พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลสได้ดังนี้จะมาตำหนิติเตียนพระองค์
หาควรไม่ " พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียก
พระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับ ชูชก และ
ทูลว่า พระองค์ ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่
สองกุมารจากชูชก พระชาลี ตรัสว่า พระบิดา ตีค่าพระองค์ไว้
พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้น เป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง
เพื่อมิให้ ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา นั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิตเจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย
เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึงพระเจ้าสญชัยก็โปรดให้
เบิกสมบัติท้องพระคลังมาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัด ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พาพระนัดดากลับ
มาถึงเมืองชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภค อาหารดีๆ
ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ ความตายในที่สุด
พระเจ้าสญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดกก็หา
มีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้น พระเจ้าสญชัย จึงตรัส สั่งให้จัด
กระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่
เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่าพระเวสสันดร
ได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่ กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อ
ประโยชน์ แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่ เมื่อกระบวน
ไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วย
ความโสมนัส ยินดี พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดร ว่า
ประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้องได้
ทูล เชิญเสด็จกลับเมืองสีวีพระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลี กัณหาจึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสญชัย ทรงอภิเษก พระ เวสสันดร
ขึ้นครองเมืองสืบ ต่อไป ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวีพระเวสสันดร
ก็ทรงยึดมั่นในการประกอบ ทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาค
เป็นประจำ ทุกวัน

Next