1
 24.  เรียนรู้เกี่ยวกับ โปรแกรม  Open source
 หน้าหลักคำชี้แจง ผลการเรียนรู้วัดประเมินผลเอกสารอ้างอิงคณะผู้จัดทำ

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ[1] (อังกฤษ: Open source software; ตัวย่อ: OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดแผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้ ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และสัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล ไฟร์ฟอกซ์ ลินุกซ์ อะแพชี

ประวัติ

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซเริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการประหยัดงบประมาณจากการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[

 

คำนิยาม

ปัจจุบันมีการกำหนดโดยกลุ่มผู้กำหนดโอเพนซอร์ซที่วางข้อกำหนดคำนิยาม 10 ประการในการกำหนดว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโอเพนซอร์ซ คือ

1.       เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใดในการจำหน่ายหรือการจ่ายแจกซอฟต์แวร์ให้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์แบบแยกส่วนที่ประกอบด้วยซอฟต์แวร์จากหลาหลายแหล่ง และจะต้องไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ที่เกี่ยวกันกับค่าใช้สิทธิหรือค่าสิทธิใด ๆ ในการจำหน่ายซอฟต์แวร์นั้น กล่าวคือให้มีการจ่ายแจกได้อย่างไม่มีการคิดค่าตอบแทน

2.       โปรแกรมนั้นจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (ซอร์สโค้ด) และจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับได้เช่นเดียวกันกับโปรแกรมที่อยู่ในรูปของการแปลงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว โดยหากแม้ไม่สามารถนำสินค้านั้นแจกจ่ายได้พร้อมโปรแกรมต้นฉบับ ก็จำต้องมีสถานที่ในการแจกจ่ายแบบสาธารณะ เพื่อให้สามารถเข้าถึงโปรแกรมต้นฉบับ ซอร์สโค้ดได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอื่นใด ทั้งนี้โปรแกรมต้นฉบับนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบที่นักโปรแกรมสามารถที่จะแก้ไขได้โดยจำต้องปราศจากซึ่งการเขียนโปรแกรมต้นฉบับในลักษณะที่เป็นการสับสนโดยเจตนา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะของโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมต้นฉบับที่จำต้องมีตัวแปลภาษาเฉพาะ (translator) หรือมีส่วนที่ต้องนำเข้าสู่โปรแกรมในรูปแบบของโปรแกรมที่แปลงสภาพแล้ว (preprocessor)

3.       เงื่อนไขจะต้องยินยอมให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแจกเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของโปรแกรมฉบับเริ่มต้น

4.       เงื่อนไขอาจจะวางข้อกำหนดในการจำกัดเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ ฉบับที่แก้ไขแล้วได้ต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้ยินยอมให้มีการแจกจ่ายแพตช์ไฟล์ (patch file) พร้อมโปรแกรมต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโปรแกรมนั้นในเวลาทำการสร้างโปรแกรม ทั้งเงื่อนไขจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมนั้นที่ได้รับการแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับได้ แต่เงื่อนไขนั้นอาจจะกำหนดให้โปรแกรมฉบับต่อยอดใช้ชื่อที่แตกต่างหรือใช้รุ่นที่แตกต่างจากโปรแกรมฉบับเริ่มต้นก็ได้

5.       เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ

6.       เงื่อนไขต้องไม่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอันเป็นการเฉพาะ

7.       เงื่อนไขที่กำหนดจะต้องใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น

8.       สิทธิใด ๆ ของโปรแกรมนั้นจะต้องไม่มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงกับสินค้าหนึ่งสินค้าใด

9.       เงื่อนไขต้องไม่กำหนดอันเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้ร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เช่นกำหนดให้ต้องใช้โปรแกรมดังกล่าวกับโปรแกรมแบบโอเพนซอร์ซเท่านั้น

10.    ต้องไม่มีข้อกำหนดใด ๆ ในเงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีของใครหรือเทคโนโลยีแบบใดเป็นการเฉพาะ

สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ

สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซ (open source license) เป็นรูปแบบสัญญาอนุญาตที่ใช้กับพวกซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ตัวอย่างเช่น BSD licenses, MIT License, หรือ Mozilla Public License

สัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ซเป็นเงื่อนไขของการให้สิทธิแก่บุคคลที่นำเอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนโดยบุคคลหนึ่งทำการแจกจ่ายหรือเผยแพร่ในลักษณะที่เหมือนเป็นการจ่ายแจกได้อย่างอิสระ หากแต่มีการวางข้อกำหนดและเงื่อนไขของการแจกจ่ายและเผยแพร่ รวมทั้งข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของการดัดแปลง แก้ไข โปรแกรมคอมพิวตอร์ดังกล่าว


Openoffice 3.0 เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว

 ในวันนี้ ทีมงาน OpenOffice.org ออกมาประกาศว่าสามารถ OpenOffice.org 3.0 รุ่นเต็มได้แล้วจากหน้าเว็บไซต์
     โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก (OpenOffice.org หรือ OO.o) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงาน ซึ่งใช้เตรียมเอกสาร และงานทั่วไปในสำนักงาน นอกจากนี้ โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก ก็ยังเป็นชื่อขององค์กรที่ตั้งขึ้นมา เพื่อดูแลและพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวนี้อีกด้วย 
     โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก เป็นซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส คือ เปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมพัฒนาได้ในประเทศไทย มีการนำ โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกมาพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้งานภาษาไทยได้ โดยสองตัวหลักที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง คือ ปลาดาวออฟฟิศ ที่สนับสนุนโดย ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) และ ออฟฟิศทะเล ที่พัฒนาโดยเนคเทค
 

     โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกตั้งแต่รุ่น 2.0 เป็นต้นไป จะจัดเก็บเอกสารตามมาตรฐาน OpenDocument ซึ่งเป็นมาตรฐานเอกสารแบบเปิด และไม่ขึ้นกับโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง (สามารถเปิดแก้ไขด้วยโปรแกรมอื่นนอกเหนือจากโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกได้)
     และตอนนี้ OpenOffice ได้ปล่อยเวอร์ชั่น 3.0 รองรับทั้ง Windows Mac Linux หน้าตาการใช้งานที่ง่ายขึ้น และรองรับภาษาไทย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่อยากจ่ายค่าลิขสิทธิ์แพงครับ

 

โปรแกรมในชุดมีดังนี้
     - Writer โปรแกรมประมวลผลคำ คุณภาพเทียบเท่ากับ Microsoft Word หรือ WordPerfect อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ export ไฟล์ เป็น PDF ได้ทันที
     - Calc สเปรดชีต คุณภาพเทียบเท่า Microsoft Excel หรือ Lotus 1-2-3
     - Impress โปรแกรมนำเสนอ คุณภาพเทียบเท่า Microsoft PowerPoint และมันยัง export presentations to Adobe Flash ได้อีกด้วย
     - Draw โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ คุณภาพเทียบเท่า CorelDRAW ครับ 
     - Base’ โปรแกรมฐานข้อมูล คุณภาพเทียบเท่า Microsoft Access

    ใน OpenOffice.org 3.0 นั้นได้เปลี่ยน Graphic ไปมากมายหลายจุด ตั้งแต่หน้า Splash จนถึงไอคอนต่างๆ ซึ่งธีมชุดใหม่นี้มืีชื่อว่า Galaxy และยังได้เพิ่ม Start Screen
ขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งในโปรแกรมต่างๆก้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย ดังนี้

     - Writer - มี Slider สำหรับซูมเอกสารที่ดีกว่าเดิม (จากจดหมายข่าวบอกมาอย่างนั้น) ผู้ใช้สามารถแสดงเอกสารหลายๆหน้าในระหว่างแก้ไขเอกสารได้ และมีการรองรับการทำงานแบบหลายภาษาที่ดีขึ้น 

     - Calc - เพิ่มคอลัมน์ ให้รองมากขึ้นถึง 1024 คอลัมน์ มีระบบการแก้สมการที่ดีขึ้น และมีการเพิ่มคุณสมบัติบางประการเกี่ยวกับการใช้งานหลายคน

     - Draw - สามารถใช้วาดภาพขนาดโปสเตอร์ได้แล้ว (ขนาดสูงสึุดคือ 3 ตารางเมตร)

     - Impress - สามารถแสดง Presentation ในหลายๆจอได้ และแก้ไข Chart ให้ดูสบายตากว่าเดิม 

     ฟังก์การส่งออกเอกสารเป็น PDF ก็ได้รับการปรับปรุง โดยจะสนับสนุนเอกสารแบบ PDF/A เพิ่มเข้ามา และผู้ใช้สามารถปรับออพชั่นของเอกสารได้

     นอกจากนี้ OOo3.0 ยังถูกออกแบยบให้ดูเป็นชิ้นเดียวกับ OSX แล้ว (สำหรับรุ่น Mac) ทำให้ผู้ใช้แมคไม่รู้สึกว่า OOo เป้นสิ่งแปลกปลอมอีกต่อไป (แต่ผมไม่มี Mac ให้ทดสอบ
ใครมีช่วยทดสอบทีครับ)

      ในด้านการทำงานกับ Microsoft Office ก็ถูกพัฒนาขึ้นไปด้วยเช่นกัน โดยใน OOo 3.0 ได้เพิ่มการสนับสนุนไฟล์ฟอร์แมต OOXML ของ Microsoft Office และยังสนับสนุน
ไฟล์ของ MS Access 2007 ที่เป็น accdb อีกด้วย

ปล.รู้สึกตอนนี้เว็บจะเข้าไมได้แล้ว (ผมเข้าไมได้เลย) หลังจากออกจดหมายข่าวมาเมื่อชั่วโมงก่อน คาดว่าคนคงแห่ดาวน์โหลดจนเว็บล่ม 

อนาคตที่ไร้ไมโครซอฟท์

ตอนนี้มองไปรอบตัวเห็นแต่ไมโครซอฟท์เต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ในบริษัทใหญ่ๆ เครื่องเดสก์ทอปของสำนักงานก็ใช่ โน้ตบุ๊คก็ยังหนีไม่พ้น กลับไปบ้านจะเล่นเกมก็ต้อง Xbox คว้าโทรศัพท์มือถือก็เจอวินโดวส์โมบาย แล้วอะไรอีกดีหละที่ไม่ใช่ไมโครซอฟท์ แต่ในอนาคตคุณเชื่อหรือไม่ว่าทุกอย่างจะไม่มีไมโครซอฟท์เหลืออยู่เลย ถ้าคุณไม่เชื่อก็ไม่ต้องอ่านต่อส่วนคนที่เชื่อมาร่วมกันหาคำตอบว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร

เริ่มจากเรื่องของเซิร์ฟเวอร์ที่ใครเข้าใจว่าน่าจะใช้วินโดวส์กันมากมาย ส่วนความเป็นจริงโลกนี้เคยเป็นของยูนิกซ์มาก่อนและตอนนี้กำลังเปลี่ยนเป็นลีนุกซ์ ถ้าไม่เชื่อลองหันไปมองรอบๆ ตัวคุณอีกทีอุปกรณ์อย่างเราท์เตอร์ข้างในก็ลีนุกซ์ทั้งนั้น หรือแม้แต่เซิร์ฟเวอร์ของไอเอสพีทั่วฟ้าเมืองไทยก็ล้วนแต่เป็นลีนุกซ์มากกว่าครึ่ง ยิ่งถ้าเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็ไม่ต้องพูดถึง ทุกวันนี้นับวันลีนุกซ์ก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้ไมโครซอฟท์รู้ดีว่าตลาดนี้ยากนักที่จะทำให้กลับมาเหมือนเดิม

เดสก์ทอปคงเป็นเรื่องที่ล้มไมโครซอฟท์ยาก แต่ก็ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเพราะในขณะที่วิสต้าตัวใหญ่โตมโหฬารพร้อมที่จะทำงานบนเครื่องที่มีแรมเยอะๆ ซีพียูขั้นเทพ ก็พอดีว่ากระแสของคนทั่วโลกเปลี่ยนอยากมาใช้เครื่องเล็กๆ พกติดตัวได้ง่าย และส่วนใหญ่เครื่องพวกนี้ไม่แรงพอที่จะทำให้วิสต้าวิ่งเล่นได้ มันก็เลยเหมือนการเอาช้างมานั่งบนเก้าอี้ของเด็กอนุบาล ดังนั้นภาพที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องพูดถึง งานนี้หลายคนหาทางออกด้วยการเอาเครื่องเดิมมาลงลีนุกซ์อย่าง Ubuntu แทน

ครั้นถึงเวลาของความนิยมโน้ตบุ๊คมาถึงแต่ความแรงของวิสต้าอาจทำให้กระต่ายกลายเป็นเต่าได้ง่ายๆ แม้จะพยายามกดดันด้วยการไม่ยอมให้คนซื้อโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ย้อนกลับไปใช้เอ็กซ์พีได้ง่ายๆ ต้องออกแรงมากมาย แต่จนแล้วจนรอดคนก็ส่ายหน้าแล้วบอกว่าเอาเอ็กซ์พีได้ไหมวิสต้าไม่อาจเอื้อมเพราะกินจุเหลือเกิน บวกกับกระแสของ Netbook กำลังมาแรงด้วยหลักการที่ว่าประหยัดเบาและเล็ก ส่วนความแรงคงไม่ต้องพูดถึงเพราะเป้าหมายเป็นคนที่ใช้งานทั่วไปเท่านั้น งานนี้ไมโครซอฟท์ก็มองเห็นแต่ก็รู้ตัวดีว่าหากเอาวิสต้ามาลงก็คงจะไม่รอด ก็ขนาดเอ็กซ์พียังต้องทำการลดน้ำหนักมากมายชนิดเอาแขนเอาขาออกเหลือแต่ตัวก็ยอมทำ แต่ใครจะอยากใช้กันหละ ลีนุกซ์ก็เลยได้อานิสงฆ์ไปเต็มๆ เพราะธรรมชาติของมันจะเล็กจะใหญ่หรือจะจิ๋วก็ไม่มีปัญหา ดังนั้นเชื่อได้ว่าการที่เครื่องสำหรับคนเริ่มต้นใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตลงลีนุกซ์ ก็หมายความว่าคนรุ่นใหม่จะโตขึ้นมาพร้อมลีนุกซ์ งานนี้ไมโครซอฟท์ไม่ยอมแน่ๆ

ส่วนเรื่องของความบันเทิงอย่างเครื่องเล่นเกมคอลโซลเดินไปไหนมาไหนก็มองเห็นแต่ Playstation กับ Nintendo ทั้งนั้น น้อยคนที่จะมี Xbox เอาไว้ในครอบครอง จริงอยู่ที่เกมมีให้เลือกเล่นมากมาย แต่ส่วนใหญ่ค่ายเกมก็ออกครบทุกค่าย หลายคนเป็นห่วงว่า Xbox จะบริโภคหน่วยความจำแบบถาวรจนทำให้การเล่นเกมหมดสภาพหรือเปล่า เพราะดูส่วนประกอบภายในแล้วก็พีซีแรงๆ ลงวินโดวส์ดีๆ นี่เอง ดังนั้นเรื่องของเกมคอนโซลคาดว่าจะเป็นการแข่งระหว่างสองค่ายที่ไม่ใช่ไมโครซอฟท์แน่นอน

มาถึงเรื่องของวินโดวส์โมบายกันบ้าง ก็ยังมีแนวทางการเจริญเติบโตเหมือนวินโดวส์รุ่นพี่ กล่าวคือยิ่งทำก็ยิ่งตัวใหญ่กินจุทั้งๆ ที่ฮาร์ดแวร์มีการพัฒนาไปมากมายแล้วก็ตามวินโดวส์ก็ยังคงกินเรียบแบบไม่มีเหลืออยู่เหมือนเดิม งานนี้ถ้า Android พร้อมเมื่อไรรับรองว่าได้โบกมือลาวินโดวส์โมบายแน่นอน เพราะคาดว่าเครื่องที่ใช้วินโดวส์โมบายวิ่งเป็นเต่าหากเปลี่ยนเป็นระบบใหม่จะสามารถกระโดดและวิ่งเป็นกระต่ายได้เลยทีเดียว ใครๆ ก็รอคอย Android กันทั้งนั้นงานนี้เบื้องหลังมีลีนุกซ์ซ่อนอยู่อีกเช่นเคย ที่สำคัญค่ายมือถือรายใหญ่ๆ ไปรวมลงทุนลงแรงกับ google กันเกือบหมดแบบนี้มองเห็นอนาคตกันชัดเจน

เรื่องราวทำท่าจะไม่จบลงง่ายๆ เพราะแม้แต่แอพพลิเคชันครองโลกอย่างไมโครซอฟท์ออฟฟิศกับบราวเซอร์ที่ชื่อว่าไออีก็พลอยโดนหางเลขอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะในอนาคตคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเติบโตมาพร้อมกับลีนุกซ์เขาเหล่านั้นก็จะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับ OpenOffice.org กับ FireFox หม้อข้าวหม้อแกงของไมโครซอฟท์มีหวังโดนทุบ แล้วเรื่องมันก็จะเลยเถิดไปถึงไฟล์ฟอร์แมตที่ชื่อว่า ODF อย่างช่วยไม่ได้

คราวนี้ลองมองไปรอบๆ ตัวอีกทีคุณมองเห็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ลีนุกซ์เต็มไปหมด เห็นโน้ตบุ๊คที่ใช้ลีนุกซ์อยู่เต็มร้านกาแฟ เห็นคนพูดคุยกันผ่าน Android เห็นคนนั่งเล่นเกมบนเครื่อง Playstation ท่องอินเทอร์เน็ตด้วย FireFox และแลกเปลี่ยนเอกสารกันด้วย Open Document Format อืมอนาคตที่ไร้ไมโครซอฟท์

OpenOffice.org

โอเพนออฟฟิศ (OpenOffice.org) เป็นชุดออฟฟิศที่มีความสามารถและการใช้งานใกล้เคียงกับ Microsoft Office ทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์มทั้ง Windows, Linux, Mac OS X ฯลฯ OpenOffice.org ประกอบด้วยโปรแกรมคือ OpenOffice.org Writer (แทน Word), OpenOffice.org Calc (แทน Excel), OpenOffice.org Impress (แทน PowerPoint) และ OpenOffice.org Base (แทน Access) จึงสามารถใช้ทดแทน Microsoft Office ได้ในงานส่วนใหญ่ เมื่อองค์กรสนใจที่จะเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เราสามารถช่วยให้การดำเนินการง่ายขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดสินใจ วางแผนกระบวนการ ออกแบบนโยบาย ทำโครงการนำร่อง อบรมพนักงาน และ support ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ OpenOffice.org เป็นเรื่องง่ายสำหรับองค์กรทุกขนาด

Open Source

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่มีการพัฒนาแบบเปิด และไม่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งาน จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์กับองค์กร ไม่ว่าจะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์และ upgrade ลดปัญหาความยุ่งยากของ license และความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดปัญหาในเรื่องไวรัสและช่องโหว่ของโปรแกรม และลดปัญหาความขึ้นกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพียงรายเดียวที่มีอำนาจในการตัดสินใจอนาคตการใช้งานไอทีขององค์กร









เลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา 010203040506070809101112131415161718192021222324