ในหลวงกับการจัดการทรัพยากรน้ำ

 

        " การพัฒนาแหล่งนั้นนั้น ในหลักใหญ่ก็คือ การควบคุมน้ำให้ได้ดังประสงค์ ทั้งปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ เมื่อปริมาณน้ำมากเกินไป ก็ต้องหาทางระบายออกให้ทันการณ์ ไม่ปล่อยให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายได้ และในขณะที่เกิดภาวะขาดแคลน ก็ต้องเก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ ทั้งมีคุณภาพ เหมาะสมแก่การเกษตร การอุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค ปัญหาอยู่ที่ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำนั้น อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง แต่ถ้าไม่มีการควบคุมน้ำที่ดีพอแล้ว เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งส่งผลกระทบกระเทือนแก่สิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง "

 



   

        พระราชดำรัสในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ The Third princess Chulabhorn Science Congress (PC III) เรื่อง " น้ำและการพัฒนา : น้ำเปรียบดังชีวิต " ณ โรงแรมแชงกรี-ลา วันจันทร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๘

       
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสความว่า " น้ำคือชีวิต มีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ " ดังนั้น โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ กิจกรรมส่วนใหญ่ จึงเกี่ยวพันกับ การพัฒนา ทรัพยากรน้ำ เป็นสำคัญ ดังนั้น พระราโชบายหลักในการจัดการทรัพยากรน้ำ มี ๓ ประการคือ

         ปัญหาน้ำน้อย คือการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

         ปัญหาน้ำมาก คือการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำขัง

         ปัญหาน้ำเน่าเสีย คือการแก้ปัญหาน้ำที่ถูกทำให้เน่าเสียไป

        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาน้ำน้อย เช่น

         ในปี ๒๔๙๙ ทรงพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์เทพเทวกุลรับไปดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนากรรมวิธีการทำฝนเทียม

     ทรงพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยเกี่ยวกับ "การสร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจาก เครื่องบิน" เนื่องจากเกิดปัญหาต่างๆ เช่น เครื่องบินไม่สามารถขึ้นปฏิบัติการได้เนื่องจากมีพายุฝนที่สนามบิน

การวางแผนและการกำหนดกรรมวิธีในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้มาจาก พระราชอัจฉริยภาพ ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ดำเนินงาน ให้แต่ละขั้นตอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น           วิทยุสื่อสาร ดาวเทียมหรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ก็ตาม พระองค์ ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาน้ำมาก เช่น

        ทรงมีพระราชดำริในการจัดทำโครงการแก้มลิง เพื่อรองรับน้ำก่อนที่จะระบายออกสู่ทะเล

        ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสระเก็บน้ำพระราม ๙ บริเวณด้านทิศเหนือของกรุงเทพฯ ซึ่งเปรียบเสมือน " ชักโครกเมืองหลวง " ที่ทำหน้าที่เก็บกักน้ำในฤดูฝน และปล่อยน้ำเพื่อระบายน้ำในคลองต่างๆในกรุงเทพฯลงสู่ทะเลเมื่อน้ำในคลองเริ่มเน่าเสีย

       การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย เช่น

        ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ใช้วิธีตามธรรมชาติในการบำบัดน้ำเสีย เช่น ใช้พืชน้ำกรองความสกปรกเน่าเสีย ใช้แสงแดดบำบัด กล่าวคือ ใช้ผักตบชวาในการบำบัดน้ำเน่าเสีย โดยการวิเคราะห์อัตราความเจริญของผักตบชวา อัตราการดูดสารพิษ สารเคมี โลหะหนักที่อยู่ในน้ำ และควบคุมปริมาณของผักตบให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เมื่อปี ๒๕๓๑ ให้แก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน จึงเกิด เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ที่มีชื่อว่า "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย และกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ทูลเกล้าฯถวายรางวัลคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ รางวัลที่ ๑ ประจำปี

 
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.