ส่วนประกอบของโปรแกรม

              นี่คือภาพรวมของ Jashaka เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา เราจะเห็นได้ว่ามีส่วนประกอบอยู่สามส่วนนอกจากเมนูหลักด้านบน



รูปที่ 1
            
             ส่วนที่ 1
พื้นที่สำหรับทำงาน(workspace) สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนด้วยการดึงแท็บด้านซ้าย เมื่อต้องการเปิดแท็บนี้ให้ชี้เมาส์ไปยังมุมซ้ายของโปรแกรม -- จะเห็นเม้าส์เปลี่ยนเป็นลูกศรชี้สองด้าน กดเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ขณะที่การลากแท็บไปทางขวา (รูปที่ 2)



รูปที่ 2


             ส่วนที่ 2
จะทำให้เราสามารถเปิดหน้าต่างใน Module ทั้งหมดได้ มีอยู่ด้วยกันทั้ง 6 modules คือ

1. Desktop

                  เป็น Module หลักของโปรแกรมซึ่งเชื่อมการทำงานทั้งหมดของ Module อื่นๆให้สามารถทำงานร่วมกันได้ Desktop เปรียบเสมือนกับโต๊ะตัวใหญ่ที่ใช้ในการวางไฟล์ต่างๆ ที่โหลดเข้ามาใช้ทำงาน หรือ render จากตัวโปรแกรม เป็นที่พักของไฟล์ ซึ่งในส่วนนี้ เราสามารถ play Clip ภาพและเสียงที่วางอยู่ได้ สามารถตั้งค่าการทำงานต่างๆของโปรแกรม รวมถึงจัดการกับไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหรือการ Export ไฟล์

2. Animation

                  ใช้ในการเคลื่อนไหวรูปภาพและวัตถุ 3 มิติ โดยมีการเคลื่อนตามแนวแกน x , y, z (ซ้าย-ขวา ,ขึ้น-ลง,ตื้น-ลึก) รวมถึงการหมุน (Rotate) การมองเห็นและความโปร่งใส(transparency) โดยอาศัยการทำงานของ Timeline กับ Keyframe และใน Module นี้เราสามารถโหลด วัตถุ 3 มิติเข้ามาเคลื่อนไหวได้ ซึ่งวัตถุนี้จะไม่ถูกเก็บอยู่ใน Desktop แต่จะถูกเก็บอยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหว เมื่อทำการขยับแล้ว render ออกมาเป็นคลิป

3. Effects

                  เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นกับงาน ด้วย Effects ต่างๆ และการปรับสี มีฟังก์ชันต่างๆให้เลือกใช้มากมาย มักจะใช้หลังจากเคลื่อนไหวภาพใน Animation

4. Editing

                  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำงาน หลังจากสร้างสรรค์งานที่มีการขยับและใส่เอฟเฟคเรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้องนำเอาคลิปงานแต่ละชิ้นมาประกอบกันในส่วนของ Editing ที่สามารถตัดต่อวีดีโอและแทรกเสียงลงไปได้ เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับชิ้นงาน จากนั้นจึงจะ Render ออกมาเป็นไฟล์วีดีโอที่ต้องการ ซึ่งโปรแกรม Jahshaka ก็มีชนิดของไฟล์ที่จะ Render ออกมาให้เลือกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่ซับซ้อนและยากที่สุดของโปรแกรมเลยก็ว่าได้

5. Paint
         
                 ลักษณะการทำงานคล้ายกับโปรแกรมวาดเขียนธรรมดา เป็นส่วนที่ใช้วาดภาพโดยเครื่องมือง่ายๆ เช่น Brush สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เป็นต้น และใส่เอฟเฟคปรับแต่งภาพได้เล็กน้อย เช่น Blur Fade ฯลฯ ใช้ออกแบบภาพกราฟิก แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

6. Text CG

                 สำหรับสร้าง Titles สวยๆให้กับงาน ถึงแม้ว่าในส่วน Animation จะสามรถสร้าง Text ได้ แต่ถ้าหากต้องการให้งานเป็นสัดส่วน ส่วนนี้อาจเราจัดการงานได้ง่ายขึ้น เพราะแยกออกมาจากส่วน Animation แต่มีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน


            ส่วนที่ 3  จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานที่เลือกในแต่ละ Module ตามตัวอย่างเป็น Jahshaka รุ่น 2.0RC3 (ซึ่งส่วน libraries ยังไม่เสถียร) จะแสดงโปรแกรมการตั้งค่าต่างๆ แตกต่างกันไปเมื่อเราปรับเปลี่ยน Module (กลับไปดูรูปที่ 1)



 
รูปที่ 1