แนวทางการดำเนินงานของ

เคเอฟซีในปี 2551




ในปีนี้ทางบริษัทฯ มีการเตรียมการในส่วนของการขยายสาขาต่อเนื่อง โดยจะเปิดอีกประมาณ 30 สาขาใช้งบลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท รวมไปถึงงบการตลาดในการสร้างแบรนด์เคเอฟซีอีกประมาณ 300 ล้านบาท ทั้งนี้ทางเคเอฟซี ได้นำเสนออาหารที่ตรงใจกับผู้บริโภคให้มากที่สุด โดยจะเพิ่มอาหารที่เป็นแนวสุขภาพ รวมไปถึงเจาะกลุ่มผู้สูงอายุให้มากขึ้น เพื่อที่จะขยายเข้าไปในกลุ่มที่เป็นระดับแมสมากขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าภายในร้านเคเอฟซีให้มีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้บริษัทฯ เตรียมทำสินค้าประเภทของทานเล่นออกมากระตุ้นตลาด หลังจากปีที่ผ่านมาได้ทำขนมรับประทานเล่น หรืออาหารว่าง ชีสหนึบ จนติดปากลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น ทำให้บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบของสินค้าอยู่ รวมทั้งทางเคเอฟซีต้องการทำตลาดในส่วนของกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ในช่วงปีที่ผ่านมาสัดส่วนของกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น 10% จากเดิมที่เคเอฟซี จะมีกลุ่มอายุระหว่าง 20 “ 29 ปี สัดส่วนการเข้ามาใช้บริการอยู่ที่ 20% อายุระหว่าง 30 “ 59 ปี สัดส่วนอยู่ที่ 25% และสัดส่วนของคนผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงรวมกันอยู่ที่ 45%



นโยบาย

นโยบายการเปลี่ยนที่กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (Year of Execution) โดยทุกหน่วยงานจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างดีเยี่ยมตามที่วางแผนงานไว้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปี 2010 ที่จะมียอดขาย และ ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมของค่ายยัมมีการเติบโต 16% โดยเฉพาะการเติบโตในส่วนของร้านเคเอฟซี มียอดขายเติบโต 16%


การขยายสาขาต่อเนื่องไปต่างจังหวัดของเคเอฟซี

ปัจจุบันมีสาขาเคเอฟซีในต่างจังหวัดประมาณ 155 สาขา ทั้งนี้สาขาในต่างจังหวัดจะเป็นโฮมเซอร์วิสทั้งหมด พร้อมกันนี้ศักยภาพของเคเอฟซีในต่างจังหวัด มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากคนในต่างจังหวัด มีการรับประทานอาหารที่จะใกล้เคียงกับคนในแถบกรุงเทพฯ เหมือนกัน ทั้งนี้การตีตลาดในแถบในต่างจังหวัด ยิ่งในแถบแหล่งท่องเที่ยวด้วยแล้ว แบรนด์เคเอฟซี จะติดตาคนต่างชาติ และขายดีมากที่สุด ในแถบที่มีคนต่างชาติอาศัยอยู่ และปื 2551 เคเอฟซี จะเพิ่มสาขาในต่างจังหวัดให้มากขึ้น ทั้งนี้สาขาของเคเอฟซีในกรุงเทพฯ ครอบคลุมเกือบหมดแล้ว แต่ต่างจังหวัดยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ทำให้เคเอฟซี พยายามที่เพิ่มสาขาในต่างจังหวัดให้มากที่สุด


การเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆของเคเอฟซี ปี 2551

ความพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่เคเอฟซีจะต้องเป็นสินค้าสุขภาพมีการออกเมนูใหม่ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ ทำให้ยอดขายที่เติบโตส่วนหนึ่งเพราะมีการออกสินค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการออกเมนู เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพคือ เมนู "วิงอบฮิตส์" และเอเชียน ดีไลต์ สลัด อีกทั้งการขยายแนวทางการทำตลาดในยุคเศรษฐกิจฝืด ด้วยกลยุทธ์เมนูอาหารที่เน้นคุณภาพ คุ้มค่าราคาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปิดเทอม เปิดตัว'ข้าวผัดไก่ทอด' หรือการส่งเมนูใหม่อีกหนึ่งรายการ "ไอศกรีม กรอบสนั่น ซันเด" สแน็กที่เป็นเมนูชั่วคราวในเดือนพฤษภาคมจากเคเอฟซีอย่างไรก็ตามเมนูข้าวผัดไก่ทอด ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี เพราะจุดเด่นชูความอิ่มอร่อยแบบคุ้มค่า เอาใจผู้บริโภคจับกลุ่มครอบครัวในยุคประหยัดโดยเฉพาะจะเปลี่ยนมาบรรจุเป็นเมนูถาวรด้วยเช่นกัน


การเพิ่มความหลากหลายบริการดิลิเวอรี่

ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจดีลิเวอรีหรือจัดส่งถึงบ้านของเคเอฟซีเติบโตขึ้น 27% ขณะที่ยอดขายสาขาในต่างจังหวัดโดยเฉพาะร้านเคเอฟซีสาขาอุดรธานี ขอนแก่น มียอดขายจากเดลิเวอรี่สูงขึ้นถึง 50% ทั้งนี้ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะมีการเกาะกระแสนี้ทำตลาดโดยขยายเวลาการให้บริการดีลิเวอรี เพื่อรองรับการชมการ ในช่วงกลางคืนจากเดิมที่เปิดบริการให้ถึงเวลา 24.00 น. เพิ่มการให้บริการถึง 02.00 น. อีกด้วย

 

กลุ่มลูกค้า

เคเอฟซี มองโอกาสจากการเติบโตมาจากลูกค้าเก่าๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว แต่หัวใจหลักอีกด้านคือ ความสำคัญกับการสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งการในแง่ของสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลัก ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ควบคู่กับการส่งเมนูใหม่ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาสัดส่วนของกลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 60% และกลุ่มครอบตัว 40% จากเดิมที่เคเอฟซี จะมีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 40% และกลุ่มครอบตัว 60% "