ข้อมูลต่างๆที่มีการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักที่เรียกว่า แรม  แต่แรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นเมื่อมีการประมวลผลข้อมูลแล้วจะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า หน่วยความจำรอง
     คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยความจำรองสำหรับเก็บข้อมูลซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยความจำรองจะช้ากว่าหน่วยความจำหลัก

ปัจจุบันมีหน่วยความจำรองให้เลือกใช้หลายชนิด ดังต่อไปนี้

แผ่นบันทึก (floppy disk หรือ diskette) เป็นแผ่นพลาสติกวงกลมฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ในปัจจุบันจะมีขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งบรรจุอยู่ในพลาสติกแบบแข็งรูปสี่เหลี่ยม สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB โดยการบันทึกข้อมูลจะมีการจัดเก็บข้อมูลอยู่ในรูปแบบเส้นแรงแม่เหล็ก โดยมีการจัดรูปแบบการบันทึกข้อมูลเป็น วงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ละแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูลเรียกว่า เซกเตอร์ (sector)
 http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/disk.jpghttp://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/disk342.jpg

http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/disk_work.gif

http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/Harddisk.jpg

ฮาร์ดดิสก์ (harddisk)  มีหลักการทำงานคล้ายกับแผ่นบันทึก(diskette)แต่ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นโลหะแข็งเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ทำให้เก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็ว ฮาร์ดดิสก์จะประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลาย ๆ แผ่น และสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทร็ก (Track) และ เซกเตอร์ (Sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเดอร์ (Cylinder) การที่ฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพและความจุที่สูง เนื่องจากฮาร์ดดิสก์หนึ่งชุดประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กจำนวนหลายแผ่นทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าฟลอปปี้ดิสก์ โดยฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันจะมีความจุเริ่มตั้งแต่ 40 GB ขึ้นไป นอกจากนี้ ฮาร์ดดิสก์จะหมุนด้วยความเร็วสูงมาก คือตั้งแต่ 5,400 รอบต่อนาทีขึ้นไป ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  เทปแม่เหล็กมีหลักการทำงานคล้ายเทปบันทึกเสียง ยุคแรกเทปที่ใช้จะเป็นแบบม้วนเทปวงล้อขนาดใหญ่ ปัจจุบันจะเป็นตลับเรียกว่า เทปคาร์ทริดจ์ (cartridge tape) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเทปเพลง  หลักการทำงานของเทปแม่เหล็กคือจะอ่านข้อมูลตามลำดับก่อนหลัง เรียกหลักการนี้ว่าการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ (Sequential access) การทำงานลักษณะนี้ทำให้อ่านข้อมูลได้ช้า เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลในม้วนเทปไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการ ดังนั้นจึงนิยมนำเทปแม่เหล็กมาสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล  ข้อดีของเทปแม่เหล็กคือสามารถบันทึก อ่าน และลบกี่ครั้งก็ได้และมีราคาต่ำ ความจุของเทปแม่เหล็กจะมีหน่วยเป็น ไบต์ต่อนิ้ว ความสามารถในการเก็บบันทึกข้อมูลของเทปแม่เหล็กขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นต่ำ จะเก็บข้อมูลได้น้อยกว่าที่มีความหนาแน่นสูง  เทปแม่เหล็กรุ่นใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าเครดิตการ์ดเล็กน้อย แต่สามารถจุข้อมูลได้มากระดับ จิกะไบต์ ปัจจุบัน การใช้เทปแม่เหล็กจะใช้กันในด้านการเป็นสื่อที่เก็บสำรองข้อมูล

http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape2.jpghttp://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape3.jpghttp://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape5.jpg
เทปแม่เหล็กแบบม้วน
http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape1.jpgเทปคาร์ทริดจ์ (cartridge tape) 
http://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape4.jpghttp://www.paktho.ac.th/trirong/classroom/plan5001/images/m_tape6.jpgเครื่องสำรองข้อมูล