พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ภายหลังทรงได้รับ การเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น

สมเด็จมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน อ้าย ปี เถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซสส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และทรงมีพระเชษฐภคินีอีก ๑ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ พระวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภูมิพลอดุลยเดชได้ โดยเสด็จฯ พระราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรนิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลับสู่ประเทศไทยและได้ประทับ ณ วังสระประทุม ต่อมาสมเด็จพระ บรมชนกนาถเสด็จถิวงคต เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชพร้อมพระราชมารดา พระเชษฐาและพระเชษฐภคินียังคงประทับอยู ในกรุงเทพมหานคร โดยทรงประทับอยู่ร่วมกับสมเด็จพระศรีสวรินทราพระบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุมเมื่อพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิ พลอดุลยเดชทรงมีพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อมาหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลง การปกครอง หม่อมสังวาลย์มหิดล ณ อยุธยา พระราชมารดาจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทรา พระบรมราชเทวี พาพระโอรสและพระธิดาไปประทับยังนครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาและพระพลานามัย ของพระโอรส

 

 

ที่ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์นี้ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิ พลอดุลยเดชเสด็จเข้าศึกษาต่อใน ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองค์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอกอลนูเวลเดอลาซืออิสโรมองต์ เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาสกลาซีคกังโตนาล แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือก ศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิ พลอดุลยเดช ก็ทรงได้ รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายภูมิ พลอดุลยเดช เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว จากนั้น ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์ จนในปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบแล้ว จึงได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเชษฐานิวัติ ประเทศไทย พร้อมพระราชชนนีและสมเด็จพระเชษฐภคินี ครั้งนี้ ทรงประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานใน พระบรมมหาราชวัง

ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน คณะรัฐมนตรี จึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนาม ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

อย่างไรก็ตามขณะเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา รัฐสภาจึงทำการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการขึ้นประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาถนเรนทร และพระยามานวราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ และเพราะยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย และวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร ธิดา ในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ต่อมาในปี พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติประเทศไทยเพื่อการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกันได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร และโปรดให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี

 

 

ถัดมาในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธี ราชาภิเษกขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวังเฉลิมพระบรมนามาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม

ภายหลังจากพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จไปทรงรักษาพระสุขภาพซึ่งขณะนั้นไม่ทรงสมบูรณ์นัก ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทรงประสบเมื่อครั้งประทับอยู่ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตามคำแนะนำของคณะแพทย์ ชาวสวิส และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับถึงประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ ระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิน มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระ ที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีมี พระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ เมื่อ วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาที่ จะทรงผนวชด้วยทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่ประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งทรงมี โอกาสคุ้นเคยกับหลักการและทางปฏิบัติ ของพุทธศาสนิกชน ระหว่างที่ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจก็ ทรงมีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น เพราะได้ประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า ธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผลและสัจจธรรม แม้ผู้ใดจะวิจารณ์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่เสื่อมถอย ในความนิยมเชื่อถือ ทั้งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการี ตามคตินิยมอีกโสตหนึ่งด้วย จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เสร็จการพระราชพิธีทรงผนวชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักปั่นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ อย่างเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในปีเดียวกัน นั้นเอง และในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวัง ดุสิต ไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตจนถึงปัจจุบัน

 
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.