ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของ...กฎหมายที่ควรรู้...

กฎหมายแพ่ง
กฎหมายอาญา
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
ธงคำตอบ
แหล่งอ้างอิง
คณะผู้จัดทำ

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาต่างกันอย่างไร

นนน1.แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอชนกับเอกชน อาทิ เช่น สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร การสมรส การหย่า มรดก ภูมิลำเนาของบุคคล ส่วนกฎหมายอาญานั้นเป็นกฎหมายที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนโดยเอกชนมีหน้า
ที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งกำหนดให้การ กระทำอันใดก็ตามเป็น ความผิดถ้าหากฝ่าฝืน โดยปกติต้องมีโทษ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานยักยอก และฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น

นนนน2.แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวยและรักษาไว้ ซึ่งความยุติธรรมใน
ความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันแม้บางกรณี รัฐจะเข้าไปเป็นคู่กรณีในทางแพ่งก็ตามรัฐอยู่ในฐานะเป็นเอกชน
มีสิทธิหน้าที่อย่างเดียวกับเอกชน อื่นๆทุกประการ ส่วนกฎหมายอาญานั้นมีเจตารมย์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่สังคม เมื่อบุคคลใดละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา กฎหมายถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง จริงอยู่ที่ตามระบบกฎหมายอาญาของไทยเรานั้น เอกชนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ฟ้องร้องให้ศาลลงโทษผู้ล่วง
ละเมิดตนได้ดุจกัน แต่สิทธิของเอกชนดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักกฎหมายที่ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น

นนนน3.แตกต่างกันด้วยการตีความ ในกฎหมายแพ่งนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่าการตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายถ้าหากไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
นนนน ส่วนในกฎหมายอาญานั้นจะตีความอย่างกฎหมายแพ่งไม่ได้ หากแต่ต้องตีความโดยเคร่งครัดจะถือว่าบุคคลใดมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ โดยตรงจะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมิได้

นนนน4.แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น
อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน