:: Welcome to Website *_*  ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ::

 
 
 
2.4.2 มัดท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล (Vascular bundle)
ประกอบด้วยไซเลม และโฟลเอ็ม ในรากพืชใบเลี้ยงคู่จะเห็นการเรียงตัวของไซเลมที่อยู่ใจกลางราก เรียงเป็นแฉก (Arch) ชัดเจนและมีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉกนั้น แฉกที่เห็นมีจำนวน 1-6 แฉก แต่โดยทั่วไปพบเพียง 4 แฉก สำหรับรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไซเลมมิได้เข้าไปอยู่ใจกลางราก แต่ยังเรียงตัวเป็นแฉกและมีโฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างแฉกเช่นเดียวกัน จำนวนแฉกของไซเลมในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีมากกว่าในรากพืชใบเลี้ยงคู่รากพืชใบเลี้ยงคู่ยังมี
วาสคิวลาร์ แคมเบียม (Vascular cambium) หรือแคมเบียม (Cambium) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญเกิดขึ้นระหว่าง โฟลเอ็มขั้นแรกและไซเลมขั้นแรก รายละเอียดของเนื้อเยื่อลำเลียงกล่าวไว้แล้วในหัวข้อเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนวาสคิวลาร์ แคมเบียม ทำให้เกิดการเจริญเติบโต
ขั้นที่สอง (Secondary growth) โดยแบ่งตัวให้ไซเลมขั้นที่สอง (Secondary xylem)
อยู่ทางด้านในและโฟลเอ็มขั้นที่สอง (Secondary phloem) อยู่ทางด้านนอก เมื่อมีการเจริญเติบโตขั้นที่สองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โฟลเอ็มขั้นแรก คอร์เทกซ์และเอพิเดอร์มิสถูกดันออกและถอยร่นออกไป
 
2.4.3 พิธ (Pith) เป็นส่วนใจกลางของราก หรืออาจเรียกว่า ไส้ในของราก ประกอบด้วยเซลล์ พาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นส่วนนี้ได้อย่างชัดเจนส่วนในรากพืชใบเลี้ยงคู่ ใจกลางของรากจะเป็นไซเลม

  3. หน้าที่ของราก
รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
   3.1 ดูด (Absorption) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
   3.2 ลำเลียง (Conduction) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำต้น
   3.3 ยึด (Anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
   3.4 แหล่งสร้างฮอร์โมน (Producing hormones) รากเป็นแหล่งสำคัญใน
การผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาส่วนของลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่น ๆ ของพืช นอกจากนี้ยังมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทำหน้าที่พิเศษ
4. ชนิดของราก
ถ้าพิจารณาตามการเกิดของราก แบ่งรากได้เป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด ตามจุดกำเนิดของราก ดังนี้
  4.1 รากแก้ว (Primary root หรือ Tap root) เป็นรากที่เจริญมาจาก แรดิเคิล(Radicle) ของเอ็มบริโอ แล้วพุ่งลงสู่ดิน ตอนโคนรากจะใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียวไปจนถึงปลายราก พืชหลายชนิดมีรากแก้วเป็นรากสำคัญตลอดชีวิต
4.2 รากแขนง (Secondary root หรือ Lateral root) เป็นรากที่เจริญมาจากเพริไซเคิล ของรากแก้ว การเจริญเติบโตของรากชนิดนี้จะขนานไปกับพื้นดินและสามารถแตกแขนงได้เรื่อยไป
4.3 รากพิเศษ (Adventitious root) เป็นรากที่งอกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ลำต้นหรือใบ อาจจำแนกตามรูปร่างและหน้าที่ได้เป็น
      4.3.1 รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกออกจากโคนลำต้น เพื่อแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่น รากข้าว ข้าวโพด
      หญ้า หมากมะพร้าว เป็นต้น
      4.3.2 รากค้ำจุน (Prop root หรือ Buttress root) เป็นรากที่งอกจากโคนต้นหรือกิ่งบนดินแล้วหยั่งลงดินเพื่อพยุงลำต้น เช่น รากข้าวโพดที่
     
งอกออกจากโคนต้น รากเตย ลำเจียกไทรย้อย แสม โกงกาง ดังภาพที่ 2-11 เป็นภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์นิเวศป่าชายเลนโรงเรียนบางปะกง
      “บวรวิทยายน” อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
      4.3.3 รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นมาเกาะตามหลัก เพื่อชูลำต้นขึ้นสูง เช่น รากพลู พริกไทย กล้วยไม้
      พลูด่าง เป็นต้น
      4.3.4 รากหายใจ (Pneumatophore หรือ Aerating root) เป็นรากที่ยื่นขึ้นมาจากดินหรือน้ำเพื่อรับออกซิเจน เช่น รากลำพู แสม โกงกาง
      และรากส่วนที่อยู่ในนวมคล้ายฟองน้ำของผักกระเฉดก็เป็นรากหายใจโดยนวมจะเป็นที่เก็บอากาศและเป็นทุ่นลอยน้ำด้วย ภาพที่ 2-13 ภาพถ่าย
      จากริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
      4.3.5 รากปรสิต (Parasitic root) เป็นรากของพืชพวกปรสิตที่สร้างHaustoria แทงเข้าไปในลำต้นของพืชที่เป็นโฮสต์ เพื่อแย่งน้ำและ
      อาหารจากโฮสต์ เช่น รากกาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น
      4.3.6 รากสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic root) เป็นรากที่แตกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งและอยู่ในอากาศจะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์
      จึงช่วยสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น รากกล้วยไม้ นอกจากนี้รากกล้วยไม้ยังมีนวม (Velamen) หุ้มตามขอบนอกของรากไว้เพื่อดูดความชื้นและเก็บน้ำ
      4.3.7 รากสะสมอาหาร (Food storage root) เป็นรากที่สะสมอาหารพวกแป้งโปรตีน หรือน้ำตาลไว้ จนรากเปลี่ยนแปลงรูปร่างมีขนาดใหญ่
      ซึ่งมักจะเรียกกันว่า“หัว” เช่น หัวแครอท หัวผักกาด หรือหัวไชเท้า หัวผักกาดแดงหรือแรดิช (Radish)หัวบีท (Beet root) และหัวมันแกว เป็นราก
     
สะสมอาหารที่เปลี่ยนแปลงมาจากรากแก้ว ส่วนรากสะสมอาหารของมันเทศ รักเร่ กระชาย เปลี่ยนแปลงมาจากรากแขนง
      4.3.8 รากหนาม (Thorn Root) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ ๆ เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็ง
      ทำให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ ปกติพบในพืชที่เจริญในที่น้ำท่วมถึง เช่น โกงกาง ส่วนในปาล์มบางชนิดจะปรากฏรากหนาม
      กรณีที่มีรากลอยหรือรากค้ำจุน
 

   
 

ก่อนหน้า | หน้าหลัก | ถัดไป