เรือนไทย 3 ภาค

 
เรือนไทยภาคกลาง
เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยที่สร้างขึ้นภาคกลางของประเทศไทย มีลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังที่แน่นอนและคล้ายคลึงกันเ ป็นส่วนใหญ่ มีอายุประมาณ 100-150 ปีมาแล้ว ลักษณะหลังคาทรงมนิลาสูง มีปั้นลม กันสาดและใต้ถุนสูง เนื่องจากเรือนไทยในภาคกลางมีลักษณะเฉพาะอย ่างนี้ คนทั่วไปจึงเรียกว่า เรือนไทยเดิมภาคกลาง
เรือนไทยภาคเหนือ
เรือนไทยภาคเหนือ เป็นเรือนยกใต้ถุนสูงคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่มีลักษณะอื่น ๆ แตกต่างกันมาก เพราะดินฟ้าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ฤดูหนาว หนาวกว่าภาคกลางมาก ทำให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคาและสัดส่วนของเรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่า เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่มอาคาร และการวางแปลนห้องต่าง ๆ มีความสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรื อนเหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆ เรือนทุกรูปแบบมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะด้านสถาปัตยกรรมอย่างดียิ่ง
เรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนกว้างใหญ่ ประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ ถึง 17 จังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม เช่นเดียวกับภาค อื่น ๆ อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนาข้าวเหนียว นอกจากนั้นประกอบอาชีพปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ปอ และเลี้ยงสัตว์ไว้ใ ช้แรงงานตลอดจนเลี้ยงไว้บริโภค อาชีพเหล่านี้ต้องพึ่งดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยจึงจะส่งผลดี แต่สภาพภูมิประเทศภาคนี้เป็นที่ราบแบบลูกคลื่น พื้นดินเป็นดินปนทรายน้ำซึมได้ง่าย จึงทำให้บริเวณแถบนี้แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกและบริโภค ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับต ่ำกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ
สภาพของบ้านเรือนมีลักษณะเป็นไปตามผลผลักดันทางด้านภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจโดยตรง รวมทั้งคติความเชื่อต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดสืบต่อ กันมา

>>8 ลักษณะของเรือนไทยเดิมภาคกลาง


>>กลับไปสารบัญ