สวนจิตรลดา  อาคารวิจัยและพัฒนา  บ้านพลังแสงอาทิตย์  เครื่องอบแห้งพลังแสงอาทิตย์  ศูนย์คอมพิวเตอร์โครงการส่วนพระองค์  ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  โรงหล่อเทียนสวนหลวงจิตรลดา  ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  หน่วยเพาะพรรณไม้  โครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน  สวนพืชสมุนไพร             ศาลามหามงคล

 

               ๒. โครงการแบบกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ที่มีการจัดจำหน่ายราคาย่อมเยานำผลกำไรมาขยายกิจการต่อ ไม่มีการแจกผลกำไร ได้แก่

การผลิตครบวงจร  ส่วนการผลิตนม  ศูนย์รวมนม  สวนจิตรลดา  โรงนมผสมสวนดุสิต  น้ำกลั่น  โรงเนยแข็ง  โรงนมเม็ด  ห้องควบคุมคุณภาพผลผลิต  โรงสีข้าวตัวอย่าง  โรงบดแกลบ  งานทดลองผลิตภัณฑ์  เชื้อเพลิงซึ่งมีโรงแอลกอฮอล์  โรงแกลบอัด  และงานพิเศษที่หมอบหมายให้ดูแล  เช่น  บ้านพลังแสงอาทิตย์  โดยกรมการพลังงานทหาร  โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรท์  สวนจิตรลดา  โรงน้ำผลไม้บรรจุ กระป๋องสวนจิตรลดา  โรงเพาะเห็ด  โรงปุ๋ยอินทรีย์  โรงกระดาษสา  น้ำผึ้งสวนจิตรลดา  เป็นต้น

 

พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการอนุลักษณ์

 

        .. ๒๕๐๓   ทรงพยายามปกปักยางนา

ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ      วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ          โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่ สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนใน บริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้

        .. ๒๕๐๔   ป่าสาธิตทดลอง

                เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔ จำนวน ๑,๒๕๐ ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา
               
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

        .. ๒๕๒๘   ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช

                ในวันพืชมงคล วันที่ พฤษภาคม ๒๕๒๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง

            

ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ ๑๙๖ องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ ๒๓ เปอร์เซ็นต์

        .. ๒๕๒๙   ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย

                ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ  จังหวัดสกลนครอีกด้วย

        

การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ ,๐๐๐ ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.. ๒๕๓๒ และได้น้อมเกล้าฯ  ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย

        .. ๒๕๒๙   สวนพืชสมุนไพร

                ในปี พ.. ๒๕๒๙ นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นในโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวม พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไป ใช้ประโยชน์กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

               

 
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.